การศึกษาพุทธปรางค์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

Other Title:
The study of Buddha - Prang during th reign of King Rama Thethird
Author:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาพุทธปรางค์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะ และรูปแบบ ตลอดจนองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆขององค์พุทธปรางค์เพื่อให้ทราบถึงลักษณะเด่นเฉพาะของรูปแบบทางสถาปัตยกรรม รวมทั้งแนวคิดในการออกแบบพุทธปรางค์ในสมัยของพระองค์
จากการศึกษาพบว่า พุทธปรางค์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีรูปแบบที่หลากหลาย โดยลักษณะส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับพุทธปรางค์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย คือ รูปทรงที่สูงเพรียว และตำแหน่งของพุทธปรางค์ในผังพระอารามที่มักจะมี 2 องค์ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าทั้งด้านซ้ายและขวาของพระอุโบสถ แต่ทั้งนี้ก็พบลักษณะพิเศษเฉพาะบางประการที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัยนี้ เช่น การวางผังของพระอารามที่มีการสร้างพุทธปรางค์ไว้ระหว่างพระอุโบสถและพระวิหาร รวมทั้งองค์ประกอบในส่วนต่างๆขององค์พุทธปรางค์ก็มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์กล่าวคือ นิยมสร้างฐานประทักษิณสูงขนาด 2 ชั้น รองรับฐานขององค์พุทธปรางค์ที่มีลักษณะสูงสอบขึ้นไป โดยมักจะนิยมทำเป็นฐานสิงห์ซ้อนชั้น โดยมากจะพบ 2 – 3 ชั้น ต่อด้วยฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ซึ่งมักถูกนำมาเป็นฐานรองรับเรือนธาตุ โดยเรือนธาตุนั้นก็สูงสืบเนื่องต่อกันขึ้นไป ที่ผนังของเรือนธาตุที่จะทึบตัน แต่มักจะทำซุ้มจระนำสำหรับประดิษฐานประติมากรรมต่างๆ ส่วนยอดขององค์พุทธปรางค์จะนิยมทำชั้นรัดประคดขนาด 6 -7 ชั้น โดยมีลักษณะเป็นแบบฝักข้าวโพดสูงสอบขึ้นไปเช่นเดียวกัน พื้นผิวขององค์พุทธปรางค์ในสมัยนี้ จะนิยมประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี, กระเบื้องถ้วย และปูนปั้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ความสำคัญของพุทธปรางค์ก็ถูกลดบทบาทลงเป็นเพียงส่วนประดับยอดของอาคารสำคัญเท่านั้น ดังเช่น พุทธปรางค์บนยอดปราสาทพระเทพบิดรในพระบรมมหาราชวัง The Study Of Buddha-Prang (Buddhist pagodas) during the Reign of King Rama the third is aimed at studying the characteristic, form of the Buddha-Prang, and its architectural component to understand the specific characteristics of the architectural style including the concept of design.
The study found that Buddha-Prang in the Reign of King Rama the third have various forms not only the characteristics most similar to the Buddha-Prang in the late Ayutthaya Period which closely in the high figure and position of its plan in the monastery that usually has two Prangs front of Ubosot (Ordination hall) on left and right side but some specific characters were emerged from this period, for instance the layout of the monastery that Buddha-Prang was built in between of Ubosot and Viharn (chapel). The cpmponents in sections of Buddha-Prang are also have the unique characteristic such as two layers of Than Prataksin (A base for walking clockwise) under the higher base floor Buddha-Prang that usually be double layers of Than Singha (Superimpossed lion-footed pedestals) under Than Bualukkaew (Receding tires in the form of overturned and upturned lotus surrounded in the center by annuler) that was used to bear Ruanthat (The main part of Buddha-Prang that usually enshrines pieces of relics of Buddha or the holy object). Ruanthat is high up from base floors, its wall is thick and has niches on four side place the Buddha Image or another sculpture. Yodprang (The roof of Buddha-Prang) has six to seven layers with the high up style as sheath of com. The surface of Buddha-Prang was decorated with glazed tile, painted pottery and stucco frieze.
However, after the Reign of King Rama the third, the importance of Buddha-Prang were reduced to be only the decoration figure on the top of important buildings such as Buddha-Prang on the roof of Prasat Phra Thep Bidorn (Royal Pantheon) in the Grand Palace.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
163