พัฒนาการของเรือนพื้นบ้านกะเลิง : กรณีศึกษาบ้านหนองหนาว จังหวัดมุกดาหาร

Other Title:
Development of vernacular Kaloeng House : case study of Ban Nong-Nounw, Mukdahan Province
Author:
Subject:
Date:
2001
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การค้นหาเอกลักษณ์ในเรือนพื้นถิ่นเพื่อนำไปสู่การศึกษาเรือนพื้นถิ่นร่วมสมัย มีความจำเป็นต้องค้นคว้าถึงเนื้อหาจากรากฐานแต่ละชุมชนนั้นอย่างแท้จริงและมิอาจใช้การอ้างอิงเพื่อใช้กับแหล่งที่ตั้งอื่นๆได้ เนื่องด้วยแต่ละพื้นที่ย่อมมีความแตกต่าง แม้เพียงเล็กน้อยก็มีผลต่อพัฒนาการของเรือนในแต่ละชุมชนนั้น การศึกษาพัฒนาการเรือนเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดองค์ความรู้และเข้าใจถึงรูปแบบเรือน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ตลอดจนลักษณะและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังพบว่าการศึกษาในแนวทางนี้ยังมีไม่มากและยังขาดการนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้เรือนที่ผสมผสานความรู้จากการวิจัยกับการออกแบบใหม่ๆ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงการพัฒนาการของเรือกะเลิง บ้านหนองหนาว อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อมุ่งหมายให้เข้าใจถึงทิศทางและรูปแบบของพัฒนาการเรือนรวมถึงปัจจัยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น และเพื่อค้นหาว่าการสร้างเรือนในช่วงเวลาใดที่สามารถสะท้อนลักษณะดั้งเดิมของเรือนในชุมชน วิธีการศึกษาเน้นการสำรวจภาคสนามและการวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยการใช้กรอบการศึกษาที่ยึดกับระยะเวลาการสร้างเรือนเป็นหลัก ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ เรือนกลุ่มใหม่ (0-30 ปี) เรือนกลุ่มกลาง (31-60 ปี) และเรือนกลุ่มเก่า (61-11 ปี)
ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบเรือนดั้งเดิมของกะเลิงบ้านหนองหนาวคือ เรือนเกยแบบเรือนอีสาน โดยกลุ่มเรือนที่สามารถสะท้อนให้เห็นรูปแบบดังกล่าวได้ชัดเจนที่สุด คือ เรือนกลุ่มกลาง และพบว่ากลุ่มเรือนอายุน้อยกับเรือนกลุ่มเก่า มีรูปแบบและสภาพทางกายภาพใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เนื่องจากเรือนกลุ่มเก่ามีการซ่อมแซม ต่อเติมและดัดแปลง รวมไปถึงการใช้วัสดุที่มีอายุการใช้งานสั้นทำให้ระยะต่อมามีการเปลี่ยนวัสดุและวิธีการใช้เป็นแบบเดียวกับเรือนอายุน้อย
การพัฒนาการที่เด่นชัดมี 2 ด้าน คือ พัฒนาการในด้านรูปทรงเรือน โดยมีแนวทางการเปลี่ยนแปลงจากรูปทรงเรือนดั้งเดิมสู่รูปทรงในเรือนกลุ่มใหม่ ส่วนอีกด้านคือการพัฒนาการในผังเรือน พบว่าแม้รูปแบบและรูปทรงเรือนภายนอกโดยรวมจะแตกต่างกันแต่ลักษณะผังเรือน และการใช้สอยส่วนต่างๆยังคล้ายเดิม ทั้งนี้เนื่องจากความเชื่อด้านต่างๆที่ส่งผลมายังตัวเรือน เช่น ทิศการวางเรือนและการวางต่ำแหน่งพื้นที่ใช้สอยต่างๆ แนวโน้มของพัฒนาการเรือนพบว่ายังคงรูปแบบผังเรือนดั้งเดิมโดยมีขนาดและสัดส่วนเรือนที่ใหญ่โตขึ้น แต่ยังคงเป็นเรือนใต้ถุนโล่งมากกว่าจะเปลี่ยนเป็นเรือนใต้ถุนทึบ เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นอยู่และลักษณะสังคมเกษตรกรรมที่ยังเด่นชัด
การทดลองการออกแบบเรือนร่วมสมัย แยกเป็น 2 แบบ คือเรือนกะเลิงร่วมสมัยประเภทใต้ถุนโล่งสำหรับใช้เป็นตัวแทนกลุ่มเรือนที่มีการใช้งานแบบดั้งเดิม และเรือนประเภทใต้ถุนทึบสำหรับเรือนที่มีแนวโน้มความต้องการที่เพิ่มขึ้นและมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นแบบเมือง การนำเสนอแนวทางการสร้างสรรค์เรือนร่วมสมัยครั้งนี้เป็นการทดลองผสมผสานขัอมูลการศึกษาวิจัยกับแนวคิดการออกแบบ เพื่อสร้างอาคารพักอาศัยที่สะท้อนรูปแบบเรือนและเอกลักษณ์ของชุมชนได้ โดยสามารถตอบสนองต่อชีวิตและความเป็นอยู่ปัจจุบัน In order to design contemporary vernacular house, an in-depth study on identity needs to be conducted. Because each community is unique, each has its own set of characteristics that cannot be applied to others. Studying the development of vernacular houses can increase knowledge and understanding in both the physical and social aspects of houses. Moreover, this type of study is rarely performed. Results and knowledge from different areas of research are not often applied to the design process.
