โรงละครไทย

Other Title:
Siamese classical dancing theatre
Subject:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมที่ใช้ในการจัดแสดงการละครและการฟ้อนรำไทย 2) เพื่อแสดงการพัฒนาและหาจุดผสานที่จะสามารถจะนำไปใช้ในการพัฒนาสถาปัตยกรรมสำหรับการจัดแสดงละครและการฟ้อนรำของคนไทยยุคใหม่ 3) เพื่อศึกษาหาความเกี่ยวเนื่องระหว่างวัฒนธรรม และลักษณะเฉพาะของการแสดงไทยกับสถาปัตยกรรมที่ใช้เพื่อการแสดงว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และ 4) เพื่อศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมและการสร้างสรรค์ที่ว่างบนพื้นฐานของวัฒนธรรม ให้ได้อาคารที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน วิธีการศึกษาแยกออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกทำโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนที่สองทำโดยการสร้างกรอบแนวคิดเพื่อนำมาออกแบบสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม
ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการแสดงที่เกิดขึ้นในแต่ละสมัยได้รับอิทธิพลจากสภาพเศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรมในขณะนั้น ซึ่งได้ส่งผลไปถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมโรงละคร กล่าวคือได้มีการสันนิษฐานว่าละครเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยาและสืบเนื่องมาจนถึงรัตนโกสินทร์โดยมีการพัฒนาที่ต่อเนื่องทำให้รูปแบบมีการคลี่คลายมาเป็นลำดับ และมีการสะดุดหยุดลงเมื่อได้รับอิทธิพล ตะวันตกอย่างไม่ได้การปรับให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ส่งผลให้ค่านิยมในการชมละครแบบไทย รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมโรงละครเปลี่ยนไป การออกแบบสถาปัตยกรรมในวิทยานิพนธ์นี้จึงเป็นการหาจุดเชื่อมต่อของพัฒนาการที่ขาดหายไปมาผสานเข้ากับเนื้อหาการแสดงและการชมละครในปัจจุบัน แล้วนำกรอบแนวความคิดเหล่านั้นมาแปรเป็นสถาปัตยกรรมโรงละคร The objectives of this thesis were to 1) study the development of the classical Thai drama and dancing display architectures 2) indicate the advancement and find the integrated point that could be used to develop the modern classical Thai drama and dancing display architecture 3) research the implication among Thai culture characteristics of Thai drama architectures and space design 4) study the design of architectures and spaces on the basis of Thai culture in order to acquire the most suitable and compatible buildings for the present conditions The study methods were divided into 2 steps the first one was done by compiling relevant information from documents interviewing and learning from some associated work and the second was done by creating framework to design suitable architecture.
The study results showed that the performance style in each period which was influenced by its own economic social and cultural condition affected the appearances of theatrical architectures That was Thai drama was assumed to first emerge in the Ayuthaya era and was continually being adapted until the Bangkok era By the end of the king Chulalonkorm period until the government transforming period to the influence of western civilization on Thai drama appreciation and appearances of theatrical architectures of Thai people considerably changed Thus the design of architecture for this thesis was to find the connecting point of some missing progresses in order to integrate them into the present situations with regards to the present Thai admiration of dramatics and finally to incorporate there sets of framework into theatrical architecture.
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 Thesis (M.A.(Thai Architecture))--Silpakorn University, 2002
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
Total Download:
1369