ภาพสะท้อนจากประเพณีผีตาโขน

Other Title:
The reflection of Phee-Ta-Khon festival
Advisor:
Subject:
Date:
2001
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ระดับศิลปมหาบัณฑิตนี้เป็นการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา ที่แสดงเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับภาพสะท้อนจากประเพณีผีตาโขน โดยแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม ที่เน้นการทำนาดำ ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชนแห่งนั้น รวมไปถึงความสามัคคีของคนในชุมชนซึ่งเป็น แรงบันดาลใจให้มีความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน
แรงบันดาลใจดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์โครงการประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา ผู้ศึกษาจะนำเสนอถึงเรื่องราวภาพสะท้อนจากผีตาโขนที่แสดงถึงความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็น ครอบครัว ที่แสดงออกมาในรูปของประเพณีและการดำเนินชีวิต โดยนำมาจากประสบการณ์ชีวิต และการศึกษา ค้นคว้าในเรื่องราวดังกล่าว ถึงต้นกำเนิดของประเพณีผีตาโขนให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น จนมองเห็นได้ว่าประเพณี ผีตาโขนนั้นไม่ได้เป็นเพียงประเพณีที่สร้างความสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงการร่วมแรงร่วมใจ สร้างสรรค์ สืบทอดประเพณีในช่วงของการรอคอยผลผลิต จากจุดนี้เองที่ผู้ศึกษาคิดว่าเป็นสิ่งที่มีค่าและมีความสำคัญมาก ที่สุดในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์
จากการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผาในหัวข้อดังกล่าว พบว่าเทคนิคการเผาโดย ใช้ฟางข้าวเป็นเชื้อเพลิงนั้นยังคงเป็นเทคนิคการเผาที่ดีและเหมาะสมกับเนื้อหาที่นำมาสร้างสรรค์ เพราะจะทำให้ ได้บรรยากาศของความเป็นพื้นบ้านที่แสดงออกมาทางสีของดิน เขม่า และรอยฟางข้าวที่ปรากฏบนพื้นผิวงาน รูปทรงของชิ้นงานจะแสดงภาพการทำงานของชาวนา ส่วนการจัดวางนั้นจะแสดงถึงความสมัครสมานสามัคคี ของคนในชุมชนดังกล่าวซึ่งผู้ศึกษาเชื่อว่าองค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนั้นจะสามารถสร้างงาน ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผาตามความคิดของผู้ศึกษาได้อย่างเหมาะสม The thesis is for a Master degree in Fine Art emphasized on a creation of ceramic sculpture. The content reflected "Phee-ta-Khon” Ritual which involved mainly on growing rice. A unity in harmony among group was a key inspiration to this certain kind of creation.
This inspiration was an essential in a creation of ceramic sculpture. A student would present a reflection from a corporation within a family member as one. The result made up from a pass experience through the one's routine life including an education and a research from a given title. The intended purpose of Phee-Ta-Khon Ritual covered further than merely an entertainment. The ritual influenced through “Growth Season” of a corporation and creation among all members in the groups. At this point, student viewed the valuable interaction as a very important matter in a human harmony.
From the creation of the ceramic sculpture had found an unique technique of fire by using straw of rice as a burning source. The method was a great technique which was suitable for this particular creation. The atmosphere of a local could be detected on a color of clay, smoked, and a trace of hay appearing on the piece of work.
Student believed that a layout of a key point consisted of all components mentioned above would create the ceramic sculpture's concept appropriately.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เครื่องเคลือบดินเผา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544 Thesis (M.F.A. (Ceramics))--Silpakorn University, 2001
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
Collections:
Total Download:
151