การศึกษาวัดธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานี

Other Title:
Buddhist monasteries of Dhammayuttika Nikaya in Ubon Ratchathani
Author:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
จากการศึกษาวัดธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมสำคัญที่สุดภายในวัดธรรมยุติกนิกายจังหวัดอุบลราชธานี แม้ไม่มีลักษณะเฉพาะของตำแหน่งที่ตั้งอุโบสถในผังวัดแต่อุโบสถมักตั้งอยู่ในตำแห่งกึ่งกลางวัด ลักษณะสถาปัตยกรรมและการประดับตกแต่งอุโบสถวัดธรรมยุติกนิกายจังหวัดอุบลราชธานี สะท้อนความเป็นวัดธรรมยุติกนิกายด้วยการประดับหน้าบันด้วยรูปเจดีย์ทรงระฆัง โดยอุโบสถ (สิม) วัดสุปัฏนารามวรวิหารเป็นวัดแรกที่แสดงสัญลักษณ์เจดีย์ทรงระฆังที่หน้าบันของอุโบสถ นอกจากนั้นลักษณะหน้าบันแบบไม่มีไขราหน้าจั่วมีเครื่องประดับหลังคาด้วยเครื่องลำยองแบบตัวนาค ช่อฟ้าและหางหงส์เป็นหัวนาค ก็เป็นลักษณะที่อุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหารเป็นต้นแบบกับอุโบสถธรรมยุติกนิกายอื่นๆ
วัดธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคการก่อตั้งวัดธรรมยุติกนิกาย พ.ศ.2394 -2452 สมัยรัชกาลที่ 4 - 5 ; ยุคที่ 2 ช่วง พ.ศ. 2453 – 2480 สมัยรัชกาลที่ 6 จนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองและรัชกาลที่ 8 ; และยุคที่ 3 พ.ศ. 2481 – ปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นต้นมา
โดยยุคที่ 1 เป็นช่วงการเผยแผ่ธรรมยุติกนิกายในภาคอีสาน เพื่อความเป็นปึกแผ่นของราชอาณาจักร โดยจังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้นกำเนิดธรรมยุติกนิกายในภาคอีสาน สถาปัตยกรรมวัดธรรมยุติกนิกายในอุบลราชธานีมีรูปแบบตามที่นิยมในท้องถิ่น ไม่แตกแยก อันช่วยส่งเสริมการเผยแผ่ลัทธิใหม่เข้าไปในพื้นที่
ยุคที่ 2 เกิดลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมอุโบสถวัดธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานี สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคงของธรรมยุติกนิกายในพื้นที่ และบทบาทการเป็นผู้นำด้านศาสนาและเป็นผู้นำทางความคิดในสังคมตามนโยบายของรัฐขณะนั้น
ยุคที่ 3 อุโบสถวัดธรรมยุติกนิกายมีรูปแบบอย่างอุโบสถภาคกลางของไทย แต่มีการเลือกเอารายละเอียดบางประการของอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหารมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของวัดธรรมยุติกนิกายในอีสาน สะท้อนอิทธิพลของส่วนกลาง ความเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักร และบทบาทการปกครองคณะสงฆ์ของธรรมยุติกนิกายลดบทบาทลง The study of Buddhist architecture of Dhammayuttika Nikaya in Ubon Ratchathani province found that ubosatha (ordination hall) has been the most important architecture in a Dhammayuttika monastic compound in Ubon Ratchathani. Even though there is no specific location of an ubosatha in a monastic layout, an ubosatha has been often situated at the center of a compound. Architecture of ubosatha had pediments adorned with relief of a bell – shaped pagoda, a symbol of Dhammayuttika. Pediments of the ubosatha at Wat Supattanaram Worawihan were the first which were decorated with this symbol. However, its pediments were without a gable overhang which was traditional adorned with Nak Lamyong, represented a body of naga, along the edges of the roof. Instead the apex and two lower ends of the gable roof were adorned with heads of naga. These ornaments became prototypes for decoration of other Dhammayuttika ubosatha in Ubon Ratchathani.
Buddhist monasteries of Dhammayuttika Nikaya in Ubon Ratchathani can be classified in three periods: first period of establishing Dhammayuttika monasteries (B.E. 2394 – 2452) during the reign of king Rama IV – V; second period (B.E. 2453 – 2480) from the reign of King Rama VI to the Siamese Revolution in 1932; and third period (B.E. 2481 – present) from Plaek Phibunsongkhram rule to present.
First period: the dissemination of Dhammayuttika Nikaya in northeastern Thailand purposed to stabilize the country with Ubon Ratchathani as the starting point to propagate Dhammayuttika Nikaya in the northeast. The Dhammayuttika Buddhist architecture in this period was built similarly to that of the local and showed that the Dhammayuttika attempted to harmonize with indigenous people in order to get, their support.
Second period: architecture of Dhammayuttika in Ubon Ratchathani had its own styles and characteristics. It obviously reflected that Dhammayuttika had been strongly established in Ubon Ratchathani and Dhammayuttika monks became religious and social leaders according to central Thai government policy.
Third period: architecture of Dhammayuttika in Ubon Ratchathani had styles and characteristics parallel to that of central Thailand. Some architectural elements at Wat Supattanaram Worawihan became symbols of Dhammayuttika in the northeast and were used by other Dhammayuttika monasteries in the region. Architecture in this period reflected power of central Thailand overcoming the local and unifying the country with Bangkok as the center. However, a role of Dhammayuttika monks in politics became minimized.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
401