การศึกษาความสัมพันธ์ทางสายตาเพื่อการออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพของ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

Other Title:
Study of relations of visual perception for desith and redevelop the environment physical of Chao-Phraya riverfront
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาทางด้านการรับรู้และความสัมพันธ์ทางสายตาระหว่าง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อทำการออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพของบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ต่างๆ และส่งเสริมให้เกิดสุนทรียภาพต่อบริเวณริมน้ำตลอดช่วงสะพานพระราม 7 ถึง สะพานพระราม 9 ซึ่งจากการสำรวจบริเวณริมน้ำในเบื้องต้นพบว่ามีบริเวณที่น่าสนใจในการศึกษาอยู่ 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณวังบางขุนพรหม สวนสันติชัยปราการ สถานีรถไฟบางกอกน้อย ท่าช้าง และชุมชนท่าเตียน ซึ่งบริเวณท่าเตียนเป็นบริเวณที่มีบริบทและองค์ประกอบทางกายภาพที่น่าสนใจ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์มากที่สุด จากการศึกษาและวิเคราะห์ที่ตั้งบริเวณชุมชนท่าเตียนพบว่า โครงสร้างของที่ว่างและองค์ประกอบทางภายภาพในซอยถนนท้ายวัง ซอยท่าเตียน (1) ซอยท่าเตียน (2) และซอยท่าสุพรรณ มีทิศทางและแนวโน้มในการเกิดความสัมพันธ์ทางทัศนาการ ไปยังฝั่งตรงข้าม โดยมีองค์พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามเป็นเป้าหมายในการทัศนาการ แต่อาคารริมน้ำท้ายซอยอยู่ในตำแหน่งที่บดบังการทัศนาการ ประกอบกับสภาพที่ทรุดโทรมของอาคารริมน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุนทรียภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณนี้
ในขั้นตอนการออกแบบ เนื่องจากการศึกษาด้านทฤษฎีการรับรู้ทางทัศนาการในสภาดแวดล้อม พบว่า องค์ประกอบทางกายภาพที่ส่งผลต่อการทัศนาการนั้น มีความหลากหลาย ซึ่งจะทำให้เกิดการรับรู้และความสัมพันธ์ทางทัศนาการที่แตกต่างกันไป ผู้ศึกษาจึงเลือกใช้วิธีการทดลองออกแบบโดยใช้องค์ประกอบทางกายภาพที่แตกต่างกันกับซอยทั้ง 3 ซอย ซึ่งแต่ละซอยจะมีเงื่อนไข และบริบทที่แตกต่างกัน ดังนั้นผลที่ได้จากการทดลองพบว่ามีเพียงองค์ประกอบกายภาพบางชนิดที่มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับเงื่อนไข ซึ่งส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ทางสายตาระหว่าง 2 ฝั่งแม่น้ำ และเป็นประโยชน์ต่อการใช้ที่ว่างในชุมชน แต่อย่างไรก็ตามการการทดลองออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพในครั้งนี้ ทำให้เกิดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมคุณค่าทางด้านสุนทรียภาพที่สอดคล้องกันระหว่างวัดอรุณราชวรารามและชุมชนท่าเตียน ซึ่งการทดลองนี้จะนำไปสู่พัฒนาการทางด้านสุนทรียภาพและสภาพแวดล้อมบริเวณพื้นที่ริมน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา Main purpose of the study of visual perception along the Chaophraya riverside is to renovate the physical environments of the riverside, according to the urban context of the city. The site of case study selected by survey all the interesting locations along Chaophraya river from Rama 7 bridge to Rama 9 bridge, including Bangkhunprom Palace, Santichaiprakarn Fort, Bangkoknoi Rail Station, Tha-Chang Pier, and Tha-Tian Community. By all reasons, this thesis chose the Tha-Tian Community of become case study of this thesis, because of the site contains abandoned buildings and disorder physical elements that opaque the visual relationship between Wat Arun Ratchawararam and Wat Prachetuphon Vimolmungkalaram, in which these temple are the significant historical places of Bangkok.
In order to study, some theories about visual perception has been brought to support the design in term of the visual perception problems research. Then, study the site that included different context and condition of each soi (included Soi Thaywang Road, Soi Tha-Tian 1, Soi Tha-Tian 2, and Sot Tha-Suphan) by redesign each experiment of the site by using different physical elements that suited to each Soi. From the case study, the result of experiments show that redesign the site by using some physical elements not only solve the visual relationship of the site but also improve the space and landuse for the community as well. Finally, The result of this thesis can be applied to the other site along the riverside of Chaophraya River for the main purpose of renovate the riverside aesthetic.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
120