สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในเมืองเชียงรายภายใต้บทบาทของมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน

ชื่อเรื่องอื่น:
The study of western architecture in Chiang Rai under the roles of American Presbyterian missionaries
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2012
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่ถูกสร้างขึ้นในเมืองเชียงรายภายใต้บทบาทของมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน ที่เข้ามาปฏิบัติพันธกิจในเมืองเชียงรายในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1874-1957 (พ.ศ. 2417-2500) ทั้งนี้มุ่งเน้นให้ทราบถึงแนวคิดรูปแบบ สัมฤทธิผลของการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม และบทบาทของงานสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ที่สัมพันธ์กับภูมิหลังด้านประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจ ของเมืองเชียงราย ล้านนา และ รัฐสยามในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
การศึกษาในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ โดยเน้นศึกษาวิเคราะห์สถาปัตยกรรมประเภทผังเมืองและอาคารสถาปัตยกรรมในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์จำนวนทั้งสิ้น 10 อาคาร ประกอบกับหลักฐานเอกสาร ลายลักษณ์อักษรที่เชื่อมโยงกับการถือกำเนิดขึ้นของสถาปัตยกรรมและบริบทแวดล้อม
ผลการศึกษาพบว่าการเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์เข้าสู่เมืองเชียงรายโดยมิชชันนารีอเมริกันคณะเพรสไบทีเรียนในช่วงเวลาเดียวกับที่รัฐบาลสยามมีความพยายามที่รวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาเข้าสู่ศูนย์กลางและสถาปนารัฐชาติสมัยใหม่ขึ้น ด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ของเมืองเชียงรายซึ่งเป็นเมืองชายแดน ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งตกเป็นอาณานิคมของทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นผลทำให้รัฐบาลสยามมีความสนใจดินแดนแห่งนี้ และเมื่อคริสต์ศาสนาเผยแพร่จากกรุงเทพเข้าสู่เมืองเชียงรายนอกเหนือไปจากพันธกิจหลัก 3 ประการ อันได้แก่ การประกาศศาสนา การศึกษา และการแพทย์สาธารณสุข ยังพบว่าด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมิชชันนารีกับรัฐบาลสยาม ทำให้มิชชันนารีได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างสยามและล้านนาโดยมีส่วนสำคัญที่ทำให้ล้านนาเป็นส่วนหนึ่งสยาม(Siamese-ization) บทบาทของมิชชันนารีในเมืองเชียงรายเป็นผลทำให้เกิดสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับพันธกิจทางด้านศาสนาและยุทธศาสตร์ทางการเมืองของรัฐสยาม อาคาร สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเหล่านี้นอกจากจะแสดงออกถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบตะวันตกที่ทันสมัย ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมล้านนาแล้ว ยังมีบทบาทรองรับโครงสร้างพื้นฐานแห่งรัฐสมัยใหม่ที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากนั้นสถาปัตยกรรมดังกล่าวยังมีมิติที่แสดงออกถึงความ “ ศิวิไลซ์ “ และเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จในการสถาปนารัฐชาติสยามบนพื้นที่ชายแดนที่เคยเป็นหัวเมืองประเทศราชล้านนา This thesis is a study of western architecture, which was built in the City of Chiangrai, under the supervision of American Presbyterian Missionaries that came to Chiangrai for religious operation from 1874 to 1957 (2471-2500B.E.). The thesis is an intention of a study of ideas. Patterns, as well as accomplishment of architectural creation, and the roles of the architecture related to historical, political, social, cultural and economic background of Chiangrai, Lanna and Siam during that period.
This study is based on an historical architecture research methodology by an analysis of urban architecture and buildings 10 buildings, which are selected as case studies. In each building character evidences concerned its history was analyzed.
The study found that the evangelism of the Protestant into Chiangrai by the American Presbyterian Missionaries were in the Siam Government period which was trying to centralize the Lanna provinces to establish the nation state. With the Chiangrai geography factor; border city, closing to the other state which under the control of Britain and France, caused the Siam was interested in this area. When the Christianity was propagated from Bangkok to the City of Chiangrai, over the 3 commissions; religious propagation, education, and health, also found that the good relation between the missionaries and Siam effected the missionaries had the political acts among Siam and Lanna. This is the important part that forced Lanna to become a part of Siam or called Siamese-ization. According to the roles of Missionaries in the City of Chiangrai, they caused the western architecture which was created for supporting the new activities related to the religious obligations and Siam political strategies. Also, these western architectural buildings could show the high technology construction of the new Lanna architectural model and could be the act in the structure of nation state. Moreover, this architecture shows the civilization and landmark symbol of the accomplishment for the establishment of Siam nation state in the area of the Lanna dominion.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
538