อุโบสถวัดไทยในเมืองมลายู (กลันตัน เกดะห์ ปะลิส และปีนัง) สมัยรัตนโกสินทร์

Other Title:
The orditional hall (Ubosot) in Thai temples in Malaya (Kelentan Kedah Perlis and Penang) Rattanakosin period
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและการสืบเนื่องของอุโบสถวัดไทยในเมืองมลายู ในด้านรูปแบบและความสัมพันธ์ทางศิลปะ งานวิจัยนี้เริ่มจากการเก็บข้อมูลทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม รวมไปถึงการสัมภาษณ์พระสงฆ์ ชาวบ้าน ช่างท้องถิ่นและช่างไทย โดยมีบริบทเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ศาสนาและศิลปะ จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบระหว่างอุโบสถวัดไทยในเมืองมลายูกับอุโบสถศิลปะไทยประเพณีในไทย รวมถึงศิลปะพื้นบ้าน ศิลปะจีน ศิลปะตะวันตก และแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลของการวิจัย สามารถแบ่งออกเป็นสามช่วงดังนี้
ช่วงที่หนึ่ง (พ.ศ. 2325-2451) อุโบสถวัดไทยในรัฐทางฝั่งตะวันออก (รัฐกลันตัน) และรัฐทางฝั่งตะวันตก (เกดะห์ ปะลิสและปีนัง) ต่างแสดงว่าได้รับอิทธิพลศิลปะพื้นบ้านที่มีอยู่ในรัฐนั้น ๆ ในขณะที่อุโบสถในรัฐปีนังแสดงอิทธิพลศิลปะจีนผสมกับศิลปะตะวันตก
ช่วงที่สอง (พ.ศ. 2452 – 2499) เริ่มต้นตั้งแต่อังกฤษเข้าครอบครองแหลมมลายูทางตอนล่างทั้งหมดในช่วงนี้มีอุโบสถเพียงไม่มีหลังที่รับเอาแบบการตกแต่งของตะวันตกมาใช้ ยกเว้นวัดในรัฐปะลิสที่แสดงถึงการรับอิทธิพลศิลปะตะวันตอกมากกว่ารัฐอื่น ส่วนในรัฐปีนัง อุโบสถได้รับอิทธิพลศิลปะจีนมากกว่าแบบอื่น ในรัฐกลันตันพบว่า อุโบสถมีการพัฒนารูปแบบมาเป็นศิลปะไทยประเพณีอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ส่วนฐาน อุโบสถ หลังคา และมีการสร้างอุโบสถจตุรมุขที่มีเรือนยอดแบบปราสาทในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ซึ่งตรงกันข้ามกับอุโบสถในรัฐเกดะห์ที่ไม่แสดงรูปแบบของศิลปะจากภายนอก รูปแบบของอุโบสถส่วนใหญ่จึงยังคงมีศิลปะพื้นบ้านมลายูมากกว่ารัฐอื่น ๆ
ช่วงที่สาม (พ.ศ. 2500 – 2550) การสร้างอุโบสถส่วนใหญ่ในช่วงนี้ในทุกรัฐที่กล่าวมามีต้นแบบมาจากอุโบสถแบบศิลปะไทยประเพณีจากภาคกลางของไทย ดังนั้นจึงไม่มีการพัฒนาการเกี่ยวข้องกับอิทธิพลของศิลปะพื้นบ้านที่มีมาก่อนในช่วงที่หนึ่งกับช่วงที่สอง แต่กลับมีพัฒนาการตามแบบอุโบสถในไทย อย่างไรก็ดี อุโบสถแบบนี้มักพบตามพื้นที่ที่มีความเจริญ และมีบางวัดที่ได้รับการสนับสนุนในการก่อสร้างจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซีย รวมถึงผู้อุปถัมภ์ที่เป็นชาวจีน The objective of the research : The aims of the research are to study the origins of the ordination hall of Thai temples in Malaya, concerning the styles and the relation with arts and how they were passed on. The methodology : In the very beginning, the information was collected from both document and field work including the interviews with the monks, the locals, the local craftsmen and Thai craftsmen ; concerning on politics, administration, religions, and arts, Then, the information was then analyzed. The styles of ordination hall of Thai temples in Malaya (Kelantan, Kedah, Perlis and Penang), were compared with the traditional Thai styles of arts mainly in Rattanakosin Periond and other styles ; the locals, the Chinese, the western and any relevant styles. The result : The result of the research can e divided in three main section:
Section one (1782 A.D. – 1908 A.D.): The ordination hall of Thai temples in the eastern state (Kelantan) and western states (Kedah, Perlis and Penang) both showed the mixture of local arts in styles with the slight differences in the forms. Thus, The ordination halls in Kelantan had the local influence like ones in Kedah. On the other hand, Penang, which was leased by the British and had mostly Chinese population, received more mixed influences from Chinese and western arts.
Section two (1909 A.D. – 1956 A.D.) : This period started when the British colonized the south of Cape Malay. There were not many ordination halls that received the western decorations except the one in Perlis. In Penang, they showed more Chinese aspect. In Kelantan, however, developed dramatically to Thai traditional styles: the bases, the ordination halls, the roofs and the ordination halls with the four-tiered roof and the canopy like the palace in the mid 20th century. In contrast with other states, the ordination halls in Kedah showed no signs of other influences apart from the local styles more than other states.
Section three (1957 A.D. – 2007 A.D.): Most ordination halls built during this period originated from the one in tradition Thai styles from central Thailand. There were neither local influential developments of section one, nor two but showed the strong influences of Thai temples. However, this kind of ordination halls was found in civilized areas. Some temples were given constructive supports from Thai and Malay governments or Chinese supporters.
Description:
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
Spatial Coverage:
กลันตัน
เกดะห์
ปะลิส
ปีนัง
มลายู
เกดะห์
ปะลิส
ปีนัง
มลายู
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
197
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
นโยบายการศึกษาของรัฐบาลต่อชาวไทยเชื้อสายมลายูในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ.2500-2516)
Collection: Theses (Master's degree) - History of Southeast Asia / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้Type: Thesisอรรณพ เนียมคง; Unnop Neamkong (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1995) -
นครศรีธรรมราชกับการปกครองหัวเมืองมลายู ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2367-2394)
Collection: Theses (Master's degree) - History of Southeast Asia / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้Type: Thesisอุดม นิปริยาย; Udom Nipariyai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1978) -
การสะสมทุนของชาวจีนในมลายู ค.ศ. 1819-1900
Collection: Theses (Master's degree) - History of Southeast Asia / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้Type: Thesisวรุณสิริ วัฒนอาภรณ์ชัย; Waroonsiri Wattanaapornchai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1987)