โครงการออกแบบจิตรกรรมเพื่อติดตั้ง ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน จ.มหาสารคามเรื่องการแทรกซึมของความเจริญทางวัตถุในวิถีชีวิตชนบทอีสาน

Other Title:
Painting project for decoration at Northeast Institute of Arts and Culture Mahasalakram Province : penetration of material prosperity of E-San rural life
Author:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การออกแบบจิตกรรมเพื่อติดตั้ง ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒธรรมอีสาน เรื่อง “การแทรกซึมของความเจริญด้านวัตถุในวิถีชีวิตชนบทอีสาน” เป็นการนำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ที่ได้รวบรวมเนื้อหากระบวนการ และการวิเคราะห์ผลงานที่แบ่งเป็นขั้นตอนไว้ในแต่ละบท ตามกระบวนการพัฒนาความคิดและการส้างสรรค์ของวิทยานิพนธ์โดยช่วงก่อนวิทยานิพนธ์และช่วงวิทยานิพนธ์ ข้าพเจ้านำเสนอผลงานที่มีเนื้อหาและเรื่องราวเกี่ยวกับการแทรกซึมของความเจริญด้านวัตถุในวิถีชีวิตชนบทอีสาน เพื่อต้องการให้ผู้ชมได้เข้าใจและรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตในชนบท เมื่อเครื่องอำนวยความสะดวกที่เป็นวัตถุสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของคนในชนบทภาคอีสาน โดยข้าพเจ้านำกล่องบบรจุภัณฑ์ ถุงพลาสติกตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆทางด้านวัตถุ นำมาเสนอเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความเจริญด้านวัตถุที่เข้ามาแทรกซึมอยู่ในชนบทอีสาน โดยการสร้างสรรค์ผลงานนั้นได้ถ่ายทอดความรู้สึกของข้าพเจ้า ผ่านสภาพความเป็นจริงของบรรยากาศในชนบทอีสาน ที่มีสัญลักษณ์ของความเจริญด้านวัตถุปะปนอยู่ มาสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตกรรมด้วยเทคนิคการระบายสีอะครีลิกลงบนผ้าใบ
การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชุดนี้ ข้าพเจ้านำเอาสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน จังหวัดมหาสารคาม เป็นสถานที่ศึกษาในการติดตั้งผลงาน เพราะสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒธรรมอีสานนั้นเป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีตลอดการดำเนินชีวิตของคนในภาคอีสานและเป็นสถานที่ที่เก็บรวบรวมเครื่องมือใช้ในอดีตที่หาชมยากมาจัดแสดง เพื่อวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าชมและผู้มาติดต่อได้เรียนรู้และสัมผัสกับบรรยากาศจำลองของชุมชนบท ภาคอีสานในอดีต ดังน้นข้าพเจ้าจึงออกแบบผลงานการสร้างสรรค์และวิเคราะห์หาความเหมาะสม ตลอดจนความสอดคล้องของผลงานกับสถานที่ติดตั้งโดยคำนึงถึงขนาดและสัดส่วนของผลงานกับการติดตั้งเป็นสำคัญ โดยลักษณะของสถานที่นั้นเป็นอาคารที่มีแนวควมคิดในการสร้างมาจากสถาปัตยกรรมอีสานที่สร้างอาคารเป็นรูปแบบทรงไทยประยุกต์ แบ่งเป็น 4 ชั้น แนวความคิดในแต่ละชั้นก็จะแตกต่างกันไปตามส่วนพื้นที่จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ของคนในภาคอีสาน การออกแบบผลงานการสร้างสรรค์ข้าพเจ้าจึงออกแบบผลงาน จำนวน 8 ชิ้น ที่มีเนื้อหาเรื่องราวที่เกี่ยวกับการแทรกซึมของความเจริญด้านวัตถุในวิถีชีวิตชนบทอีสาน เพื่อให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแนวความคิดของสถานที่ในแต่ละชั้น เพื่อผู้ที่เข้ามาติดต่อราชการและเยี่ยมชมจะได้รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพวิถีชีวิตในชนบทภาคอีสานอันเนื่องมาจากการแทรกซึมของความเจริญด้านวัตถุ Printing decoration for installation in Northeast Institute of Arts and Culture, title “Penetration of the Material :Prosperity of E-San Rural Life” this project presents the creative work by accumulated substances, procedures and work analysis which divided into each part according to the development of concept process and thesis creative. I refer to previous thesis periodic and thesis periodic, I represent the project of the Material Prosperity of E-san Rural Life Penetration in order to generate the audience perceived and recognized to the changing of E-San rural life when the modern facilities become a role model into E-san people’s wellbeing. I conduct package box, plastic bag and facilities for presenting the growth of material symbol which penetrate into E-san people lifestyle. I also pass my self-expression through the real environment in rural area as E-san region that appear the combination of material growth to create painting decoration project by using acrylic on canvas painting technique.
I choose Northeast institute of Arts and Culture, MAHASALAKAM Province to be a sample place for this case study. Due to the reputation of Northeast Institute of arts and Culture, MAHASALAKAM Province which collect relevant details such as art, culture, tradition as well an E-san people livelihood. In addition, this institute also gathering the rear former tools for audiences to learning and touching environment imitating of former E-san rural regional. Therefore, I decide to generate the suitable for creating, analysis and harmonious through this project which is specific on side and proportion of the significant installation. The building appearance designed in E-san architecture, presenting modern Thai pattern which has 4 levels. The idea in each level will show the differential of area proportion to display E-san people’s tools. In this thesis, I contribute 8 pieces that contain penetration of the material prosperity of E-san rural life to matching up and relating to the idea in each level. The interested audience and viewer might to perceive the changing of people lifestyle in E-san rural area due to the penetration of the material prosperity. application/pdf
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (ประยุกตศิลปศึกษา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553
Type:
Degree Name:
ศิลปมหาบัณฑิต
Discipline:
ประยุกตศิลปศึกษา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
78