พระอุโบสถในเมืองสงขลาสมัยการปกครองของเจ้าเมืองตระกูล ณ สงขลา พ.ศ.2318-2444

Other Title:
The ordination halls in Songkhla rulers family, between C.E.1777-1901
Author:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสำคัญของวัดภายใต้บริบททางสังคมและการเมืองในพื้นที่เมืองสงขลา รวมถึงปัจจัยการออกแบบทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถในเมืองสงขลา โดยศึกษาเฉพาะอาคารเครื่องก่อที่สร้างขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ถึงปลายรัชกาลที่ 5 โดยกำหนดพื้นที่ที่ทำการศึกษาในเขตเมืองสงขลาเก่าเป็นสำคัญซึ่งประกอบด้วย อ. เมืองสงขลาทางฝั่งตะวันออก บางส่วนของอ. หาดใหญ่ อ. สิงหนคร อ. สทิงพระ อ. กระแสสินธุ์ และบางส่วนของ อ. ระโนด ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจดังกล่าวนำมาสู่การจำแนกพระอุโบสถที่เป็นตัวแบบในการศึกษาจำนวน 25 วัด และได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกับเนื้อหาทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของเมืองสงขลาและส่วนกลางตามแบบแผนของการวิจัยในทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
| จากการศึกษาพบว่าวัดในเมืองสงขลาซึ่งมีทั้งวัดที่ได้รับการบูรณะและวัดที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นศิริมงคลพื้นที่ โดยสังเกตุได้จากการขยายตัวของชุมชนในแต่ละครั้งจะมีการสร้างวัดขึ้นใหม่ในบริเวณนั้นเสมอ โดยสามารจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ ตามช่วงเวลาการปกครองของเจ้าเมืองตระกูล ณ สงขลา คือ
แบบจีนประเพณี เป็นสัญลักษณ์ของการปกครองเมืองสงขลาสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) เจ้าเมืองลำดับที่ 4 ซึ่งมีความเคร่งครัดในวัฒนธรรมจีน ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3
แบบร่วมอย่างกับสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 เป็นสัญลักษณ์ของการปกครองเมืองสงขลาสมัยเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) เจ้าเมืองลำดับที่ 5 ซึ่งตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงตอนกลางสมัยรัชกาลที่ 4 โดยสืบเนื่องจากการปกครองเมืองสงขลาในสมัยก่อนหน้าซึ่งไม่เป็นที่โปรดปรานของราชสำนัก ทำให้เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) จึงใช้แบบอย่างทางศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความจงรักภักดีต่อ ราชสำนัก
แบบอิทธิพลตะวันตกเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองเมืองสงขลาสมัยเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เจ้าเมืองลำดับที่ 6 จนถึงการสิ้นสุดการปกครองเมืองสงขลาในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในกรุงเทพฯ ขณะนั้นเกิดกระแสความนิยมในศิลปวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทแทนที่ศิลปวัฒนธรรมจีน ทำให้คนในตระกูลเจ้าเมืองสงขลาที่มีเชื้อสายกรุงเทพฯจึงนำเอาแบบอย่างทางศิลปะและสถาปัตยกรรมตะวันตกมาสร้างขึ้นในเมืองสงขลาดังเช่นที่ปรากฏในรูปแบบของ พระอุโบสถวัดแจ้ง ประกอบกับเกิดความขัดแย้งขึ้นภายในตระกูลเจ้าเมืองสงขลาเรื่องการแย่งชิงตำแหน่งว่าที่เจ้าเมืองลำดับที่ 7 ทำให้พระอุโบสถแบบอิทธิพลตะวันตกจึงถูกสร้างและบูรณะขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อราชสำนักภายใต้เหตุผลของความขัดแย้งของคนในตระกูลเจ้าเมืองสงขลาด้วย
นอกจากนั้นยังพบว่าวัดที่ได้รับการอุปถัมป์โดยเจ้าเมืองนั้นมีสถานะเป็นวัดแบบต้นอย่าง ซึ่งส่งอิทธิพลไปยังวัดแบบเอาอย่างที่สร้างโดยชาวเมืองในบริเวณรอบนอกของเมืองสงขลา และเนื่องจากเมืองสงขลาอยู่ภายใต้การปกครองของตระกูล ณ สงขลา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันออก ทำให้แบบอย่างทางศิลปะและสถาปัตยกรรมที่อุปถัมป์โดยคนในตระกูลเจ้าเมืองจึงได้รับความนิยมจากชาวเมืองสงขลาอย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกันก็เป็นเหตุผลทำให้ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลาซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตการปกครองของเมืองพัทลุง จึงไม่ปรากฎความนิยมในแบบอย่างทางศิลปะและสถาปัตยกรรมดังกล่าว The aims of this research are to study Buddhist temples in the city of Songkhla, They were built during the early Rattanakosin period under the reign of King Rama V. Areas of study include the eastern part of the city of Songkhla and some parts of Hat Yai, Singhanakorn, Satingpra, Krasaesin, and Ranot. Twenty-five temples were chosen as case studies and analyzed in historical and political contexts.
The research has found that Songkhla city has the renovated temples and the newly created temple which were built in Rattanakosin era. They were built to make an auspicious place. Remarkably from the expansion of the community each time, a new temple will be created in the area. The researcher is classified in three styles by following the, Na Songkhla officials family played a role, these are.
Chinese traditional style: This style was a symbol of Songkhla city in the age of Phraya Vichiankeeree (Tian Seng), the 4 th governor who was structured in traditional Chinese culture, contemporary during the reign of King Rama III.
The Contemporary Style under The King Rama III personal taste: this style was the symbol of Songkhla city when it was governed by Chow Phraya Vichiankeeree (Boon Sang), the 5th governor, the same time as from the King Rama III era to the middle of King Rama IV. This style was caused by the previous era of Songkhla which was not the favourite style of the Royal Court, so that made Chow Phraya Vichiankeeree (Boon Sang) use the Royal personal taste style of architecture for the pleasure of the court and to show his loyalty.
Western Influenced Style: This style was a symbol of Songkhla city when it was governed by Phraya Vichiankeeree (Men), the 6 th governor until it ended the administration by the governor of Songkhla in the reign of King Rama V. because Bangkok in that period was influenced by western culture instead of Chinese culture, so the governor of Songkhla who was come from Bangkok brought the Western style to Songkhla, which can be seen from The Ordination Halls in Wat Chaeng, included with the conflict within the Governor of Songkhla family about snatching to win the 7 th governor of Songkhla position. With all results, The western influenced style architecture was created for show his loyalty to the Court, also caused by the conflict within the Governors of Songkhla family.
In addition, The research has found the temple which patronized by the governor has become a model temple and inspiring other people to use the same style when they built the temple outside Songkhla city. And because Songkhla was governed by Na Songkhla families, The Chinese lineage govermor which was controlling all the area of the eastern Songkhla lake, therefore the Architectural style under the patronage of the Governor’s family became popular and widely spread in Songkhla. At the same time, the western area of Songkhla lake did not use this style. Because it was under the rule of the Pattalung City Governor.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
1505