ไตรภูมิคติในงานออกแบบพุทธสถาปัตยกรรมสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Other Title:
Traiphum in Buddhist architecture during the reign of King Rama IV
Author:
Subject:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ไตรภูมิคติ หมายถึงคติความเชื่อที่เกี่ยวกับโลกและจักรวาล ปรากฏให้เห็นในมิติต่าง ๆ มากมาย งานสถาปัตยกรรมก็เป็นหนึ่งในนั้น นักวิชาการหลายท่านเห็นว่าในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการปฏิเสธไตรภูมิคติเพราะคำอธิบายโลกและจักรวาลแบบตะวันตก และการเน้นย้ำความถูกต้องของพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามยังคงมีร่องรอยบางอย่างที่ แสดงให้เห็นถึงแนวคิดแบบไตรภูมิคติ จึงเป็นที่มาของการทำการศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้
จากการศึกษาเห็นว่าคำอธิบายโลกและจักวาลแบบตะวันตก มีอิทธิพลจริงต่อไตรภูมิคติ แต่ไม่มากพอที่จะกล่าวว่าปฏิเสธไตรภูมิคติทั้งหมด เพียงแต่คำอธิบายดังกล่าวเข้ามาปรับระบบคิดใหม่ให้แก่ชนชั้นนำสยามสมัยรัชกาลที่ 4 เฉพาะแค่เนื้อหาที่ว่าด้วยเขาพระสุเมรุ เขาสัตตบริภัณฑ์ และทวีปทั้ง 4 เท่านั้น การจำลองเขาพระสุเมรุจึงถูกแทนที่ด้วยการจำลองปฏิรูปประเทศแทน ตลอดจนคติสมมติเทวราช ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของไตรภูมิคติก็ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 4 อาทิเช่นในงานพุทธสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 และยังมีการจำลองรูปภูมิและอรูปภูมิร่วมด้วย ในรูปแบบของภาพจิตรกรรมรูปเทวดาที่แทนพรหมในพรหมโลก ซึ่งช่วยยืนยันได้ถึงการมีอยู่ของไตรภูมิคติในงานพุทธสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 4 อีกทางหนึ่ง
เหตุผลสำคัญของการมีอยู่ของไตรภูมิคติในสมัยรัชกาลที่ 4 คือ ไตรภูมิคติสามารถตอบสนองต่อบริบททางสังคมในขณะนั้นได้ คือ การเน้นย้ำคติปฏิรูปเทศ ก็เพื่อเป็นการรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้อันตรธานหายไป การเน้นย้ำสมมติเทวราช ก็เพื่ออ้างสิทธิธรรมในการเป็นกษัตริย์ อีกทั้งสามารถสอดรับกับบทบาทความเป็นธรรมราชาให้แก่ รัชกาลที่ 4 ด้วย และสำหรับการมีอยู่ของนรกสวรรค์และการเวียนว่ายตายเกิด ก็เพื่อใช้เป็นสิ่งลวงล่อให้คนเกรงความชั่วและมุ่งทำความดี Traiphum means Buddhist cosmology, description about the world and universe, based on Buddhist texts and created before the arrival of Westerners. It has influenced to beliefs of Thai people and their architecture. However, many scholars claimed that traditional idea of Traiphum was decreased its importance during the reign of King Rama IV( Mongkut ) ( 1851-1868 ). Because there was an influx of Western idea about the world and universe and King Mongkut who was interested in science emphasized on true Buddhism.
This thesis found that the Western idea about the world and universe affected the traditional concept of Traiphum during the reign of King Mongkut. It led to a new concept of the world and universe called Patirupates (the Land of Buddhism) which replaced Mount Meru, seven rings of mountains, and four islands in traditional Buddhist cosmology. The idea of kingship, a king as chakravartin, dharmaraja, and Indra still existed during the period of King Mongkut, but was mixed with Western idea of emperor. A new king who would access the throne was not considered only by base on Buddhist belief but through his ability and pure royal blood.
Concept of Patirupates and divinity was applied to the design of Thai architecture in both physical characteristics, and symbol during the reign of King Rama IV. Patirupates represented Kamaphum ( Realm of Desire ) according to the traditional Triphum which was divided into three parts. Kammaphum, Rupaphum ( Realm of From ) and Arupaphum ( Realm of Non-form ). During this period, deities on mural paintings inside viharas and ordination halls could be identified as Rupaphum and Arupaphum. Hence the three realms according traditional Buddhist cosmology still existed and were applied to the design of Thai architecture side by side with the new idea of Patirupates. Probably because they were fit to the society during that period; the idea of Patirupates could protect Buddhism; through Triphum and Patirupates. The king was considered as Indra, chakravartin, and dharmaraja; and heavens and hells in Traiphum could teach people to do good deeds and avoid evil deeds.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
284