ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับแนวทางการต่อเติมที่อยู่อาศัยแบบสร้างบางส่วน : กรณีศึกษาที่อยู่อาศัยในโครงการเมืองใหม่บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Other Title:
The relationship between users' behavior and the extension process of core house : a case study of Bang Plee New Town Project, Smut Prakarn
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะที่อยู่อาศัยแบบสร้างบางส่วน รวมไปถึงลักษณะการต่อเติมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการอยู่อาศัย โดยศึกษาจากโครงการของการเคหะแห่งชาติ ใช้กรณีศึกษาโครงการเมืองใหม่บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องด้วยเป็นโครงการสุดท้ายของการสร้างที่อยู่อาศัยลักษณะนี้ ซึ่งได้มีการพัฒนาข้อบกพร่องจากโครงการที่เกิดขึ้นก่อน จนในปัจจุบันพบว่า บ้านที่ได้ทำการต่อเติมจนเต็มแปลงที่ดิน กลับไม่ได้ต่อเติมให้เป็นไปตามแนวทางที่ทางการเคหะแห่งชาติได้กำหนดในเบื้องต้น ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่บางส่วนต้องสูญเสียการใช้งานในช่วงกลางวันอันเนื่องจาการต่อเติมที่ส่งผลให้แสงสว่างธรรมชาติ และการระบายอากาศไม่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อเติมที่พบเห็นส่วนใหญ่จะค่อนข้างต่อเติมเต็มี่ดินทำให้แออัด ส่งผลกระทบตั้งแต่ในระดับหน่วยพักอาศัยจนกระทั่งถึงระดับของชุมชน การไม่มีพื้นที่ว่างในระดับผังชุมชนอาจส่งผลในเรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัย เหล่านี้เป็นต้น
การศึกษาใช้การสำรวจ การสังเกตการณ์ในพื้นที่ การบันทึกภาพรวมกับทฤษฎีและงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในการอยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแบบสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับรูปแบบของลำดับในการต่อเติมที่อยู่อาศัย ความสัมพัฯธ์ระหว่างพฤติกรรมกับแนวทางการต่อเติม โดยกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาเป็นกลุ่มบ้านที่มีระดับรายได้ต่ำสุดของโครงการ และเป็นบ้านที่มีลักษณะการใช้งานเพื่อการอยู่อาศัย โดยทำการอยู่อาศัยตั้งแต่บ้านยังไม่ได้ทำการต่อเติม (ยังเป็น Core House เดิม) โดยทำการสุ่มตัวอย่าง 25 หลังเพื่อทำการศึกษาและนำไปวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างแนวทางการต่อเติมกับพฤติกรรมในการอยู่อาศัยเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบบ้านสำหรับโครงการลักษณะนี้รวมไปถึงเป็นแนวทางในการกำหนดการต่อเติมบ้านที่สอดคล้องกับพฤติกรรมในการอยู่อาศัยต่อไป
จากการศึกษาพบว่า การต่อเติมที่ไม่ได้เป็นไปตามแนวทางของการเคหะแห่งชาติได้กำหนดวางแนวทางไว้ ยังเกิดการปรับเปลี่ยนพื้นที่การใช้งานให้สอดคล้องกับแนวทางการต่อเติมตามพฤติกรรมในการอยู่อาศัย การวิจัยได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาจากการสรุปผลการวิเคราะห์ในเรื่องการต่อเติมกับพฤติกรรมการอยู่อาศัย เพื่อที่สามารถตอบสนองการใช้งานให้ได้ใกล้เคียงพฤติกรรมการอยู่อาศัยที่สุด The purposes of this research was to pattern out the order of expansion of core houses in connection with the behavior of users in the “Site and Service with Core House” of Bang Plee New Town Project by the National Housing Authority. At present, it has been found that, the houses were not extended according to the construction sequence of National Housing Authority. As a result, the main problem is the loss of spatial activities during the daytime which is caused by not enough natural light and air ventilation in the house. Particularty, most houses were extended to the full area which caused problems such as arounding and fire safety.
The study utilized a wide range of approaches such as field observation, questionnaire survey, photographing and measuring of houses within the study area. The study sampling of 25 units from 225 units for analysis were to find out the relationship between living behavior pattern and house extension.
From the study, it has been found that the extensions do not comply with the National Housing Authority’s proposed plan, but adapt to the living behavior of the occupants. This research suggests the guidelines for appropriate core house design, that responds to the actual pattern of living behavior, which is possible to apply to row-houses for low income people.
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 Thesis (M.A.(Architecture))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
126