การวิเคราะห์โบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

Other Title:
Artifacts analysis from the excavation at Ban Thakae Amphoe Muang Changwat Lopburi
Author:
Advisor:
Date:
1985
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการ รวบรวมและศึกษารูปแบบของโบราณวัตถุเพื่อศึกษาถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนโบราณอื่นๆ รวมถึงการลำดับอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค
วิธีดำเนินการวิเคาระห์โบราณวัตถุ ได้เน้นความสำคัญด้วยการแบ่งประเภทของโบราณวัตถุออกเป็น 6 ประเภท ตามวัสดุที่ใช้ผลิตคือ ดินเผา หิน เปลือกหอย กระดูกแก้วและโลหะ ได้ศึกษารูปแบบและปริมาณตามชั้นดินตามธรรมชาติและวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบ ปริมาณเทคโนโลยีการผลิตการผลิตของวัตถุแต่ละประเภทและการศึกษาเปรียบเทียบโบราณวัตถุชั้นดินวัฒนธรรม
ผลการวิเคราะห์โบราณวัตถุพบว่า ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบปริมาณและเทคโนโลยีการผลิตของโบราณวัตถุประเภทต่างๆ ในแต่ละชั้นดินวัฒนธรรม ทำให้สามารถลำดับชั้นวัฒนธรรมของชุมชนโบราณบ้านท่าแคออกเป็น 5 สมัย คือ สมัยที่ 1 เป็นวัฒนธรรมของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ตอนปลายและอาจเป็นได้ว่าสมัยนี้รู้จักใช้สำริดแล้ว สมัยที่ 2 เป็นวัฒนธรรมของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีสำริดและเหล็กใช้ ในช่วงปลายสมัยนี้ อาจเป็นได้ว่าอารยธรรมจากอินเดียเริ่มแพร่เข้ามาแล้ว สมัยที่ 3 เป็นวัฒนธรรมที่ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมแบบฟูนัน สมัยที่ 4 เป็นวัฒนธรรมแบบทวารวดี และสมัยที่ 5 เป็นสมัยที่มีวัฒนธรรมสืบเนื่องกันมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น The purpose of this research is to assemble and to study the artifacts typology in the sequence of soil deposits at ban Thakae the study deals with the age, economic pattern, social pattern, and culture of this ancient settlement.
Me thod of study
1. Classification of artifacts into groups deperding on kinds of material, namely terracotta atone shell bone glass and metal
2. Study of typology and density of artifacts from each level of boil deposits
3. Study of changes in style, density and technology Produc- 1ng of each group.
4. Comparative study of the artifacts typology in cultural sequence of soil deposits.
The result of the analyzation of artifacts indicates that the ancient settlement
At ban kae could be devided into 5 cultural phases. The earliest one was the late neolitic ago including some bronze tools. The second cultural phase was the metallic ago (Bronze and Iron) which had derive Indian culture in late of this phase. The third cultural phase was the contemporary of the so called iunan culture. The fourth cultural phase was the davaravati culture and the lastest phase was the was the one the developed to early Ayudha period.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2528
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
โบราณดคีสมัยประวัติศาสตร์
Spatial Coverage:
ลพบุรี
ท่าแค
ท่าแค
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
301