พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Other Title:
Dvaravati period Buddha images and votive tablets in Northeastern Thailand
Advisor:
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเรื่องราวทางด้านต่าง ๆ ของพระพุทธรูปและพระพิมพ์ศิลปะทวารวดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันประกอบด้วย ด้านคติความเชื่อ ด้านประติมานวิทยา ด้านรูปแบบ และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ มาตอบคำถามเรื่องศูนย์กลางทางการเมืองการปกครองและทางวัฒนธรรมของทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผลการวิจัยพบว่า การสร้างพระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องการสร้างบุญสร้างกุศล ร่องรอยต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่า เกี่ยวข้องทั้งกับพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน โดยพุทธศาสนาเถรวาทเป็นที่ยอมรับนับถือมากกว่า ในขณะที่พุทธศาสนามหายานได้รับการนับถือในพื้นที่จำกัดกว่า
จากการตรวจสอบรูแปบบของพระพุทธรูปและพระพิมพ์เหล่านี้ พบว่า มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระพุทธรูปและพระพิมพ์ศิลปะทวารวดีภาคกลาง ขณะเดียวกัน ก็มีลักษณะบางประการที่เกี่ยวข้องกับศิลปะอินเดียและศิลปะเขมร ที่สำคัญคือ มีลักษณะหลายประการที่สะท้อนถึงรูปแบบท้องถิ่น
เมื่อพิจารณาแยกตามลุ่มน้ำจะพบว่า พระพุทธรูปและพระพิมพ์แต่ละลุ่มน้ำ มีลักษณะเฉพาะทางความเชื่อและรูปแบบที่ต่างกันไป นำมาซึ่งข้อสันนิษฐานว่า เมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คงมิได้ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางใดศูนย์กลางหนึ่ง หากแต่ในแต่ละลุ่มน้ำหรือแต่ละพื้นที่มีเมืองศูนย์กลาง ซึ่งมีบทบาททางการเมืองการปกครองและทางวัฒนธรรมของตนเอง This research is aimed to study Dvaravati Buddhist images and votive tablets discovered in the Northeastern part of Thailand with the focus on their related beliefs, iconographical aspects and art styles. These researching results are, at the end, employed in finding how important this area’s role played as a political and cultural center in the Dvaravati period.
It is found that the creation of Buddha images and votive tablets in this area was related to a merit-making belief of Mahayana and Theravada Buddhism. However, the evidence portrays that Theravada was more popular and Mahayana.
Their art styles show a close relationship with the Dvaravati art in the middle part of Thailand. Nevertheless, some characteristics prominently were derived from Khmer and Indian art; some reflect local styles.
Description:
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
Spatial Coverage:
ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
660