สถาปัตยกรรมผันแปรภายใต้สภาวะน้ำท่วม

Other Title:
Hybrid architecture : flood condition
Subject:
Date:
2007
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตของกรุงเทพมหานคร ทั้งทางกายภาพและสังคมของเมือง ปัญหาน้ำท่วมก็ยังเป็นปัจจัยทางสภาพแวดล้อมหนึ่งที่กรุงเทพมหานครเผชิญมาแต่อดีตแต่รูปแบบวิธีการในการจัดการกลับเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยวิธีการป้องกัน
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาถึงวิธีการปรับตัวทางสถาปัตยกรรมเพื่อสามารถอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบของการใช้พื้นที่ว่างที่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทั้งในระดับอาคารและระดับพื้นที่
ขอบเขตของการศึกษาจะอยู่ในพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมสูงเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยระบุพื้นที่ทำการทดลองออกแบบทางสถาปัตยกรรม กับบริเวณชุมชนรุกล้ำริมคลองที่มีรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างที่ไม่เหมาะสม และส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบการจัดการกับน้ำท่วมของสำนักการระบายน้ำ โดยทำการเลือกพื้นที่ชุมชนลาดพร้าว 45 ที่อยู่บริเวณริมคลองลาดพร้าว เป็นชุมชนกรณีศึกษาที่ใช้ในการทดลองออกแบบ โดยแบ่งการทดลองออกแบบ 3 ระดับ คือ ระดับชุมชน ระดับอาคาร และระดับรายละเอียดของโครงสร้าง ซึ่งอยู่ในขอบเขตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมและชุมชน
ผลของการศึกษาและออกแบบ ส่งผลต่อการปรับตัวกับน้ำท่วมกับพื้นที่ 2 ระดับ คือ ระดับอาคารที่ทำการออกแบบและระดับพื้นที่ว่างของชุมชน โดยระดับสถาปัตยกรรมอาคาร สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้ผู้ใช้อาคารสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในช่วงเวลาปกติและในช่วงเวลาเกิดน้ำท่วม ส่วนในระดับชุมชนจะเป็นการปรับตัวของการใช้พื้นที่ให้สามารถรับน้ำได้เพิ่มขึ้น ส่งผลในการเอื้อประโยชน์ต่อพื้นที่รอบข้างที่เกิดน้ำท่วมให้มีความเสี่ยงของพื้นที่ลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งใน 2 ส่วนจะส่งผลถึงการจัดระบบพื้นที่ของชุมชนรวมถึงที่ว่างที่รองรับกิจกรรมของชุมชนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากการจัดระบบให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น As Bangkok city grows, how the city, socially and physically changes has becoming an important issue, which we all have been affected and trying to find appropriate ways to live with such changes. This research study is the study of the ways in which architecture adjusts and prevents itself from flooding in order to create appropriate ways of how to live with the flooding changes. The study mainly focuses on two main areas: buildings and open spaces.
The chosen area of this study is in the eastern part of Bangkok which has been affected by high level of flooding and also a very important economic all area of Thailand. LadPrao 45 community is chosen as an example o be studied and experimented on designing how the buildings and open areas can be changed or adjusted. The criteria of choosing this area is based on two reasons. First, the area locates along side a major canal and also invaded the canal’s area. Second, it prevents Bangkok Department of Drainage and Sewerage to carry out a working construction to solve the area’s flooding problem.
The experimental design in this research is experimented on 3 different parts which are community area, building area and building details.
The result of this experimental design explains how the buildings in Ladprao 45 community can be adjusted and how people can live with it regarding the flooding changes. Also, in terms of the community open spaces, the areas are designed to be water storage which intends to organize where water goes and is stored and decrease the flooding level of its surrounding areas. Also, new activities are created according to the new community area and building organization in order to find ways to improve the whole community system and hopefully Bangkok flooding problem.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
334