ศูนย์ศิลปะการแสดงหนังตะลุง

Other Title:
Nang - Ta - Lung, Shadow plays art center
Subject:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ด้วยความตระหนักถึงปัญหาของการออแบบสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมไทยในปัจจุบันที่กำลังผจญอยู่กับภาวะตีบตันทางปัญญา อันจะเห็นได้ว่าเมื่อใดก็ตาม ที่เราต้องการแสดงออกถึงความเป็นไทยทางสถาปัตยกรรม มักหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะหยิบยืมรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมสมัยโบราณสมัยใดสมัยหนึ่ง มาครอบทับลงไปในแผนผังของอาคารที่มีประโยชน์ใช้สอยของปัจจุบัน วิทยานิพนธ์นี้จึงเป็นความพยายามที่จะแสวงหาแนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรมไทยในแนวทางใหม่ๆ ที่สามารถแสดงให้เห็นความผสมผสานกลมกลืนของรากเหง้าจากอดีตกับการออกแบบในสมัยปัจจุบัน
วิทยานิพนธ์นี้ได้แสดงกระบวนการออกแบบด้วยการเริ่มต้นใหม่ใช้ทฤษฏีปรากฏการณ์ทางสถาปัตยกรรมเป็นแนวคิดพื้นฐาน แล้วหยิบยกเอาปรากฏการณ์ที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมและเป็นแรงบันดาลใจต่อการออกแบบอันได้ปรากฏการณ์แห่งแสงและเงาของการละเล่นหนังตะลุงมาเป็นกรณีทดลองศึกษา ด้วยการเทียบเคียงปรากฏในการละเล่นหนังตะลุงกับปรากฏการณ์ทางสถาปัตยกรรม โดยการตั้งสมมติฐานให้ 1 พระอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงแทนหลอดไฟ 2 ให้ที่ว่างทางสถาปัตยกรรมแทนที่ก้อนอากาศระหว่างตัวหนังกับฉากของการแสดงหนังตะลุงและ 3 ให้รูปทรงและพื้นผิวทางสถาปัตยกรรมเปรียบเสมือนตัวหนังตะลุง
ผลของงานออกแบบได้แสดงให้เห็นถึงสภาวะแห่งที่ว่างในกิจกรรมของมนุษย์บนเงื่อนไขของสถานที่และเวลา อันเป็นผลมาจากการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แก่ตัวแปรต่างๆข้างต้น ซึ่งเห็นผลชัดเจนในอาคารหลัก 2 หลังของโครงการ คือ โรงมหรสพหนังตะลุงในร่มและอาคารส่วนพิพิธภัณฑ์ สำหรับงานสถาปัตยกรรมส่วนอื่นๆซึงได้แก่ อาคารส่วนบริหารร้านอาหาร ห้องสมุดและศูนย์ฝึกอบรมกับงานในส่วนของภูมิสถาปัตยกรรมนั้น เป็นผลมาจากการออกแบบให้สอดคล้องกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางวัฒนธรรม As you see nowadays ancient Thai architectural styles are used to represent and show Thai identity in architecture by duplicating them into the modern functional building However this creates problem of Thai architecture design as the end of creativity.
Therefore the aim of this research was to find out a new approach Thai architectural design that display a harmonious integration of historic grassroots and modern design at present day.
The design processes begun by using theory of architectural phenomena as a background concept and inspired by light and shadow phenomena of the shadow plays phenomena can be divided into 3 assumptions First of all the sun is the source of light as the electric bulb Secondly the architectural space is represented as the gap between the puppet and the scene of shadow plays Lastly architectural forms and surface can be substituted as the puppet.
Moreover the architectural presentation was shown the spatial conditions in human activities based on the relationship of space and times These consequences are from suitable relationship system between each of those factors that clearly represents into 2 main buildings indoor shadow plays theater and exhibition building For the others such as administration cafeteria library training center and landscape were the result of harmony of physical and cultural environment.
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 Thesis (M.A.(Thai Architecture))--Silpakorn University, 2002
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
Total Download:
505