การศึกษาระบบหน่วยคำเติมหน้าในภาษาเขมรสุรินทร์

Other Title:
The study of prefixation in Surin Khmer
Subject:
Date:
1998
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการใช้หน่วยคำเติมหน้าในภาษาเขมรสุรินทร์ โดยศึกษาหน่วยคำเติมหน้าตามลักษณะโครงสร้างพยางค์ของหน่วยคำ ศึกษาหน้าที่และความหมายของหน่วยคำเติมหน้าที่ปรากฏในคำแผลง รวมถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเสียงในคำแผลง ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังสร้างคำด้วยการใช้หน่วยคำเติมหน้า คำศัพท์ที่ใช้ในการศึกษา เป็นคำศัพท์ที่รวบรวมจากพจนานุกรมภาษาเขมร (สุรินทร์) – ไทย – อังกฤษ และตรวจสอบความหมายของคำศัพท์กับผู้บอกภาษาเขมร ให้ทราบความหมายที่ชัดเจนขึ้นเพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์หน้าที่และความหมายของหน่วยคำเติมหน้า
ผลการวิจัยพบว่าหน่วยคำเติมหน้าที่ใช้ในภาษาเขมรสุรินทร์ เป็นหน่วยคำที่ทำหน้าที่สร้างคำศัพท์ใหม่ขึ้นใช้ในภาษา คำแผลงหรือคำศัพท์ใหม่ที่เกิดขึ้น ยังคงมีความหมายสัมพันธ์กับรากศัพท์หรือคำศัพท์เดิมในภาษา หน่วยคำเติมหน้าแต่ละหน่วยคำจะมีหน้าที่และความหมายแตกต่างกัน บางหน่วยคำมีหน่วยคำย่อยซึ่งเกิดจากเงื่อนไขทางเสียง หน่วยคำเติมหน้าจะใช้ประกอบกับรากศัพท์ที่เป็นคำพยางค์เดียว คำแผลงที่เป็นคำสองพยางค์อาจมีการกร่อนเสียงของพยางค์แรก เนื่องจากคำสองพยางค์ในภาษาเขมรมักลงเสียงหนักพยางค์หลัง ไม่เน้นเสียงหนักในพยางค์แรกจึงมีการลดเสียงพยางค์ลง
ชนิดคำของรากศัพท์ที่พบได้แก่ คำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ คำกริยาวิเศษณ์ คำเสริมท้าย และคำอุทาน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคำกริยา คำแผลงที่เกิดจากการสร้างคำด้วยหน่วยคำเติมหน้า โดยมากจะเป็นคำกริยา ได้แก่ คำกริยาการีต คำกริยาแสดงความหมายหนักแน่น คำกริยาแสดงความหมายถูกกระทำ และคำกริยาแสดงความหมายซึ่งกันและกัน หน่วยคำเติมหน้าที่ใช้สร้างคำนามนั้นมีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก
โครงสร้างพยางค์ของหน่วยคำเติมหน้าในภาษาเขมรสุรินทร์จะมีสามลักษณะ ได้แก่ ชนิดที่มีโครงสร้างเป็นแบบพยัญชนะเดี่ยว ชนิดที่มีโครงสร้างเป็นแบบพยัญชนะเดี่ยวซ้ำเสียง พยัญชนะต้นรากศัพท์ และชนิดที่เกิดแบบกลุ่มเสียง โดยหน่วยคำเติมหน้าที่มีโครงสร้างพยางค์เป็นแบบกลุ่มเสียงอาจเกิดรูปแปรของหน่วยคำ ซึ่งเกิดจากการลดรูปพยางค์กลายเป็นรูปหน่วยคำเติมหน้าที่มีโครงสร้างเป็นแบบพยัญชนะเดี่ยวได้
เมื่อประกอบหน่วยคำเติมหน้ากับรากศัพท์แล้ว พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางเสียงเกิดขึ้นในคำแผลง เช่น พยัญชนะนาสิกท้ายพยางค์ของหน่วยคำเติมหน้าจะเกิดแบบกลมกลืนตามเสียงพยัญชนะต้นรากศัพท์ เกิดการกลมกลืนสมบูรณ์ของเสียงพยัญชนะต้นรากศัพท์ตามเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์หน่วยคำเติมหน้า เกิดการตัดเสียงท้ายพยางค์และต้นพยางค์ของหน่วยคำเติมหน้า ซึ่งเกิดจากลักษณะการออกเสียงคำสองพยางค์ในภาษาเขมรจะออกเสียงเน้นพยางค์หลังจึงพบการตัดเสียงในคำแผลง
นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อประกอบหน่วยคำเติมหน้าเข้ากับรากศัพท์ ในบางกรณีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเสียงสระของคำแผลงได้ และการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถอธิบายได้ด้วยรูปตัวเขียนในภาษาเขมรกัมพูชา เนื่องจากรูปพยัญชนะเขมรแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งจะมีเสียงสระแฝงเป็น /aa/ กลุ่มที่สองจะมีเสียงสระแฝงเป็น /วว/ เมื่อพยัญชนะทั้งสองกลุ่มนี้ประสมสระรูปเดียวกันจะออกเสียงต่างกัน อักขรวิธีเขมรจึงกำหนดให้เสียงพยัญชนะต้นคำเป็นตัวกำหนดเสียงสระในคำ ด้วยเหตุนี้การเติมหน่วยคำเติมหน้าจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงสระในคำแผลง The objective of this research is to study prefixation in Surin Khmer language. This includes grammatical structures and meanings of prefixes, and morphophonemic changes in derivatives. The data of the analysis is based on Khmer (Surin) – Thai – English Dictionary. In addition, meanings of vocabularies were confirmed with a Khmer informant.
The result of the study indicates that prefixes in Surin Khmer language form new words or derivatives. However, derivatives still have related meanings to roots or original vocabularies. Each prefix has different function and meaning. Prefixes attach to monosyllabic roots. In other cases, disyllabic derivatives become monosyllabics because presyllables are unstressed in Khmer, and therefore can be deleted.
There are three types of prefixes. First is single consonant prefixes. Second is a duplication of the first consonant of the root. The third type is a complex prefix, which varies depending on the particular root.
Roots can be nouns, adjectives, adverbs, particles and exclamation word but mainly are verbs. Most derivatives occur as verbs. They may occur as either causative, intensive, reciprocal or passive. In some cases, derivatives may function as nouns.
Derivatives display morphophonemic changes ; for example, final nasal consonant of prefixes assimilate with initial consonant of roots. Initial consonant of roots can, later on, completely assimilate with final consonant of prefixes. The deletion of initial or final consonant of the prefix results from its position, an unstressed presyllable.
Furthermore, it is also found that in some cases when prefixes are attached to roots, it results in the change of the vowel sound of the derivatives, depending on the series of the consonant. These changes can be explained by Cambodian writing system. According to this writing system, there are 2 series of Khmer consonants : inherent vowel /aa/ and /วว/. Eventhough the consonant from these 2 series is combined by same vowel, the pronunciation is different, as the pronunciation of the vowel is determined by the initial consonant.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (เขมรศึกษา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541 Thesis (M.A.--Silpakorn University, 1998)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
197