จิตตภาวนาสถาน (สถานปฏิบัติธรรมสำหรับคนพิการ)

Other Title:
Religious Training and Meditation Center for persons with disabilities
Author:
Subject:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
จากสภาพการณ์ปัจจุบันของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย สังคมที่เปลี่ยนไปทำให้ความเข้าใจหลักหลักของพุทธศาสนาที่มีวัตถุประสงค์ให้มนุษย์หลุดพ้นจากความเป็นตัวตน หรือการเข้าถึงนิพพาน เริ่มเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้นทุกขณะ
หลักธรรมหนึ่งที่เป็นหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนาคือเรื่อง “กรรม” ซึ่งพุทธศาสนิกชนในปัจจุบันมักตีความเรื่องกรรมได้ไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะคนพิการซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ถูกผลกระทบโดยตรงจากการที่คนส่วนใหญ่ในสังคมรวมถึงตนเองตีความเรื่อง “กรรม” อย่างไม่ครอบคลุม ส่งผลให้คนพิการส่วนหนึ่งเลือกที่จะเปลี่ยนศาสนาเพื่อหลีกหนีการถูกตีตราทางสังคม ดังนั้นการสร้างความเข้าใจในหลักธรรม เรื่อง “กรรม” ให้คนในสังคมอย่างถูกต้องและลึกซึ้ง จะช่วยให้สถานการณ์การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศไทยดีขึ้น และข้าถึงแก่นแห่งพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นด้วย
การเข้าถึงพระพุทธศาสนานั้น ต้องมีการศึกษาและปฏิบัติธรรมควบคู่กันไป ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ สถานปฏิบัติธรรมจึงเป็นสถานที่รับรองคนที่ต้องการเข้ามาปฏิบัติธรรมโดยตรง แต่ สำหรับคนพิการยังไม่มีสถานที่ปฏิบัติธรรมที่จะรองรับ นอกจากนี้การให้การศึกษาเกี่ยวกับพระไตรปิฎก แก่คนพิการยังมีอยู่อย่างจำกัดและไม่มีครอบคลุม เช่น ยังไม่มีภาษามือเกี่ยวกับคำสอนที่ลึกซึ้ง เป็นต้น
การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาถึงเรื่อง “กรรม” อย่างครอบคลุมทุกด้าน และค้นหาหลักธรรมต่างๆ ที่สามารถทำให้กรรมเบาบางและหมดลงได้ คือ หลักไตรสิกขา ที่ว่าด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นหลักที่จะทำให้สามารถหลุดพ้นหรือนิพพานได้ จึงได้นำหลักดังกล่าวเป็นแนวคิดในการออกแบบ โดยให้ศีลเป็นเครื่องป้องกันในการกระทำชั่ว สมาธิคือความตั้งมั่น และปัญญาคือสิ่งที่ทำลาย อวิชชาได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งอวิชชานี้เองเป็นที่มาแห่งกรรม เมื่อเกิดปัญญาสูงสุดก็จะสามารถเข้าถึงนิพพานหรือความเย็นหรือความสมดุลได้เช่นเดียวกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้า การออกแบบสถาปัตยกรรมจะสื่อให้ทราบถึงพื้นที่ว่างและรูปทรงที่แตกต่างกัน และนำเอาหลักงานสถาปัตยกรรมไทยมาประยุกต์ใช้ รวมถึงการออกแบบที่คำนึงถึงหลักการ “Barrier Free Design” ซึ่งเป็นหลักสากล สำหรับการออกแบบงานสถาปัตยกรรมสำหรับคนพิการ To come to know the true nature of things is the true objective of every Buddhist. It is the mean by which we can liberate ourselves. However at present the world is spinning fast with the defilement of humanity it is about self-destruct because proper awareness, intelligence and wisdom are lacking under the power of defilement, the world is worshipping materialism, sex luxury and etc. As we have seen, there is a difficulty in realizing and understanding Buddhism.
“Kamma” one of the Buddha’s teaching is also unclear for some Buddhist in other words, most people misunderstand about “Kamma” consequently, it affects someone e.g. handicap people who labeled as a sing therefore, they change their religion from Buddhism to others. A deeper understanding in a Buddha teaching is needed.
This thesis aims to study “Kamma” in every aspect also, to examine a Buddha’s teaching relating to eliminate “Kamma” one of a Buddha’s teaching for this point is “Threefold training” or a Buddhist practice, based on morality (Sila) Concentration (Samadhi) Insight (Panna) it is a tool to be used for completely cutting out grasping and clinging. It is a main concept applied to space, form & function in thesis design also Thai Architecture and “Barrier Free Design” are also included.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
Total Download:
262