วัดหน้าพระธาตุ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

Other Title:
Wat Naphrathat, Amphoe Nakhon Thai, Phitsanulok province
Author:
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วัดเป็นสถานที่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของคนไทยนับตั้งแต่เริ่มแรกของอาณาจักรไทย สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา นอกจากจะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจวัดยังเป็นศูนย์กลางทางกิจกรรมของชุมชน ทั้งกษัตริย์ และชาวบ้านต่างก็ให้การอุปถัมภ์วัดอย่างดีมาโดยตลอด ปัจจุบันสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงไป วัดได้ถูกลดบทบาทลงอย่างมาก ไม่ได้เป็นศูนย์กลางชุมชนเหมือนดังสมัยก่อน ความสัมพันธ์ของวัดกับชุมชนก็น้อยลงมาก ขาดการดูแลเอาใจใส่ จากประชาชนหรือจากหน่วยงานของรัฐบาล ทำให้วัดหลายๆแห่งมีความเสื่อมโทรมอย่างมาก โดยเฉพาะวัดในเมืองหรือชุมชนที่มีความเจริญทางวัตถุสูง ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขหรือบรรเทาได้ โดยวัดหรือพระสงฆ์ต้องสร้างกิจกรรมใหม่ๆ ที่ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนให้เกิดขึ้นในวัด นอกจากกิจกรรมทางด้านสังคมสงเคราะห์แล้ว ยังมีกิจกรรมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งหลายๆๆวัด ให้ความสนใจและชาวบ้านเองก็เห็นความสำคัญ โดยเฉพาะชุมชนที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน นั่นคือกิจกรรมทางด้านการอนุรักษ์ และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น ถ้าหากกิจกรรมทางวัฒนธรรมเหล่านี้ยังคงอยู่ในวัดและได้รับการจัดการให้เจริญงอกงามดำรงคู่กับท้องถิ่น วัดก็จะยังมีความสำคัญคู่กับชุมชนต่อไปอีกนาน
อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่และต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมและประเพณีหลายอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่เนื่องจากความไม่เหมาะสมกับพื้นที่ทำให้กิจกรรมหลายอย่างได้ถูกแยกออกไปจากพื้นที่วัด วัดได้ถูกลดความสำคัญลง และขาดการอุปถัมภ์จากชาวบ้าน วัดจึงอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม การออกแบบวัดหน้าพระธาตุเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เป็นการใช้ขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม เพื่อสร้างพื้นที่รองรับกิจกรรมทางประเพณี ให้เหมาะสมกับความต้องการของชุมชนและสอดคล้องกับประเพณีนิยม ในการออกแบบพุทธสถาน จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่นำเสนอการแก้ปัญหาให้ออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาให้วัดกลับมาเป็นศูนย์กลางที่ยั่งยืนของสังคมอีกครั้ง Recently, under the change of social culture of the Thais, the differences between past and present have caused the deviation of the roles of Wat from the center of community to what the remnant of community center. This effect can be seen through the decreasing of attention from both civil government sectors, especially, temple that is located in the urban or commercial area. Responding to this problem, the proposal for new activities that serve community’s requirement might be a possible solution.
As a result, historical conservation and local culture are regarded as the conventional solution realized by local municipal as proposal to draw attentions back from local communities. This might prolong the roles of Wat either as the center or as the vitalizing space of community Nakornthai district in Phitsanulok is a long historical community, well equipped with its long tradition, local custom and ritual. These factors elaborately help the community to express its identity In contrast, under conditions and by unsuitability of local area, some activities that serve for the above factors has been disregarded. Wat Naphrathat is the focal site in this thesis. Failure of the temple to meet the local conditions has caused segregation between local activities and the temple.
Support from local community and the quality of being a center have the been declined. The proposal for new space uses in Wat Naphrathat proposed by this thesis will focus on how to provide space that serves for traditional activity. Finding the revitalizing procedure for the temple to be a sustaining community space is the objective of the thesis. Arrangement of space in the temple and requirement of space used from the local community that meet the traditional criteria of designing religious architecture is, proposed by this thesis to be and alternative for practical solution.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
Total Download:
577