สถาปัตยกรรมต่อขยาย : กรณีศึกษาการต่อขยายของสถาปัตยกรรมอยู่อาศัยริมน้ำเกาะเกร็ด

Other Title:
Expansion architecture : a study of Koh Ked waterfront expansion architecture
Advisor:
Subject:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาการต่อขยายของพื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรมอยู่อาศัยริมน้ำเกาะเกร็ด เพื่อรองรับและตอบสนองการใช้สอยที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเกิดเนื่องจากเหตุปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบกับรูปแบบวิถีชีวิตของคนไม่ว่าจะเป็นความหนาแน่นที่เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว การเกิดน้ำท่วมตามฤดูกาล จากเหตุปัจจัยเหล่านี้ได้ เกิดเป็นประเด็นในการตั้งคำถามที่ว่า “สถาปัตยกรรมนั้นจำเป็นต้องหยุดนิ่งอย่างนั้นหรือไม่ ? จะสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเพื่อก่อให้เกิดพื้นที่ว่างใหม่ ภายใต้ขอบเขตที่จำกัดของที่ว่างเดิม เพื่อรองรับความต้องการการใช้สอยที่เปลี่ยนแปลงของผู้อยู่อาศัยได้รึไม่ ?”
โดยแนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมต่อขยายได้เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกิดปัญญหาขึ้นในพื้นที่ แล้วนำมาวิเคราะห์และหาความต้องการที่เกิดขึ้น ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องของปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ว่างซึ่งเกิดเป็นชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ถาวร เช่น ความหนาแน่นของคนที่เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของความต้องการพื้นที่ การเกิดน้ำท่วมตามฤดูกาลที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบวิถีชีวิตของผู้พักอาศัยอย่างชัดเจน และจากประเด็นเหล่านี้ได้ทำการศึกษาออกแบบทดลองเพื่อหาแนวทางในการออกแบบการต่อขยายพื้นที่ว่างเดิม ตามเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนการใช้งาน โดยอาศัยกระบวนการออกแบบการทดสอบสถาปัตยกรรม ซึ่งบทสรุปของแนวความคิด มุ่งเน้นที่จะเป็นแนวทางของการออกแบบการต่อขยายทางสถาปัตยกรรมที่รองรับการใช้งานเมื่อเกิดต้องการการใช้สอยและสามารถเปลี่ยนกลับคืนเป็นเหมือนเดิมเมื่อไม่ต้องการได้ The objective of this thesis is to study possibility of using architectural design to create additional space for dwelling structures on water in koh ked so as to support and meet usage demands which occur as a result of environmental factors that impacts way of life of people. These factors include occasionally increase in population density and seasonal flood etc. These problems lead to a question “Has architectural technology stopped its improvement? Can it improve characteristics of architectural elements so as to create additional space under the limitation of the existing space and meet the needs of dwellers?”
The concept of using architectural design to create additional space started from gathering information of problems occurred in the area, analyzing the problems and determining actual demand. One of the interesting points found was that the need for additional space is temporary. For example, increase in population density would only occur once in a while as a result of seasonal flood and reduction in available area. This problem would lead to distinct change in the way of life of dwellers. These points were thoroughly studied so as to determine approaches to create additional space under the limitation of existing area according to the factors that impact the usage need. The approaches would rely on architectural design and testing process and emphasize on creating space for dwelling structures so as to support and meet usage demands when needed and can turn the dwelling structure back to its normal condition when the need is gone.
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554
Type:
Degree Name:
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สถาปัตยกรรม
Spatial Coverage:
เกาะเกร็ด (นนทบุรี)
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
253