เทคนิคเชิงช่างงานประติมากรรมปูนปั้นและดินเผาที่ใช้ในการประดับศาสนสถานสมัยทวารวดี

Other Title:
Technical workmanship of stucco and terracotta architectural decorative art of dvaravati period
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงเทคนิควิธีการสร้างสรรค์งานประตอมากรรมปูนปั้นและดินเผาในช่วงสมัยทวารวดี เนื่องจากเป็นช่วงวัฒนธรรมที่เริ่มปรากฏมีการสร้างงานศิลปกรรมเพื่อประดับศาสนสถานอย่างจริงจัง โดยทำการศึกษาขั้นตอนต่างๆ เริ่มตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบก่อนการทำงาน การสร้างงานประตอมากรรมจนถึงการติดตั้งงานประติมากรรมประดับกับศาสนสถาน โดยการนำเอากระบวนการทางวิทยาศาสตร์คือศิลาวรรณนาเข้ามาใช้เพื่ออธิบายการเตรียมส่วนผสมและวัตถุดิบต้นกำเนิดที่พอจะพบได้ในตัวอย่างโบราณวัตถุร่วมกับการศึกษาด้วยการทดลองปฏิบัติเพื่ออธิบายเทคนิคการสร้างงาน
จากแหล่งโบราณคดีที่ศึกษาทั้ง 8 แห่ง ได้แก่เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โบราณสถานทุ่งเศรษฐี จังหวัดเพชรบุรี วัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี โบราณสถานโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี และเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลการศึกษาสรุปได้ว่างานประติมากรรมดินเผาจากแหล่งโบราณบางแหล่ง เช่น เมืองศรีเทพ และเมืองอู่ทองนั้นมีลักษณะของการใช้เครื่องมือและวิธีการทำที่แตกต่างที่บ่งบอกลักษณะเฉพาะของตนเองได้ เป็นต้น ซึ่งแสดงว่าช่างปั้นของท้องถิ่นนั้นๆ มีวิธีการสร้างงานตามความคิดของตนเอง The objective of this thesis is to study technique of creative stucco and terracotta of decorative arts in Dvaravati period, which id the first period of creative arts for decorating religious building.
This study focused on the process of work starting from the material preparation, the making of the creative sculpture and the sculpture on religious building. In order to explain the mineral component of these stucco and terracotta sculptures, the thin section analysis (Petrography) is utilized. The experiment is also used to describe the technique of workmanship sculpture as well as installation sculpture for decorate religious monument.
Analytical study of stucco and terracotta sample from 8 archaeological sites, namely Ancient Nakhonpathom (Nakhonpathom province), Kubua (Ratchaburi province), U-thong (Supanburi province), Tung-sretti (Petchaburi province), Wat Nakhinkisa (Lopburi province), Kokmaiden (Nakhinsawan province), Sri-mahosot (Prachinburi province) and Sri-thep (Petchaboon province), led to conclusion that terracotta sculpture from some archeological sites such as Sri-thep and Uu-thong showed traces of some tools and some techniques which indicated the characteristic of their local workmanship.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Temporal Coverage:
สมัยทวาราวดี
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
114