สถาปัตยกรรมเงา : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเงาและที่ว่างทางสถาปัตยกรรม

Other Title:
Shadow architecture : a study of architectural spatiality in relation to shadow
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การทดลองสร้างที่ว่างทางสถาปัตยกรรมจากสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangible) ซึ่งในที่นี้ได้แก่ “เงา” และรวบรวมลักษณะทางด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเงาทั้ง ลักษณะทางกายภาพ (Physical), ลักษณะทางจิตวิทยา (Psychology) และลักษณะทางสัญลักษณ์ (Signification) ที่เกี่ยวข้องกับความหมายในเชิงนามธรรมของเงา จากนั้นจึงเอาลักษณะทั้งสามนี้มาวิเคราะห์เพื่อนำไปกำหนดเป็นแนวความคิดในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม และการออกแบบงานสถาปัตยกรรมเชิงทดลองที่สอดคล้องกับบริบทแห่งที่ตั้งโครงการเพื่อนำเสนอเป็นทางเลือกของการค้นหารูปแบบทางสถาปัตยกรรมและที่ว่างร่วมสมัยที่เกิดจากองค์ประกอบที่ไม่มีตัวตนในบริบททางสังคมที่เราอาศัยอยู่ อันเป็นที่มาที่ไปของการศึกษาในครั้งนี้
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ ได้เลือกที่จะนำเอาการรับรู้ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับเงามาเป็นเครื่องมือหลักในการออกแบบทดลอง โดยพิจารณาจากพื้นฐานที่ว่าการรับรู้เป็นปฏิกิริยาที่มนุษย์มีต่อลักษณะทางกายภาพของเงา และยังเป็นต้นกำเนิดของลักษณะทางสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับเงาอีกด้วย ดังนั้น การรับรู้ของมนุษย์จึงมีความเป็นตัวกลางที่จะเชื่อมโยงให้เห็นถึงโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเงาได้อย่างแท้จริง เมื่อมีเงาเกิดขึ้นเงาได้สร้างความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ 2 ประการได้แก่ การปรากฏแก่การรับรู้ทางสายตา เช่น การมองเห็น,เงาเป็นภาพเสมือนของความเป็นจริง ,การบอกเวลา ,ความกลัว เป็นต้น ลักษณะที่สองได้แก่การสร้างขอบเขตในเชิงที่ว่างให้มนุษย์เข้าไปใช้สอย ดังนั้นเงาในลักษณะที่สองจึงมีหน้าที่เหมือนดังที่ว่างประเภทหนึ่ง เช่นการกำหนดขอบเขต ,การเชื่อมต่อ เป็นต้น
แนวความคิดในการออกแบบงานสถาปัยกรรมเชิงทดลอง ได้สร้างการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างที่ว่าง 2 แบบได้แก่ ที่ว่างที่เกิดจากประโยชน์ใช้สอยซึ่งถูกกำหนดให้แสดงตัวตน เกี่ยวข้องกับการใช้สอยที่ชัดเจนและมีความต้องการแสงสว่าง กับที่ว่างแห่งเงาซึ่งจะมีลักษณะตรงกันข้ามทั้งในด้านของการใช้สอย และการแสดงตัวตน โดยทดลองออกแบบสิ่งปิดล้อม (Enclosure) ร่วมระหว่างที่ว่างทั้งสอง ที่สามารถสร้างให้ที่ว่างทั้งสองชนิดเกิดขึ้นซ้อนทับกันหรืออยู่คนละตำแหน่ง แตกต่างตามรอบของเวลาในช่วง 1 ปี และในรอบ 1 วัน การปรากฎขึ้นและหายไปของที่ว่างทั้งสองชนิดก่อให้เกิดการรับรู้เชิงเปรียบเทียบ เป็นเสมือนจังหวะของดนตรี 2 ประเภทที่ทำปฏิกริยาต่อกัน เป็นดังชีวิตของสถานที่นั้นๆ และเป็นดังบทร้อยกรองของสิ่งที่ต้องการให้เห็นและสิ่งที่ซ่อนอยู่ (Explicit&Implicit) นอกจากนี้ยังนำเอาองค์ประกอบของที่ตั้งโครงการบริเวณป้อมพระสุเมรุที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้องเงาในแง่ของการสร้างการระลึกถึงตัวตนของสิ่งสำคัญที่เคยมีอยู่ในสถานที่นั้นได้แก่ แนวกำแพงเมือง และต้นไม้ดั้งเดิม นำมาสร้างเป็นสิ่งปกคลุม (Shelter)ที่แสดงเรื่องราวของการรับรู้การปรากฎขึ้นของเงาทางสายตาอีกด้วย
ผลที่ได้จากการทดลองทให้เกิดงานสถาปัตยกรรมเชิงทดลองที่เกิดจากที่ว่างเงา ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ เงา,ที่ว่าง,เวลา และการรับรู้ รวมไปถึงเงาได้เป็นตัวกำหนดรูปแบบทางกายภาพที่สร้างมันขึ้นมา The design process employs the notion of human perception as a main tool to explore shadow architecture. Perception in this sense involves interaction between human and the physical aspects of shadow, through human cognition process, shadow’s physical aspects are translated into abstract meaning. Perception acts as a medium for our understanding of shadow. Human is related to shadow in 2ways. Firstly, through visual perception such as our sight that recognizes shadow and relates it to other aspect and concepts such as time, fear. Secondary, shadow also play a crucial ole in the creation of spatial boundary. Thus shadow acts as the creator of architecture space, generating spatial direction and continuity as well.
This process design picked the perception of shadow to be main tool for this trial. By considered perception is interaction between human and shadow’s physical and it is also the basic of human cognition process and became abstract meaning at last. The perception itself is indeed medium for human’s realize through structure of shadow. Human has been related to perception by 2 ways. Firstly, by visual field which appeared to human’s eye such as the represent of virtuality, memorial, time and sublime. Another one is spatiality issue, shadow as a kind of space which has its task of space as well.
The conceptual design of this experiment is to differentiate space from shadow space. The space in this study refer to functional (which related to light), positive and also exposed space. On the other hand, shadow is related to negative and concealed space. By design Co-shelter which define both spaces to be appearing at the same and different time. The appearance of two spaces seem like rhythm of two different beat in music which can be seen as a poetic of explicit and implicit that create a particular sense of place. Otherwise, the design still use existing shelter of place like ancient wall and local tree to be innovated new kind of shelter which create the shadow of memorial as well.
The conclusion of this study is presented with the final design of experimental architecture demonstrating which shown the relationship between shadow, space, time and perception, as well as the way shadow can create it own shelter.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
2075
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
สถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมข้าวแถบลุ่มน้ำยมและน่านตอนล่าง
Collection: Theses (Master's degree) - Vernacular Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นType: Thesisศิโรดม เสือคล้าย; Sirodom Sueklay (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2007)วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศโดยรวมของพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานของชาวนา ศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมข้าวทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม แล้วสำคัญคือศึกษาเนื้อหา ... -
พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน : กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
Collection: Theses (Master's degree) - Vernacular Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นType: Thesisภาคภูมิ คำมี (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559)“พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน: กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร” เป็นวิทยานิพนธ์ที่มุ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเฮือนชาวนาอีสาน และวิถีชีวิตชาวนาในพื้นที่ศึกษา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ... -
พุทธสถานอุทยานการเรียนรู้พระพุทธศาสนาแห่งภาคอีสาน
Collection: Theses (Master's degree) - Thai Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมไทยType: Thesisอนุสรณ์ บุญชัย; Anusorn Boonchai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2007)