การใช้พื้นที่แหล่งศาสนสถานแบบเขมรในเมืองเก่าสุโขทัยในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 จากการขุดค้นทางโบราณคดี

Other Title:
Sequential land-used at the Khmer sanctuaries of the ancient town of Sukhothai prior to the 19th century CE., based on archaeological excavation
Advisor:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการใช้พื้นที่แหล่งศาสนสถานแบบเขมรในเมืองเก่าสุโขทัย โดยการขุดค้นและวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่ประชิดตัวปราสาท 3 แห่ง ได้แก่ ศาลตาผาแดง วัดพระพายหลวง และวัดศรีสวาย เพื่อทราบถึงประวัติและอายุสมัยของการใช้พื้นที่ตั้งแต่ก่อนการสร้างจนถึงการทิ้งร้าง ปรากฏผลการศึกษาดังนี้
1.ช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 ปรากฏร่องรอยการเข้ามาอยู่อาศัยหรือประกอบกิจกรรมในพื้นที่มาก่อน โดยกำหนดอายุจากเศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซุ่งเหนือ-ซุ่งใต้ ซึ่งขุดพบในในชั้นดินที่อยู่ใต้ชั้นทรายถมทำฐานรากปราสาท
2.พบหลักฐานร่วมกับชั้นการก่อสร้างปราสาท บ่งบอกอายุการสร้างดังนี้ ศาลตาผาแดง น่าจะสร้างราวครึ่แรกพุทธศตวรรษที่ 18 วัดพระพายหลวง น่าจะสร้างราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 18 และวัดศรีสวาย น่าจะสร้างราวครึ่งแรกศตวรรษที่ 19
3.พบหลักฐานเทคนิควิธีการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมเพิ่มเติมคือ มีการเตรียมฐานรากปราสาท ด้วยการขุดหลุมแล้วถมบดอัดทรายสลับชั้นหิน สำหรับที่วัดพระพายหลวงพบว่าฐานไพทีปราสาทมิได้เป็นฐานบัวลูกฟักตามระเบียบงานก่อสร้างปราสาทเขมรแต่อย่างใด และยังพบชุดเครื่องมุงหลังคาดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีเขียวมะกอก (จากแหล่งเตาบ้านเกาะน้อยรุ่นต้น) ได้แก่ กระเบื้องกาบกล้วย กระเบื้องเชิงชาย และบราลี ซึ่งน่าจะมีอายุร่วมสมัยกับระยะแรกสร้างปราสาท
4.พบหลักฐานใหม่และข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญ ได้แก่ เตาหลอมสำริดที่ศาลตาผาแดง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 กลุ่มภาชนะดินเผาบรรจุอัฐิที่วัดพระพายหลวง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 ดอกไม้ใบไม้และชิ้นส่วนทองคำที่วัดศรีสวาย ซึ่งน่าจะเป็นวัตถุมงคลทางศาสนาหรือเป็นสิ่งของอุทิศในพิธีกรรมปลงศพ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-21
5.การใช้พื้นที่แหล่งศาสนสถานแบบเขมรยังคงสืบเนื่องต่อมา ก่อนที่เมืองถูกทิ้งร้างไปในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ตามปรากฏจากหลักฐานเศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงซึ่งพบอยู่ในชั้นดินทับถมระยะสุดท้าย The purpose of the research is to figure out the sequential habitation and land use at three ancient Khmer styled sanctuaries ; namely, San Ta Pha Daeng, Wat Phra Phai Luang and Wat Si Sawai, located in the ancient town of Sukhothai. Three test pits were excavated ; one for each site. These finding obtained.
1. The first habitation and land use of the sites dated to the 12-13 century CE is based on finds from the layer under the sandy earth fill of the monument’s base; i.e. sherds of the Chinese Northern and Southern Song.
2. Finds from the layer of constructing monuments suggest that San Ta Pha Daeng was built in the late 12 century CE, Wat Phra Phai Luang the early 13 century CE and Wat Si Sawai the late 13 century CE.
3. Technique of consolidation of the monument’s base is to burying sand and gravesls, places alternately, layer-by-layer, in the ground before their basements were constructed. It is noticeable that the upper base of Wat Phra Phai Luang sanctuary did not follow the base form of the Khmer style and also found element of roof decoration; roof tiles, antefixes and finials made of green glazed stonewares (early Ko Noi kiln cluster) which were supposed to be contemporary with early phase of the monument.
4. New discoveries from excavations are as follows: a trace of bronze casting furnace at San Ta Pha Daeng, dated to the 14 century CE; group of burial jars at Wat Phra Phai Luang, dated to the 14-15 cetury CE; and some gold leaves of Wat Si Sawai, probably a monastery’s offering or a part of mortuary practice, dated to the 14-16 century CE.
5. Sherds of the Chinese Ming dynasty were found from the last layer confirm that the Khmer styled sanctuaries were functioned until the early 17 century CE.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Spatial Coverage:
ก่อนพุทธศตวรรษที่ 24
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
322
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
สุโขทัยในความทรงจำ : การสร้างสรรค์ศิลปะสื่อผสมเพื่อตกแต่งโรงแรมสุโขทัยเทรเซอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา
Collection: Theses (Master's degree) - Applied Art Studies / วิทยานิพนธ์ - ประยุกตศิลปศึกษาType: Thesisวัสนี เอี่ยมวชิรากุล; Wasanee Iamwachirakul (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014)วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานสื่อผสม เพื่อตกแต่งโรงแรมสุโขทัยเทรเซอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย ในการดำเนินงานสร้างสรรค์วิทยานิพนธ์ ผู้วิจัยได้รวบรวมศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่เกี ... -
พฤติกรรมและผลจากการใช้เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
Collection: Theses (Master's degree) - Development Education / วิทยานิพนธ์ - พัฒนศึกษาType: Thesisชลธิชา จุ้ยนาม; Chonticha Juinam (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014) -
การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมสุโขทัย กรณีศึกษาวัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย
Collection: Theses (Master's degree) - History of Architecture / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมType: Thesisวิโรจน์ ชีวาสุขถาวร; Wiroj Shewasukthaworn (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2002)การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย โดยอาศัยวัดมหาธาตุ จ. สุโขทัย เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากวัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญที่สุดภายในเมืองสุโขทัย เป็นสถานที่ที่รวบรวมสถ ...