การศึกษาวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Other Title:
An analysis of khmer folktales of Si Sa-At Sub-District, Khukhan District, Si Sa Ket province
Author:
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดจำแนกประเภทนิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นตำบลศรีสะอาด ไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อเก็บไว้ให้เป็นมรดกสำหรับอนุชนรุ่นหลังต่อไป เพื่อวิเคราะห์เนื้อหานิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นที่สะท้อนวิถีชีวิต คติความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนคติธรรมและหลักคำสอนต่าง ๆ เพื่อแปลนิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นตำบลศรีสะอาดเป็นภาษาไทย ซึ่งจะทำให้นิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นตำบลศรีสะอาดได้เป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไป และเพื่อเป็นแนวทางอนุรักษ์ ส่งเสริม ให้อนุชนรุ่นหลังเห็นคุณค่าและประโยชน์ของนิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ในการเก็บข้อมูลนิทาน ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากทุกหมู่บ้านในตำบลศรีสะอาด ซึ่งรวบรวมนิทานได้ทั้งหมด จำนวน 106 เรื่อง ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นแรกผู้วิจัยถ่ายทอดเสียงนิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นจากแถบบันทึกเสียง ขั้นที่สองแปลนิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นเป็นภาษาไทย ขั้นที่สามจัดจำแนกประเภทของนิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นที่รวบรวมได้ตามทฤษฎีรูปแบบ (Form) และขั้นที่สี่นำนิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นที่จัดประเภทแล้วมาวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. นิทานที่พบมากที่สุดคือนิทานตลก ประเภทที่พบน้อยที่สุดคือนิทานเข้าแบบประเภทลูกโซ่ นิทานเข้าแบบประเภทไม่รู้จบ และนิทานเทพนิยาย
2. นิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นศรีสะอาดสะท้อนสภาพสังคมและสภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านในตำบลศรีสะอาด 11 ประการ คือ สภาพที่ตั้ง สภาพองค์ประกอบของสังคม สภาพอาชีพ สภาพทรัพยากร สภาพที่อยู่อาศัย สภาพกิจวัตรประจำวัน สภาพอาหารการกิน สภาพเครื่องมือเครื่องใช้ สภาพการรักษาพยาบาล สภาพการคมนาคม และสภาพการปกครอง
3. นิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นศรีสะอาดสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมของชาวบ้านถิ่นศรีสะอาด 4 ประเภทใหญ่ คือ วัฒนธรรมทั่ว ๆ ไป ความเชื่อ ค่านิยม และคติสอนใจ ซึ่งวัฒนธรรมทั่วๆ ไปจำแนกเป็นประเพณีส่วนบุคคล ประเพณีส่วนรวม และธรรมเนียมประเพณี The purpose of this research study were to make collection and classification of Khmer folktales of Si Sa-at Sub-district into groups to became heritage for the people of next generations for analysis of the material essences or contents of Khmer folktales of Si Sa-at Sub-district as reflection of their way of life, ideology, goodwill, usage, tradition, as well as the ways of God and variety of principles of teachings for translation from Khmer Folktales of Si Sa-at Sub-district into thai to promote Khmer folktales of Si Sa-at Sub-district make them well-know to the general public and for application as a guideline for conservation, promotion so that the people of the next generations appreciate the value and the interests of Khmer folktales of Si Sa-at Sub-district, Khukhan District, Si Sa Ket Province.
On the collection of information of the Folktales the Author made a collection of information from all villages in Si Sa-at Sub-district and made a collection of total 106 folktales. The analysis process was made by firstly the Author making a recording of the folktales into recording and secondly then the Author making translation of folktales from Khmer into thai, and thirdly making classification of the Khmer folktales collected according to their theoretic forms and fourthly and finally, taking the Khmer folktales for analysis of material essences or content.
The results of study were :
1. The form folktales which were found that most were Jest, the form of folktales which were.
Found the least were chain tales, endless tales, and myth ;
2. Khmer folktales of Si Sa-at Sub-district, khukhan district, Si Sa ket province reflected social ways and ways of life or states of being of the people of Si Sa-at Sub-district for total of 11 categories or conditions comprising of geographic location, social Institutions, occupational, resources, housing or place of living, daily tasks, food and eating, equipment and tools, medical treatment, communication, and government or local administrative.
3. Khmer folktales of Si Sa-at Sub- district, khukhan district, Si Sa ket province reflected cultures of the folk people of Si Sa-at of 4 large forms comprising of general culture, ideology, value and moral whereas the general cultures and traditions are classified into 4 categories comprising of personal traditions, and usage or customary tradition.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
302