จิตวิญญาณดั้งเดิมกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่

Other Title:
The remaining essence with a new life style
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
แนวคิดเรื่องพื้นที่ มีมาตั้งแต่ในสมัยเริ่มต้น ของความเป็นสังคม พื้นที่แต่ละพื้นที่ย่อมมีจิตวิญญาณของกตัวเอง และสามารถที่จะสะท้อนความหมายออกมาให้ได้รับถึงความเป็นถิ่นที่ และความเป็นสังคมนั้นๆได้ เมื่อเวลาผ่านไปพื้นที่พื้นที่หนึ่ง สามารถที่จะเปลี่ยนความหมายของความเป็นตัวตนได้จากการแปรเปลี่ยนของสภาพแวดล้อม ชุมชน วิถีชีวิต และวัฒนธรรม หรือปัจจัยย่อยๆที่ก่อตัวขึ้น เช่น กิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน หรือปัจจัยกว้างๆ ที่เป็นผลกระทบการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ เช่น การเปลี่ยนแปลงตามระบอบการเมือง การปกครอง หรือแม้กระทั้งแปรเปลี่ยนตามกระแสโลก แต่มิได้หมายความว่าจะพื้นที่นั้นจะเปลี่ยนความเป็นตัวตนไปในทันที แต่จะเป็นการที่มันค่อยๆปรับตัวเปลี่ยนสภาพไปตามช่วงเวลา ยุคสมัยและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป เสมือนเป็นการซ้อนทับทางความหมายใหม่ลงไปในพื้นที่
จากพื้นที่ที่ทำการศึกษา ยกกรณีศึกษาที่ย่านถนนพระอาทิตย์ขึ้นมา ห้องแถวเก่าในชุมชนเป็นพื้นที่ที่เป็นองค์ประกอบของย่านเก่า ที่อยู่ในที่มีความเจริญดังเช่นกรุงเทพมหานคร การรับรู้สัญญะความเป็นตัวตนผ่านความเป็นจิตวิญญาณของย่านถนนพระอาทิตย์ ที่สะท้อนความหมายออกมาทั้งทางทางกายภาพ ทางสังคม คนภายนอกสามารถที่จะรับรู้ความหมายทางสัญญะต่างๆที่เกิดขึ้นในย่านได้ เช่น การแสดงออกด้านความเป็นตัวตนที่แสดงถึง ความเก่า ความใหม่ และกิจกรรมที่แตกต่างกัน ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความหมายของพื้นที่ในย่านถนนพระอาทิตย์ และได้นำแนวความคิดเรื่องความเป็นตัวตนของพื้นที่และการซ้อนทับของกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงในห้องแถวอย่างเป็นพลวัตมาศึกษาและทำการทดลองสู่กระบวนการคิด
ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในห้องแถวแต่ละคูหา เกิดจากปรากฏการณ์ gentrification ในปัจจุบันที่เป็นเสือนรอยต่อขงยุสมัยของความสัมพันธ์ที่เคยเป็นความสัมพันธ์แบบเครือญาติ เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ จะเห็นได้จากความแตกต่างในหลายๆด้านของผู้คนและกิจกรรมในพื้นที่ หากทำการแยกพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ โดยไม่อิงถึงบริบทใดๆ ก็เสมือนกับการต่างคนต่างอยู่ (ซึ่งมีความเป็นไปได้มากว่าจะเกิดปรากฏการณ์ในลักษณะนี้ในย่านถนนพระอาทิตย์) พื้นที่เหล่านั้นจะไม่มีความหมายในเชิงความเป็นกลุ่มสังคมที่มีสัมพันธ์เกื้อกูลซึ่งกันและกันเลย แต่หากเมื่อเรานำพื้นที่ของแต่ละส่วนแต่ละบุคคลมาประกอบกัน แล้วเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ด้วยกิจกรรมหรือรูปแบบทางสถาปัตยกรรมก็ตาม ชุมชนนั้นอาจเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์แบบยั่งยืนต่อไปได้ The idea of place has been known from the beginning of human social organization. Each place has own spirit and refect its’ meaning in there sense of place. By the time changes, place can be transformed identity by changing of environment, community, life, culture or the combination of minor factor such as community ‘s activity or major factors like the effect of development from political and globalization. However thing is not change immediately. Identity gradually transform itself by time, period, and value can be seen as new meaning of layer in to the place.
Firstly the study is to choosing case study from Phra-Artit district by consider rowhouse is the main part of developed urban which we always seen in Bangkok. To perceived the identity signification from spirit of Phra-Artit district is reflected to physical, social. That outsider can be realized kinds of signification ‘s layers such as the expression of oldness and newness, and their different activities. At last to study the changing of meaning role in Phra-Artit district and to bring the idea of place ‘s identity. Layer of Dynamic Activities in this rowhouse in order to analysis and develop to conceptual design.
The differentiate and relationship of activity which appear in each unit of the rowhouse is cause of gentrification phenomena can be seen as the shift from the old relationship such as family, neighbourhood to the new kind of relationship which separate human and activities individually each unit in the community. But if we combine them altogether and relate them with activities or Architecture physical. We may find out the way of sustainable of relationship in any community.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
262