การศึกษาปราสาทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Other Title:
The architecture of Prasat to the honour of The king during the reign of King Mongkut
Author:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์ไว้เป็นจำนวนมากถึง 14 องค์ ซึ่งได้มีบทบาทในแง่ของการเพิ่มพูนพระเกียรติยศทั้งในส่วนพระองค์เอง สถาบันพระมหากษัตริย์ รวมไปจนถึงพระบรมวงศานุวงศ์ โดยเฉพาะปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์และได้สร้างขึ้นจนลุล่วงเสร็จในรัชกาลนี้ ซึ่งได้นำมาเป็นกรณีศึกษาในที่นี่ได้แก่ พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งคชกรรมประเวศน์ปราสาท และพระที่นั่งพระที่นั่งมหิศรปราสาท จากการศึกษาพบว่าพระที่นั่งทั้งหมดที่ยกมาเป็นกรณีศึกษาต่างมีสิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ การหันด้านหน้าของอาคารไปสู่ทิศด้านตะวันออก ซึ่งนอกจากจะสัมพันธ์กับทิศทางการขยายตัวของพระนครอันเป็นไปตามข้อจำกัดทางด้านกายภาพแล้ว ยังสัมพันธ์กับการหันทิศทางที่สำคัญของพระบรมมหาราชวัง และความนิยมในการวางตำแหน่งของอาคารที่เกี่ยวเนื่องกับองค์พระมหากษัตริย์ของรัชกาลนี้ด้วย ส่วนตำแหน่งของปราสาท ในผังบริเวณจะมีขึ้นในสองลักษณะคือ หนึ่งการวางประกอบลงไปในผังที่มีอาคารสำคัญอยู่เดิมซึ่งย่อมจะส่งผลต่อการกำหนดขนาดและรูปแบบของปราสาท และสองการสร้างปราสาทให้เป็นประธานในผังบริเวณใหม่ รูปแบบของยอดปราสาทแบ่งได้เป็นสองลักษณะคือ ปราสาทยอดทรงมณฑป และปราสาทยอดทรงมณฑปยอดทรงปรางค์ วิธีการแบ่งเครื่องยอดดังกล่าว ยังสอดคล้องกับหน้าที่ใช้สอยภายในของปราสาทแต่ละองค์นั้นด้วย ส่วนหลังคา ผังพื้น ชั้นฐาน และรายละเอียดที่ใช้ประดับตกแต่งในปราสาทที่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่สำหรับพระที่นั่งคชกรรมประเวศน์ปราสาทซึ่งสร้างขึ้นในพระบวรราชวังแล้วจะมี เอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งจำนวนการซ้อนชั้นตับหลังคา ผังพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และการใช้ฐานโปร่ง นอกจากนี้ภายในส่วนของฐานปราสาทยังได้มีห้องคูหา และมีการนำเทคนิคก่อสร้างแบบตะวันตกเช่นช่องโค้งเสริมเข้ามาด้วย In the regnal years of the His majesty of the king Mongkut has build or restore Prasat total 14 structures was a role of the addition piled up honor has been private in the sense of king Mongkut, the royal institution and members of royal family. Especially built the new Prasat for the purpose of glorify the great king and finished being accomplished in this reign. Which can bring it on case study namely Aphonphimok Prasat Pavillion, Vejchayanvichien Prasat, Kotchakhampravet Prasat and Mahitsara Prasat From the study has to sum up. The front turn of a building went to the east direction. Not only it well have been with the physical of the metropolis to go to follow the limitation. But also related to with the important axis of the Grand Palace and favor in the position layer of a building that connect to this reign. The position part of Prasat in the master plan will go up in two characters. The layer assembles to get down the plan at have an important existing building which affect size and form of Prasat too. And another one buildings let it be the center in the new plan. The format of top of Prasat top has been devided to two characters are Mandapa and Phrang. The top method still divides is consistent that with function of the each Prasat. Been at roof, plan, basement and decoration detail of His majesty of the king Mongkut’s Prasat are similarity. But kotchakhampravet Prasat which goes up at the second king place to have the especial identity such as, roof overlaping, rectangular plan and clearly besement. Beside Prasat basement have an space room and The western technical builds like arch and voult.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
79