ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวมลายูมุสลิมและชาวจีนในย่านสายกลาง จังหวัดยะลา

Other Title:
The interrelationship between Malay Muslims and the Chinese in the market place, "Sai Klang", in Yala province
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยทางมานุษยวิทยานี้ เป็นการศึกษาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวมลายูมุสลิมกับชาวจีนในย่านสายกลางซึ่งเป็นย่านตลาดในเทศบาลนครยะลา เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองมีความเชื่อที่แตกต่างกันและความเชื่อนี้มีอิทธิพลในการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้นคนสองกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่างศาสนานี้จะมีโอกาสได้พบปะสังสรรค์กันในพื้นที่ธุรกิจหรือย่านตลาด
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ในย่านตลาดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยในสังคมและปัจจัยภายนอก เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในบริบทของเมือง และศึกษาการปรับเปลี่ยนสำนึกทางชาติพันธุ์
ผลการศึกษาพบว่าการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ทำให้เกิดสำนึกทางชาติพันธุ์ ในสังคมเมืองชาวมลายูมุสลิมและชาวจีนต่างมีกระบวนการให้ความหมายและสร้างตัวตนของกลุ่มเพื่อจำแนกกลุ่มของตนจากอีกกลุ่มอย่างชัดเจน สำหรับในย่านสายกลางคนมลายูมุสลิมกับคนจีนมีค่านิยมร่วมกัน มีกลไกการปรับตัวและลดความขัดแย้งในการอาศัยอยู่ร่วมกัน รวมทั้งคนมลายูมุสลิมได้ปรับอัตลักษณ์ของกลุ่มตนในการอยู่ร่วมกับกลุ่มคนจีน
กรณีศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมนี้ น่าจะเป็นตัวอย่างที่จะแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่น ที่ไม่เพียงทำให้เข้าใจความแตกต่างทางชาติพันธุ์ แต่จะทำให้เข้าใจความหลากหลายของชุมชนในแต่ละพื้นที่ที่มีการปรับตัวต่อสภาวะแวดล้อมและมีโครงสร้างภายในสังคมที่แตกต่างกัน องค์ความรู้นี้น่าจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางนโยบายแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างเหมาะสม This anthropological research addresses the issue of the interrelationship between the Malay-Muslims and the Chinese in the marketplace, “Sai Klang” of Yala municipality, Yala Province. Due to religious differences and beliefs influencing ways of life, the marketplace or business center has become one of the public places that provides space for the encounter of these ethnic groups.
The purposes of this research are to study the inter-ethnic relationship in the marketplace on the basis of internal and external factors for understanding the interrelationship between these two ethnic group in the context of a small town and to study the change and persistence of ethnicity.
What had been found empirically in this research is that such interrelationship leads to the emergence of ethnic consciousness. In the context of the small town, the Malay Muslims and the Chinese contruct their own distinctive definition of groups. In the context of “Sai Klang”, the Malay Muslims and the Chinese share some common values and mitigate conflicts that may occur in the communal context of living together. The research also discusses the way in which changes of Malay Muslims ethnic identity take place in this area.
This case study of interrelationship between ethnic groups in this locality shows the necessity of constructing the knowledge of locality which is not only to increase an understanding of the differences of ethnic groups, but also to gain an understanding of the diversification of each community, which has different social structure and its adaptation to the changing environment. The knowledge gained could contribute to policy guidelines conducive to resolving the long-standing instability in the three southernmost provinces of Thailand.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (มานุษยวิทยา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 Thesis (M.A. (Anthropology))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
Architectural Heritage Management and Tourism (International Program)
Collections:
Total Download:
177