โบราณสถานเขาคลังนอก : ลำดับอายุสมัยและแนวคิดในการก่อสร้าง

Other Title:
Chronological sequence and concept on the building of Khao Khlang Nok
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะทำการจัดเรียงลำดับสมัยและศึกษาแนวคิดในการก่อสร้างโบราณสถานเขาคลังนอก มหาสถูปแห่งเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากการขุดศึกษา
เจดีย์ประธานเมื่อปีพ.ศ. 2551 ร่วมกับข้อมูลใหม่จากขุดการศึกษาเจดีย์บริวารในปีพ.ศ. 2557
ผลจากการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้
1. โบราณสถานเขาคลังนอกมีการก่อสร้างในช่วงสมัยที่สำคัญ 2 สมัย คือ 1) สมัยแรกสร้าง เจดีย์
ประธานและเจดีย์บริวาร อาจสร้างขั้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-15 และ 2) สมัยที่มีการซ่อมแปลงให้เจดีย์ประธานหันหน้าไปยังทิศตะวันตก อาจเกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-19 ก่อนที่จะทิ้งร้างไปในช่วงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 เช่นเดียวกับเมืองศรีเทพ
2. แนวคิกในการก่อสร้างทั้ง 2 สมัย คือ 1) มีการเลือกที่ตั้งในพื้นที่ที่สามารถสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ได้และมีความสัมพันธ์กับแกนทิศของโบราณสถานอื่นๆ รวมทั้งมีลักษณะมณฑลจักรวาลของพุทธศาสนามหายานปรากฎในแผนผังของเจดีย์ประธานและแผนผังรวม และ 2) มีการให้ความสำคัญกับทิศตะวันตกอย่างมาก ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการนับถือพระอมิตาภะและสวรรค์สุขาวดี รวมทั้งเขาถมอรัตน์
3. โบราณสถานเขาคลังนอกอาจเป็นตัวแทนของความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้าและศาสนาของเมืองศรีเทพในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-15 เนื่องจากเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ทรัพยากรในการสร้างสูงและมีความซับซ้อนทางด้านแผนผังมากที่สุดในสมัยทวารวดี The objectives of this dissertation are to sequence and study the construction concepts of Khao Khlang Nok stupa, Sri Thep ancient town, Petchaboon province. The study puts forward and analysis based on the data from the excavation of the main stupa in 2008 together the new data from the excavation of subsidiary stupas in 2014.
The results of the study can be outlined as follows:
1. There were two main construction periods of Khao Khalang Nok stupa: 1) the main site,
the main stupa and the subsidiary stupas may be constructed during 9-10 century CE 2) The main stupa may be restored to face east during 10-13 century CE and was abandoned before 14 century CE like the town of Si-Thep.
2. The construction concepts of the two periods are: 1) the location was chosen in order to
build a large religious place and related the direction of other historical sites. Also, the overall plan and the plan of the main stupa depict the concept of mandala in Mahayana Buddhism. 2) A great emphasis is placed on the west. This may be related to the worship of Amitabha Buddha and Thamorat sacred mountain.
3. Khao Khlang Nok stupa may represent the prosperity of Si-Thep ancient town in terms of
trading and religion during 9-10 century CE as it is a large site and requires a great deal of resources in the construction process. Plus, the plan is by far the most complex in Dvaravati period.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Spatial Coverage:
เขาคลังนอก (เพชรบูรณ์)
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
297