การศึกษาสถาปัตยกรรมวัดพิชัยญาติการาม

Other Title:
The study of architectural of Wat Pichayatikaram
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ เป็นการศึกษาสถาปัตยกรรมวัดพิชัยญาติการาม ซึ่งเดิมเป็นวัดร้างและมาสถาปนาวัดขึ้นใหม่ โดยสมเด็จพระบรมมหาพิชัยญาติ ในปี พ.ศ. 2384 ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ จากการศึกษาสถาปัตยกรรมวัดพิชัยญาติการาม บอกบริบทของช่วงเวลาการเกิดของสถาปัตยกรรมดังนี้
1. สภาพสังคมวัฒนธรรม เป็นระบบศักดินา มีชนชั้นมูลนายปกครอง มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ ในฐานะเครือญาติ และรับราชการเป็นขุนนางชั้นสูง มีอำนาจบารมี จากการดูแลกรมคลัง กำกับการเงิน การค้าและภาษีอากร การค้าขายกับจีน เป็นส่วนสำคัญในการเข้ามาของวัฒนธรรมจีนในช่วงเวลานั้น ที่แสดงออกมาทางศิลปะองค์ประกอบของวัด
2. การเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรม เนื่องจากเป็นวัดที่มีการใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน การบูรณะในช่วงหลังเกิดจากเครือญาติ และพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อมา ที่ปรากฎชัดคือ ในช่วงรัชกาลที่ 4 และรัชการที่ 5 จะเห็นได้ชัดจากศิลปสถาปัตยกรรมของวัด ที่รับอิทธิพลจากความนิยมของพระองค์ ที่มีลักษณะทางตะวันตกปรากฎอยู่ จากเดิมที่เป็นศิลปะแบบจีนซึ่งเป็นพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3
3. แนวคิดเหตุปัจจับที่ส่งผลต่องานสถาปัตยกรรม ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแสดงออกถึงความต้องการเป็นวัดประจำตระกูล โดยศิลปสถาปัตยกรรมเบื้องแรก ตามพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 คือ มีศิลปะจีนเข้ามาผสมผสานกับศิลปะสถาปัตยกรรมไทย และจากการที่ผู้สถาปนา เป็นแม่กองดูแลงานก่อสร้างถวายพระมหากษัตริย์ จากความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณะดูแลโดยพระมหากษัตริย์ในเวลาต่อมา เป็นเหตุให้งานสถาปัตยกรรมมีลักษณะผสมผสาน จากการก่อสร้างเพิ่มเติมที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ ลักษณะไทย จีน และตะวันตก แสดงให้เห็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง และความสามารถของช่างในยุคต่อ ๆ มา
สุดท้าย ผู้ศึกษาพบว่า การศึกษาสถาปัตยกรรมวัดพิชัยญาติการาม เป็นการศึกษาที่สะท้อนให้เห็นการสร้างสรรค์ที่เกิดจากบริบทของยุคสมัย และการผสมผสานวัฒนธรรมที่แตกต่างกันให้กลมกลืนกันได้ This thesis has the main direction to explore architectures of Wat Pichayatikalam and found that Wat Pichayatikaram, in the past, was abandoned until approximately 1841, the land of King Rama III of early Rattanakosin, Wat Pichayatikalam was renovated again. From the study context and architectures of Wat Pichayatikalam found that:
1. The condition of society and culture at that time was under the noble hierarchy (the status in terms of land) and governed by the King. Somdej Chao Phraya Maha Pichaiyat related closely with the King in the status of kinship. In addition to he was a noble bureaucrat who held responsibilities especially supervised Treasure House, trading and duty. Most goods traded with Chinese, consequently, Chinese cultures flowed into Rattanakosin which was expressed in the elements of architectures of Wat Pichayatikalam.
2. Changing of architecture because Wat Phichayatikalam has been used. So that, renovating was always arranged by kinship and the king. From evidences found that had renovated both in the land of King Rama IV and V. This point was supported by changing of the elements of architectures from Chineses influence-prosperity in King Rama III – to Western influence in land of King Rama IV and V.
3. The concept of the present, the architectures should have expression as architecture of family. Especially, the original style of architecture which blended between Chinese art and Thai art-architecture. According to the contributor Wat Pichayatikalam as the constructional chief of the King followed the kinship system. As a result, Wat Pichayatikalam was renovated by the king later, and this caused of cultural blending-Chinese, Thai, and West-of the architectures of Wat Pichayatikalam.
In conclusion, the study emphasized on the architectures of Wat Pichayatikalam indicates creation and cultural blending that follows the context harmoniously.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
100