โลกุตรสถาน

Other Title:
Place of being awake
Author:
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองผสานการพิจาณาธรรมเข้ากับชีวิตประจำวันของคนเมือง โดยศึกษาแนวทางการปฏิบัติธรรมและการใช้ระบบสัญลักษณ์ในสถาปัตยกรรมที่สื่อถึงสัจธรรมตามหลักพุทธศาสนา เพื่อสร้างแบบจำลองแนวความคิดและทดลองออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร
จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่สำคัญในการปฏิบัติธรมของคนกรุงเทพฯคือ ทัศนคติที่ผิดพลาดว่าพุทธศาสนาขัดต่อการพัฒนา การแก้ปัญหาจึงได้ผนวกการปฏิบัติธรรมเข้าไว้กับวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อพิสูจน์ว่าพุทธศาสนาปฏิบัติได้จริง จากนั้นจึงได้คัดเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมซึ่งได้แก่ การเดินทางสัญจรบนถนนที่มีการจราจรติดขัดนำมาผนวกกับการปฏิบัติธรรม ต่อมาได้เลือกพื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อทำการทดลองออกแบบโครงการฯ
การปฏิบัติธรรมประกอบด้วย 2 ส่วนที่ต้องปฏิบัติควบคู่กันไป คือ ส่วนสมถะ และ ส่วนวิปัสสนา จึงได้ศึกษาถึงการสื่อความหมายดังกล่าวจากการแทนค่าในระบบสัญลักษณ์ของเจดีย์ ทำให้สามารถสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ในวัฏจักรเวลาที่แตกต่างกัน จากแบบจำลองดังกล่าวเมื่อพิจารณาร่วมกับบริบทของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่เป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนสายรถประจำทาง ทำให้สามารถแทนค่ากิจกรรมต่างๆกับปรากฏการณ์ในวัฏจักรเวลาที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวได้ดังนี้
วัฏจักรการเคลื่อนที่ของรถจากจังหวะสัญญาณไฟจราจร บอกเวลาในระดับ วินาที นาที โดยการจัดสัญฐานของอนุสาวรีย์ใหม่ เพื่อให้สามารถรับรู้การเกิดและสลายตัวของกลุ่มรถยนต์ที่จอดสลับกับเคลื่อนที่
วัฏจักรการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ บอกเวลาในระดับ ชั่วโมง วัน โดยการใช้โครงสร้างของอนุสาวรีย์เป็นเสมือนนาฬิกาแดดที่ทอดเงาตกกระทบบนถนนที่ลาดเอียงเป็นฉากรับขนาดใหญ่
วัฏจักรการออกดอกและผลัดใบของพืชพรรณไม้ บอกเวลาในระดับ เดือน ปี โดยการเลือกพรรณไม้ที่มีดอกสวยงาม และ พรรณไม้ที่มีกลิ่นหอม นำมาปลูกโดยรอบอนุสาวรีย์ ให้มีการออกดอกสลับกันตลอดทั้งปี
วัฏจักรการเคลื่อนที่ของคนเดินเท้าโดยรอบเปรียบเทียบแทนค่าวัฏจักรของชีวิตมนุษย์ บอกเวลาในระดับ ศตวรรษ หรือ 1 ช่วงอายุขัย (วัฏสังสาร) โดยการออกแบบทางลาดโดยรอบซึ่งสะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายที่มีศักยภาพกับการดำรงอยู่อย่างไร้เจตจำนงค์
การรับรู้ที่เชื่อมโยงวัฏจักรของการเปลี่ยนแปลงในช่วงกว้างของเวลาที่แตกต่างกันทั้ง 4 วัฏจักร เป็นการใช้บริบทของพื้นที่อนุสาวรีย์ฯ นำมาอธิบายถึงสัจธรรมของสิ่งต่างๆที่มีความเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นฐาน ผูกพันกันด้วยสาเหตุและผลลัพธ์ ที่ไม่สามารถค้นหาเบื้องต้นและคาดคะเนถึงบั้นปลาย The objective of this study is to experiment the integration of dharma consideration which is applicable to people of the metropolis’s daily life. The study methodology base on dharma practices and the use of symbols in the architectures; that attributed to the truth of religious discipline and for the creation of thinking model, and experimentally design the architecture in Bangkok location.
The study found that the significant problem of Dharma Practices for city people is the wrong attitude that the religious is the obstacle in development. As a result, a finding of the study is to integrate the dharma practice in the routine daily life in order to prove that Buddhism is practical. Then, the Victory Monument is selected to be the location of the study.
Dharma Practice is composed of two identical parts which are mediation and truth. Thus, the designer had studied the illustration of mediation and truth in architecture of the pagoda. This study could be able to reproduce the relationship of occurrences in different periodical cycles. Therefor, the mentioned reproduction could be integrated with the context of the Victory Monument; which is the bus station terminal centre, and symbolized variety activities and occurrences in different periodical time. This can be ascertained the reciprocal relationship as follows:
Cycle of the vehicles’ movement in the traffic light system; show periodical time of second and minute, by redesigning the boundary of Victory Monument in order to know the mass traffic movement
Cycle of the sun’s movement; show periodical time of hour and day, by representing the of Victory Monument structure as the sundial shadows on the huge slope street plain
Cycle of the plant and flower’s production; show periodical time of month and year, by selectin different kinds of tree and fragrant flower to plant around the Victory Monument for seasonable production
Cycle of walkers to be a metaphor of human life cycle; show periodical time of century and samsara, by designing the pedestrian which reflect the conflict between the selected potential life goals as well as life and death in the samsara
The perception; that connected the four cycles of occurrence in different periodical times, is the use of context of the Victory Monument to describe the truth of things on changeable basis. This truth is related by the cause and action which non-originated and endlessness.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
252