สถาปัตยกรรมภายในพระอุโบสถและพระวิหารสมัยอยุธยาตอนปลาย

Other Title:
Interior architecture of Phra Ubosot and Phra Wihan in Late Ayutthaya period
Author:
Subject:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมภายในพระอุโบสถและพระวิหารสมัยอยุธยาตอนปลาย อันเกิดจากแผนผัง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดพื้นที่ว่างกับองค์ประกอบภายในที่ปรากฏ โดยแบ่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมภายในออกเป็น องค์ประกอบโครงสร้าง และองค์ประกอบตกแต่ง
พระอุโบสถและพระวิหารที่นำมาศึกษามีจํานวนทั้งสิ้น 33 หลัง ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ อยุธยา ลพบุรีกรุงเทพฯ นนทบุรี อ่างทอง นครปฐม เพชรบุรี และสมุทรสงครามซึ่งเป็นชุมชนที่มีความสำคัญมาแต่อดีตในสมัยอยุธยาตอนปลายเขตวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในการศึกษาเน้นรูปแบบขององค์ประกอบที่สัมพันธ์กับพื้นที่ว่างภายในอาคารเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งการลำดับอายุการสร้างพระอุโบสถและพระวิหารดังกล่าวนั้นเป็นเพียงการกำหนดอายุโดยสังเขปเท่านั้น เนื่องจากปัญหาทางด้านข้อมูล และหลักฐานไม่มีความสมบูรณ์ทั้งในด้านประวัติการสร้าง การบูรณะเปลี่ยนแปลงทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ผลการศึกษาองค์ประกอบสถาปัตยกรรมภายในพระอุโบสถและพระวิหารในสมัยอยุธยาตอนปลายที่สัมพันธ์กับแผนผังและพื้นที่ว่างภายในอาคาร แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มอาคารขนาดเล็ก มีพื้นที่น้อยกว่า 70 ตารางเมตร กลุ่มอาคารขนาดกลาง มีพื้นที่ 70-100 ตารางเมตร และกลุ่มอาคารขนาดใหญ่มีพื้นที่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป มีผังภายในอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งที่เป็นแบบมีเสาร่วมใน และไม่มีเสาร่วมใน โดยให้ความสำคัญกับพระอุโบสถเป็นประธานหลักของวัด ขนาดของที่ว่างภายในอาคารจะสัมพันธ์กันกับการจัดวางฐานชุกชีรวมถึงองค์พระประธานที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และทางสัญจร มีการเจาะช่องประตูหน้าต่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการเล่นระดับของระนาบเพดานที่สัมพันธ์กันกับการจัดวางฐานชุกชีแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและลำดับศักดิ์ในการใช้พื้นที่ของฆราวาสและพระภิกษุขนาดของพื้นที่ภายในดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับจำนวนและปริมาณของกิจกรรมนั้นๆซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบองค์ประกอบสถาปัตยกรรมภายในพระอุโบสถและพระวิหาร ได้แก่ ประโยชน์ใช้สอย เรื่องราวทางพุทธศาสนา คติความเชื่อตลอดจนกระบวนการทางการช่าง ส่งผลให้รูปแบบองค์ประกอบ รวมถึงที่ว่างภายในอาคารมีระเบียบกฏเกณฑ์ถูกควบคุมรูปแบบไว้ ไม่เปลี่ยนแปลงมาตลอดเวลาในช่วงปลายของอยุธยา หรือเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเฉพาะบางส่วนที่ไม่กระทบต่อลักษณะโดยรวม แต่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละพื้นที่ The purpose of this thesis is to study composition of interior architecture of Phra Ubosot and Phra Wihan which were built in Late Ayutthaya Perod. These compositions are the result of plans, architectural elements and the arangement of spatial composition. In this thesis, the interior architectural elements was divided into structural elements and decorated elements.
Totally. 33 Phra Ubosots and Phra Wihans from 8 provinces which are located around the historical communities along Chaophraya River Plain duing the studying period are selected as case study.
In each case, the study focuses on five major elements namely plan, pillars, pedestal, void and ceiling which incorporate into the spatial composition, The case studies were devided into three groups according to their sizes: small, medium and large. The factors influence the arrangement of the spatial organization are pattern of the ceremonies, buddhist tales, myths and construction methods. These factors had influenced the spatial organization to be static through out the period but in a few cases with minor changes which did not affect the whole picture of the style and these are different according to the geographical location.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
412