ความรู้สึกปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ : ศึกษาเนื้อหาสภาวะเป็นส่วนตัวและการอยู่รวมกันในพื้นที่สาธารณะ

Other Title:
The making degree of privacy space in public
Author:
Subject:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นไปได้ในการสร้างสภาพเป็นส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะ โดยมีการศึกษาจากเนื้อหาทางทฤษฎีทางจิตวิทยาและทางสถาปัตยกรรมที่มีการศึกษามาแล้ว วิเคราะห์ออกมาเป็นหลักการในการออกแบบระดับของสภาพเป็นส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะ โดยลักษณะดังกล่าวที่ได้ทำการศึกษาแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของผู้ใช้สอยและกายภาพที่สามารถก่อให้เกิดสภาพเป็นส่วนตัวที่เหมาะสม โดยอาศัยกลไกขององค์ประกอบของสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็น ระยะห่าง ระดับ ที่กำบัง ช่องเปิดและกายภาพที่โอบล้อม เพื่อนำมาใช้ออกแบบพื้นที่กิจกรรมที่มีความเหมาะสมในสภาพเป็นส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะ โดยมีบริบทของ สวนสันติชัยปราการ เป็นสถานที่ทำการทดลองออกแบบ ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น สภาพการณ์ของสวนสันติชัยปราการมีปัญหาเรื่อง ปริมาณ และความถี่ในการใช้สอยแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเกิดจากกายภาพที่แตกต่าง (บางช่วงเวลา หรือพื้นที่แออัด และบางช่วงเวลา หรือพื้นที่ไม่เชื้อเชิญให้ใช้สอย) ซึ่งขาดสภาพเป็นส่วนตัว ในการออกแบบพื้นที่สภาพเป็นส่วนตัวตามระดับของสภาพการณ์ ประเด็นสำคัญที่มีผลต่อการรับรู้สภาพเป็นส่วนตัวในพื้นที่ คือการรับรู้พื้นที่ระหว่างหน่วย (การรับรู้สารภายนอกและการที่ภายนอกรับรู้สารของภายใน) ดังนั้นการออกแบบพื้นที่ที่เป็นสภาพส่วนตัวที่เหมาะสม คือ การควบคุม หรือลดทอนต่อการรับรู้สารของแต่ละพื้นที่โดยใช้กลไกขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม (ระยะห่าง ระดับ ที่กำบัง ช่องเปิด และภายภาพที่โอบล้อม) โดยจะได้ที่ว่างสามารถปรับเปลี่ยนต่อปริมาณการใช้สอยในพื้นที่ตามช่วงเวลา รองรับต่อกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ และใช้แกนมุมมองเพื่อสร้างการรับรู้ทางสายตาให้มีการรับรู้แต่ละพื้นที่ The privacy in public spaces was the prime objective of this architectural research scheme for the Master degree in Silpakorn University. The design of privacy in the public place for user was based on two theories, Psychology and architecture. The analytical method would determine the relationship of user whom interact directly with the physical properties of the area in public spaces. Several mechanisms of architect were employed through out this study, eg.,space/gap , level, shelter, void and enclosures. The renue for this experiment was the Santi Chiprakarn park and it’s perimeter.
There were some problems in this area such as the frequency for a particular time of the day may varies. Some areas was crowned and suggested to be a place with less privacy in public. Where as, another areas was raccant and less activities or people are not interested.
The design of privacy in public which was discovered from this experiment led to the perception of information produced from the user (and vise versa the perception to acknowledge the existing of another one from an inside information as well.) There for, to design the most privacy in public space, control factor, the reduction to information in particular area by the role of architectural mechanism, simultaneously (eg. Space, level, shelter, void and enclosure). These notation led to the new concluding remarks: viz., re-design some areas in the Santi Chaiprakarn park is possible to support the full utilization in particular period/time for privacy in the public space of the designated park of Santi Chaiprakarn park.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
356