โบราณคดีเมืองโบราณพิชัย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

Other Title:
Archaeology of ancient Phichai town, Uttaradit province
Advisor:
Subject:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาทางโบราณคดีที่เมืองโบราณพิชัย เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการการอยู่อาศัยและการใช้พื้นที่ภายในตัวเมือง, ศึกษาถึงรูปแบบการก่อสร้างกำแพงเมืองและคูเมือง, ศาสนา, และความสัมพันธ์กับชุมชนภายนอก
ในการศึกษาโดยการสำรวจทั้งภายในตัวเมืองและรอบนอกตัวเมือง และขุดค้นทางโบราณคดีจำนวน 2 หลุม ขุดตรวจกำแพงเมืองอีก 1 หลุม จึงนำหลักฐานที่ได้จากการสำรวจและขุดค้นร่วมกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์ปัญหาในข้างต้น
จากการศึกษาเมืองโบราณพิชัยพบหลักฐานทางโบราณคดีดังเช่น เครื่องสังคโลกจากแหล่งเตาเกาะน้อย เตาป่ายาง และเตาสุโขทัย เครื่องถ้วยจีนทั้งสมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง หลักฐานทางโบราณสถานเจดีย์ประธานย่อมุมไม้สิบสอง วัดมหาธาตุ ศิลปวัตถุ เช่นพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดหน้าพระธาตุ พระพุทธรูปสำริด วัดหน้าพระธาตุ
จากการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเมืองโบราณพิชัยมีพัฒนาการอยู่อาศัยอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 24 โดยแบ่งช่วงการอยู่อาศัยออกเป็น 2 ช่วงคือช่วงก่อนการสร้างกำแพงเมืองมีอายุร่วมสมัยสุโขทัย ช่วงการสร้างกำแพงเมืองสมัยอยุธยา โดยมีลักษณะการใช้พื้นที่ภายในตัวเมืองคือชุมชนแรกเริ่มจะมีการอยู่อาศัยบริเวณทางด้านทิศตะวันตกของเมืองติดแม่น้ำ และในสมัยอยุธยาจึงได้มีการขยายเมืองไปทางด้านทิศตะวันออกและก่อกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบเป็นหัวเมืองชั้นตรีมีขุนนางระดับพระยาปกครอง
ลักษณะของกำแพเมืองและคูน้ำจะมี 2 ชั้น กำแพงเมืองสร้างด้วยดินโดยการขุดดินจากคูน้ำขึ้นมาถมจนกลายเป็นคันดินกำแพงเมือง
พบร่องรอยการติดต่อสัมพันธ์กับเมืองพิษณุโลก สุโขทัยและศรีสัชนาลัย To study the cultural development of ancient communities at Phichai and hoe the ancient people used the land inside Phichai, the structure of city wall and moat, religion and the relation with the other cities outside.
For the studying, I surveyed the space both inside and outside and excavated for 2 pits and 1 pit at the city wall. After that, I studied all archaeological evidences with the historical evidences to analyze the problem.
The important evidences from Phichai ancient town as Sungkalok wares from Koh Noi, Koh Yang and Sukkhothai kilns, Chinese celadon in Yuan, Ming and Ching dynasties, the pagoda in Sukkhothai period at Mahathat temple, Large Buddha image (Luang Por To Buddha) from Na Mahathat temple and the other Buddhas.
From analyzing all archaeological evidences, the developed time of Phichai town was in 14 – 19 A.D., being divided to be 3 times. The first one was before building the wall in Sukkhothai to Ayutthaya periods. The people used the western side of the town near river for living. The second one was in Ayutthaya period. The people in this time expanded the town to eastern side and built the wall and the moat. The Phichai town was governed by Praya, being the third level town in Ayutthaya period. The last one was in Thonburi to early Ratthanagosin periods.
There were 2 layers of the city wall and moat. The city wall was built from soil, from the moat.
There were the relational traces with Phisanulok, Sukkhothai and Srisutchanalai.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Spatial Coverage:
พิชัย (อุตรดิตถ์)
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
351
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การคาดคะเนความสูงและเพศของบุคคลจากรอยพิมพ์ฝ่าเท้าในกลุ่มประชากรไทย กรณีศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดแพร่
Collection: Theses (Master's degree) - Forensic Science / วิทยานิพนธ์ – นิติวิทยาศาสตร์Type: Thesisวรารัตน์ ก่อเกิด; Wararat Kowkerd (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011) -
แนวทางการจัดการโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์
Collection: วิทยานิพนธ์Type: Thesisนิสา พิมพิเศษ; Nisa Pimpises (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011)วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินสภาพทางกายภาพของโบราณสถาน วิเคราะห์สภาพปัญหา และเสนอแนวทางการจัดการโบราณสถาน ในจังหวัดอุตรดิตถ์ การประเมินสภาพทางกายภาพของโบราณสถาน พบว่าปัญหาการจัดการโบราณสถานในพื้นที่ศึกษา ... -
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กับพื้นที่กิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษา อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
Collection: Theses (Master's degree) - Urban Design and Planning / วิทยานิพนธ์ - การออกแบบและวางผังชุมชนเมืองType: Thesisธเนศ ปัญญาดี (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2016)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของเมืองลับแลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 2.ศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิดและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ...