การศึกษาภาพสัญลักษณ์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุ 6-9 ปี

Other Title:
A study of visual symbol for children 6-9 years
Author:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาหาแนวทางการออกแบบภาพสัญลักษณ์ที่เหมาะ สมสำหรับเด็กอายุ 6-9 ปี เพื่อแสดงข้อมูลและเงื่อนไขต่าง ในกรณีแผ่นไหวที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างเพื่อทำการ สื่อสารเพื่อให้ กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าใจได้ง่าย เนื่องจากเด็กในวันนี้มีอายุค่อน ข้างน้อย สมาธิสั้น การที่จะสื่อสารให้เด็กวัยนี้เข้าใจจึงจำเป็นที่จะต้องทำสื่อให้น่าสนใจ และดึงดูดเด็กเป็นอย่างมาก รวมทั้งปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกของเด็กบางคนจึงทำให้เด็กไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง หรืออาจไม่เข้าใจความหมายของภาพที่สื่อสาร จนทำให้เกิดอันตรายจากการที่ไม่รู้ได้
การศึกษาหาแนวทางการออกแบบ มีวิธีการวิจัย โดยการเก็บข้อมูลทางเอกสารและคู่มือทางภาคสนามที่เกี่ยวข้องในเรื่องหลักการออกแบบภาพสัญลักษณ์ พฤติกรรม การรับรู้ หลักจิตวิทยาของเด็ก ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และข้อมูลจากแบบสอบถาม การพูดคุยประกอบกับแบบทดสอบจากแบบร่างต้นแบบ (sketch Design) เพื่อศึกษาเรื่องการรับรู้และความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทำการสรุปผลปและประเมินผลการออกแบบร่วมกับผู้เชี่ยว และปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ผลการออกแบบภาพสัญลักษณ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ในการทำวิจัยจะเลือกทำการออกแบบในแต่ละกรณีดังนี้
1. ภาพสัญลักษณ์กรณีที่ 1 : เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ให้มุดลงใต้โต๊ะ
2. ภาพสัญลักษณ์กรณีที่ 2 : เมื่อแผ่นดินไหวสงบ ให้รีบออกจากตัวอาคาร
3. ภาพสัญลักษณ์กรณีที่ 3 : เดินออกนอกตัวอาคารอย่างเป็นระเบียบ
4. ภาพสัญลักษณ์กรณีที่ 4 : ให้ไปรวมกลุ่มกันที่จุดรวมพลหรือจุดปลอดภัย (ที่ โล่ง)
ผลการวิจัยสามารถสรุปแนวทางการออกแบบได้ดังนี้ 1. เส้น: ส่วนใหญ่เด็กจะชอบภาพที่มี ลายเส้นปานกลางไม่ใหญ่มาก มีความชัดเจนของเส้น ไม่ซับซ้อน 2. การจัดวางภาพ : ชอบภาพที่มีขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่ใกล้เคียงกัน มองเห็นง่าย ไม่ชอบภาพขนาดเล็ก 3. สี : ชอบการลงสีแบบแรเงา สมจริง มีลักษณะแบบการ์ตูนสมัยใหม่ ชอบสีที่มองเห็นชัดเจน สะดุดตา
ในงานวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบกับเด็กด้วยภาพสัญลักษณ์ที่เป็นรูปสัตว์มากที่สุด แต่ ทั้งนี้ การรับรู้ภาพสัญลักษณ์ของเด็กจะต้องได้รับการอธิบายความหมายของภาพจากครู หรือผู้ใหญ่เสียก่อน เนื่องจากว่าภาพสัญลักษณ์นี้เป็นเพียงแนวทางการออกแบบใหม่ซึ่งไม่ได้เป็นรูปแบบสากล จึงจำเป็นต้องเลือกสถานที่ในการนำไปใช้ ส่วนในอนาคตป้ายสัญลักษณ์สำหรับเด็กอาจจะเกิดขึ้นจริง ซึ่งจะต้องออกแบบให้เหมาะสมและสอดคล้องตามสถานการณ์และสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง นักออกแบบสมัยใหม่ที่สนใจอาจจะนำแนวทางจากงานวิจัยชิ้นนี้มาใช้เป็นแนวทางหรือเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบได้ This research aims to find the guideline for designing visual symbol appropriate for children at the age of 6-9. This is to represent the information and conditions of sample case of earthquake in order to communicate to target group for easier understanding. Since children of this age are young and they lack of concentration, to communicate with these children successfully, one must make the media interesting and very attractive. Moreover, some children cannot read, so they do not receive correct information or they might misunderstand the meaning of the image. This might cause danger due to misunderstanding.
In the study to find designing guideline, documents and manuals related to visual symbol design, behavior, cognition, child psychology, earthquake information, survey data, interview, and the test from sketch design were collected. This is to study on cognition and understanding of the target group. Conclusion and evaluation were conducted collectively with experts. The test was revised to make the visual design applicable. In the research, the design for each ease was chosen as follows.
1. Visual symbol for case 1: When earthquake occurs, duck under the table immediately.
2. Visual symbol for case 2: When earthquake stops, leave the building quickly.
3. Visual symbol for case 3: Walk out of the building orderly.
4. Visual symbol for case 4: Gather at rendezvous point or safe point (open space)
From the result, the designing guideline can be concluded as follows:
1.Line: Children like medium-size line, not very thick. The line must be clear and not too complex. 2. lmage alignment: They like medium and big pictures at similar size, which can be clearly seen. They do not like small picture. 3. Color: They like shading and realistic paint like modern cartoon style. They like that colors that are distinct and outstanding.
In this research, the test was conducted with children using different visual symbols. In result, children mostly responded to animal symbols. However, about visual symbol cognition, the children must be explained by their teachers or adults to understand the meaning because these symbols are new designing guideline, which might not be universal. Therefore, one must choose the place to apply. In the future, visual symbols for children might be available. One must design properly corresponding to the situation and practically. lnterested modern designers might apply the methods from this research as guideline or inspiration in your design.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
Collections:
Total Download:
1000