ปรากฏการณ์แห่งแสงในสถาปัตยกรรม กรณีศึกษาการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัย จังหวัดเชียงใหม่

Other Title:
Phenomenon of light in architecture case study of living place design in Chiang Mai
Author:
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับแสงธรรมชาติและการรับรู้แสง ลักษณะของแสงธรรมชาติในสถาปัตยกรรมทั้งทางด้านภายภาพและความหมายในเชิงธรรม และแนวความคิดและวิธีออกแบบแสงธรรมชาติในงานสถาปัตยกรรมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมประเภทที่อยู่อาศัยได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างกระบวนการของแนวความคิดในการออกแบบแสงในงานสถาปัตยกรรมและออกแบบงานสถาปัตยกรรมประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความสอดคล้องกับบริบทของที่ตั้ง โดยมีวิธีการศึกษา ดังนี้คือ
1. ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับแสงในงานสถาปัตยกรรม ลักษณะแสงในงานสถาปัตยกรรม และวิเคราะห์แนวความคิดและการออกแบบแสงธรรมชาติจากกรณีศึกษาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยไทย
2. ศึกษาลักษณะแสงในสภาพแวดล้อมของพื้นที่ตั้ง ตลอดจนลักษณะแสงในวัฒนธรรมของพื้นที่ดังกล่าว
3. สร้างแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาคิดดังกล่าวนำเสนอให้เป็นภาพที่มองเห็นเป็นรูปธรรม
4. ทำการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยการออกแบบขั้นแบบร่าง โดยใช้แนวคิดที่ได้พัฒนาไว้ จากนั้นจึงพัฒนาแบบทางสถาปัตยกรรม และสรุปการออกแบบขั้นสุดท้ายจากการศึกษาในข้างต้น
แนวคิดในการออกแบบหัวข้อปรากฏการณ์แสงในพื้นที่อยู่อาศัย (Phenomenon of Light in Architecture) ได้มีการกำหนดกรอบแนวความคิดในเชิงนามธรรมคือ “แสงเงาแห่งความทรงจำในอดีต” (Shade of Memory) โดยกระบวนการในการสร้างแนวความคิดดังกล่าวเป็นการถ่ายทอดความหมายของบริบทที่ตั้งทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมแบบล้านนา โดยใช้แสงในการสื่อความหมายผ่านทางสถาปัตยกรมม และพัฒนาแนวความคิดดังกล่าวนำเสนอเป็นภาพที่มองเห็นเป็นรูปธรรม
ลักษณะภาพรวมของพื้นที่อยู่อาศัยจากแนวความคิดดังกล่าวเป็นการเล่าเรื่องราวของฤดูกาลในสามฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งแสงธรรมชาติเป็นสิ่งที่สร้างภาพของบรรยากาศในแต่ละฤดูกาลผ่านพื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรม และสะท้อนบรรยากาศดังกล่าวให้ผู้อยู่อาศัยได้หวนระลึกถึงบรรยากาศของธรรมชาติของจังหวัดเชียงใหม่ในอดีตที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละฤดู ลักษณะของพื้นที่อยู่อาศัยจึงแบ่งออกเป็นพื้นที่สามส่วน ที่ให้บรรยากาศของแสงที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างไปในสามฤดู และมีการเชื่อมโยงกันตามลักษณะของฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงในรอบปี จากแนวความคิดในการสร้างปรากฏการณ์แสงภายในที่อยู่อาศัยและภาพรวมของพื้นที่อยู่อาศัยในลักษณะของแสงในสามฤดูที่ต้องการสื่อถึงความหมายของแสงเงาแห่งความทรงจำนั้น ได้มีการแบ่งประเด็นของแนวความคิดออกเป็นสามประเด็นใหญ่ๆด้วยกัน ได้แก่ลักษณะแสงในบริบทล้านนา แสงที่เกิดขึ้นในสามฤดู และแสงที่เกิดขึ้นในบริบทที่ตั้ง ทังนี้เพื่อหาลักษณะเฉพาะของแสงในพื้นที่อยู่อาศัยภายใต้บริบทที่ได้กำหนด ซึ่งผลสรุปจากการศึกษาดังกล่าวนำไปสู่แนวความคิดในการออกแบบรูปทรงและพื้นที่ว่าง ลักษณะของแสงและการกำหนดตำแหน่งทิศทางของพื้นที่อยู่อาศัย The purpose of this study was to study theoretical of natural light and light perception, characteristic of natural light in architecture on both physical and meaning in abstract, conceptual idea and design method of natural light in architecture of Thailand and foreign country which enable to apply with architectural design for living place. All those for design process of conceptual design of light in architecture especially for living place which conform to site context. The methods of the study are as follows :
1. Study theoretical of light in architecture, characteristic of light, conceptual analysis and
natural light design from case study in order to apply in Thai-living place design.
2. Study characteristic of light of site environment and cultural light character of the area.
3. Construct the conceptual idea for design and develop to concrete.
4. Architectural design process by developing this conceptual idea.
The conceptual design in phenomenon of light in architecture is determined scope conceptual idea in abstract as shade of architecture. The process of this conceptual idea is to transmit the meaning of site context on both environment and Lana cultural by using light to express on architecture and develop this concept to concrete.
Characteristic of this living place from the conceptual design is to telling the story of 3 seasons which are summer season, rainy season, and winter season. Natural light create the atmosphere of each season on architecture space and rebound those atmosphere to remind inhabitant of Chiang mai natural light in the past which keep changing every season. Implicitly, characteristic of living place is dividing to 3 space which gives different light atmosphere and links season character which changing all year through, According to the conceptual idea of phenomenon of light in living place and its living place, the light character of 3 seasons which intent to conduct the meaning of light in memory, the essential conceptual idea is divided to 3 points which are characteristic of Lana context, light in 3 seasons, and light in site context. Indicate to looking for characteristic of light in living place under the establish context. The conclusion of this study lead to conceptual idea in shaping design, architectural space, characteristic of light, and living place orientation.
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. Thesis (M.A.(Architecture))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
612
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
สถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมข้าวแถบลุ่มน้ำยมและน่านตอนล่าง
Collection: Theses (Master's degree) - Vernacular Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นType: Thesisศิโรดม เสือคล้าย; Sirodom Sueklay (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2007)วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศโดยรวมของพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานของชาวนา ศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมข้าวทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม แล้วสำคัญคือศึกษาเนื้อหา ... -
พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน : กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
Collection: Theses (Master's degree) - Vernacular Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นType: Thesisภาคภูมิ คำมี (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559)“พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน: กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร” เป็นวิทยานิพนธ์ที่มุ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเฮือนชาวนาอีสาน และวิถีชีวิตชาวนาในพื้นที่ศึกษา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ... -
พุทธสถานอุทยานการเรียนรู้พระพุทธศาสนาแห่งภาคอีสาน
Collection: Theses (Master's degree) - Thai Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมไทยType: Thesisอนุสรณ์ บุญชัย; Anusorn Boonchai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2007)