จินตนาการจากเครื่องจักสาน

Other Title:
Imagination from basketry
Author:
Advisor:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ หัวข้อเรื่อง จินตนาการจากเครื่องจักสาน วัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษา แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ด้านงานจักสานของไทยที่เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมสื่อผสม 3 มิติ ให้เป็นรูปทรงต้นกระบองเพชรตามจินตนาการ
ขอบเขตของการสร้างสรรค์แบ่งออกได้เป็น 2 ประการได้แก่ 1.ขอบเขตการสร้างสรรค์ ผลงานประติมากรรมลื่อผสมเรื่องจินตนาการจากเครื่องจักสาน จำนวน 7 ชิ้น ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยใช้เครื่องจักสานและวัสดุสังเคราะห์ประกอบกันขึ้นเป็นรูปทรงต้นกระบองเพชร 2. ขอบเขต การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้การสร้างผลงานประติมากรรมสื่อผสม เรื่อง จินตนาการจากเครื่องจักสาน ที่มีรูปทรงและสีสันสวยงามประทับใจผู้ชม โดยมีขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน คือ 1. การค้นคว้าข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ 2. การร่างแบบผลงาน 3. การเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน 4. การวิเคราะห์ผลงานก่อนวิทยานิพนธ์ 5. การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์
ผลงานการศึกษาและสร้างสรรค์ในครั้งนี้ข้าพเจ้านำข้อมูลมาวิเคราะห์และสร้างสรรค์ ผลงานตอบสนองแนวคิดจินตนาการส่วนตน รวมทั้งการแสดงออกของอารมณ์ความรู้สึกผ่าน เทคนิควัสดุอุปกรณ์เครื่องจักสาน และการค้นคว้า หาแนวทางสร้างสรรค์ด้วยการประยุกต์ใช้ เทคนิควัสดุต่างๆให้สอดคล้องกับโครงสร้างผลงาน เพื่อสร้างผลงานวิทยานิพนธ์โดยอาศัยรูปทรง ของต้นกระบองเพชรชนิดต่างๆ เป็นผลงานที่สมบูรณ์จำนวน 7 ชิ้น The study "Imagination from Basketry" aimed at studying ideas, and theory of creation of Thai basketry which was an inspiration for creating the three-dimensional multimedia sculptures in the shapes of imaginative cactus. The framework of creation is divided into twofold. The first is seven creative multimedia cactus shape sculptures on imagination of basketry and synthetic materials. The second is idea and theoretical framework, and data analysis which made the creative multimedia sculpture on imagination from basketry impressive. The procedure of the creation of the imaginative sculptures included 1) information gathering; 2) pattern design; 3) materials selection; 4) analysis of work prior to the creation; and 5) sculpture creation.
The outcome of the study and creation were derived from data analysis and the creation which was based on the researcher's ideas and imagination as well as mood and feelings that were expressed through basketry material techniques and research. The creation was also derived from application of various materials in accordance with the structure. Thus, this facilitated the creation of seven complete pieces of creative work of different cactus shapes.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (ทัศนศิลปศึกษา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557
Type:
Degree Name:
ศิลปมหาบัณฑิต
Discipline:
ทัศนศิลปศึกษา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [5]
Total Download:
362