Le Siam dans le voyage autour du monde : Java, Siam & Canton du Comte Ludovic de Beauvoir

Other Title:
ประเทศสยามในหนังสือเรื่องวัวยาช โอดูร์ ตู มงต์ : ชวา สยาม และกวางตุ้ง ของ เลอ กงต์ ลูโดวิก เดอ โบวัวร์
Author:
Subject:
Date:
2010
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
วัวยาช โอตูร์ ดูมงด์ ชวา สยาม และกวางตุ้ง ของ เลอ กงต์ ลูโดวิก เดอ โบวัวร์ เป็นเรื่องเล่าประกอบการเดินทาง ผู้แต่งได้เล่าสิ่งที่เขาพบตลอดการเดินทางของเขา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ (เหตุการณ์ต่างๆ ผู้คน ชีวิตประจำวันและอื่นๆ ) แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้เลือกศึกษาเฉพาะส่วนที่กล่าวถึงประเทศไทยหรือสยามในสมัยนั้นเท่านั้น ช่วงเวลาที่เขาอยู่ที่สยามนี่แค่เพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น คือตั้งแต่วันที่ 11 ถึง 18 มกราคม พ.ศ. 2410 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเดินทางมายังกรุงเทพฯ แห่งสยามประเทศครั้งนี้ถือว่าอยู่นอกเส้นทางการเดินทางหลักของเขา
จุดประสงค์งานวิจัยนี้ก็เพื่อวิเคราะห์งานเขียนของโบวัวร์ที่มาในฐานะนักท่องเที่ยวและอาจเรียกได้ว่าเป็นนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสคนแรกแห่งประเทศสยามโดยเปรียบเทียบกับนักเขียนร่วมสมัยอันได้แก่ ฌอง บัพติสต์ ปาเลอกัวส์ อาเมเด่ เกร์อ อง และอองรี มูโอต์ นอกจากนั้นผู้วิจัย ยังได้ศึกษาวิธีการเขียน เช่น การใช้ภาพพจน์ คำศัพท์ น้ำเสียง เป็นต้น และท้ายที่สุดได้ศึกษาสถานะภาพของโบวัวร์ ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างฝรั่งกับสยามที่กาลังถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคม
วิธีวิจัยที่ใช้สำหรับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ คือ ศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อ มูลจากหนังสือภาษาไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส ตามห้องสมุดต่างๆรวมทั้งการค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต
การวิจัยนี้ทำให้เราเข้าใจประเทศสยามในบริบทต่างๆได้ดียิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาตร์ สังคม การเมือง ผ่านหนังสือเล่มนี้ ความคิดเข้าใจของโบวัวร์ต่อสิ่งที่เข้าพบเห็นนั้นไม่เพียงจะแตกต่างจากผู้วิจัยและผู้อ่านหลายๆคนเท่านั้นแต่ยังต่างจากนักเขียนร่วมสมัยท่านอื่นๆ อีกด้วย หนังสือเล่มนี้ได้ เผยให้เห็นรสวิธีของผู้เขียนด้วยสิ่งที่เขาเล่าเกี่ยวกับชาวสยามและประเทศสยามอย่างน่าสนใจและตรึงผู้อ่านได้อย่างดี Le « Voyage autour du monde : Java, Siam, Canton » du comte Ludovic de
BEAUVOIR est un récit de voyage. L’auteur raconte ce qu’il a vu au cours de son
périple : réalités géographiques et historiques (évènements, habitants, vie quotidienne,
etc.). Nous nous sommes intéressés à une seule partie de son Voyage autour du
monde : celle relatant son séjour au Siam. Le séjour ne dura qu’une semaine, du 11 au
18 janvier 1867. Considéré comme un détour hors de leur véritable circuit, cette petite
escapade de Ludovic de BEAUVOIR le mena lui et sa petite équipe à Bangkok sous
le règne de Rama IV
Le but de notre recherche est tout d’abord d’analyser l’ouvrage de
BEAUVOIR, en tant que touriste, voire le premier touriste français au Siam, en le
comparant avec ses contemporains : Jean-Baptiste PALLEGOIX, Amédée GREHAN
et Henri MOUHOT. Ensuite nous analysons son style, lexique et ton employé. Enfin,
nous nous replaçons dans ce récit pour voir de quelle manière BEAUVOIR se
comporte en plein litige franco-siamois, et devant le Siam souffrant de la menace de
la colonisation.
Ce mémoire nous permet de mieux comprendre le contexte historique, social
et politique du Siam à cette époque. La conception de notre auteur est forcément
originale et diffère non seulement de notre point de vue mais aussi du point de vue de
ses contemporains. Il nous révèle les goûts de cet homme, le contexte dans lequel il
évolue mais aussi ses connaissances et ses lectures. Ce qu’il raconte au sujet des
Siamois et de la Thaïlande ou Siam à cette époque-là a vraiment retenu notre
attention.
Description:
Thesis (M.A. (French for Cultural Tourism ))--Silpakorn University, 2010
Type:
Degree Name:
Master of Arts
Discipline:
French for Cultural Tourism
Rights Holder:
Silpakorn University
Collections:
Total Download:
168