This study aims to explore the development of the vernacular Kaloeng house in Ban Nong-Nounw, mukdahan province. The objectives of this research are to understand the development of vernacular houses and the factors that governed it. The analysis of houses patterns is based on information from field surveys and statistics. The model of this research is based on three age groups of house, which are the new age group (0-30 years), the intermediate group (31-60 years), and the old age group (61-110 years).
From the study, it was discovered that the Kaloeng vernacular house is designed in the Ko-ei style, the same as the Isan Ko-ie house style, which can be found most in the intermediate group. The new-aged and the old age group appear similar in style. Because in the old age group, the houses have been renovated, repaired and changed many times throughout the years. As a result, the oldest houses are repaired with newly developed materials. The new materials and their long life cycles make houses from the youngest and oldest age groups appear to be similar.
The conclusion of this research are two obvious observations in the development of these vernacular houses. The first is the development of the house style, changed from the traditional style of the old age group to the new age group. The second one is the development in the plan pattern. From the study, the pattern stays the same while the house style has changed. Therefore, floor plan layouts and activities arrangements remained unchanged throughout the generations. Trend of development in plan pattern and space are still the same, but the house proportion and the size of used space tend to increase. However, it is also discovered that houses will still be built on stilts rather than have an enclosed lower floor. This is because of the agricultural lifestyle and local culture are still unchanged.
The result of this experimental design research of the Kaloeng contemporary houses can be divided into two styles: one is built on stilts which represents traditional style in the community, the other is enclosed in the lower floor which is designed for urban lifestyle with the need for more space. This possibility design intends to combine the results from research with alternative design methods. This research establishes the design guidelines of vernacular contemporary houses, which represent traditional identity and are also compatible with contemporary lifestyle.
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544 Thesis (M.Arch. (Architecture))--Silpakorn University, 2001
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
158
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การปฏิบัติตามบทบาทในการพัฒนาจิตใจประชาชนของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดมุกดาหาร
Collection: Theses (Master's degree) - Community Psychology / วิทยานิพนธ์ – จิตวิทยาชุมชนType: Thesisพระมหาสอนประจันทร์ เสียงเย็น; Sornprachan Siangyen (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2005) -
การปรับปรุงงานบริการตรวจสอบสินค้าด้วย Mobile X-Ray กรณีศึกษาด่านศุลกากรมุกดาหาร
Collection: วิทยานิพนธ์Type: Thesisประชา ศตสุข; Pracha Satasuk (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2010) -
การพัฒนาแบบฝึกเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ โดยใช้การสอนแบบเน้นภาระงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
Collection: Theses (Master's degree) - Teaching English/Teaching English as a Foreign / วิทยานิพนธ์ – การสอนภาษาอังกฤษ/การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศType: Thesisศักรินทร์ คนหมั่น (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559-12-14)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมการอ่านเชิงวิชาการ โดยใช้การสอนแบบเน้นภาระงาน ในรายวิชาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (อ30204) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ...