การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมเขตพุทธาวาส วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

Other Title:
A study of architecture in the Buddha area of Wat Kalayanamitra Waramahaviharn, Bangkok
Date:
2008
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วัดกัลยาณมิตร เป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพื้นที่บ้านเดิมของเจ้าพระยานิกรบดินทร์ ( โต กัลยาณมิตร ) การสร้างวัดเป็นไปตามพระราชประสงค์ที่โปรดให้เป็นวัดใหญ่ในพระนคร ดังนั้นสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในบริเวณเขตพุทธาวาสจึงมีขนาดที่ใหญ่เป็นพิเศษ อีกทั้งมีการจัดวางแผนผังอาคารในเขตพุทธาวาสเป็นเอกลักษณ์ตัวเฉพาะที่เกิดขึ้นในสมัยนี้ ซึ่งมีการออกแบบที่แตกต่างจากสถาปัตยกรรมไทยทั่วไปคือผสมผสานศิลปะจีนเข้ากับศิลปะไทย นอกจากนี้รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นใหม่นี้ได้ตัดทอนเครื่องประดับที่ชำรุดง่ายของสถาปัตยกรรมไทยออกไปคือ เครื่องลำยอง ที่ประกอบไปด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ จึงมีชื่อเรียกสถาปัตยกรรมชนิดที่เกิดขึ้นใหม่นี้ว่า “ สถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยม ” , “ แบบกระบวนจีน” หรือ “ วัดนอกอย่าง”
นอกจากการจัดแผนผังเขตพุทธาวาสแบบพระราชนิยมในลักษณะขนานสามแนวแกนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว วัดกัลยาณมิตรยังมีความแตกต่างจากวัดแบบพระราชนิยมทั่วไปคือ การใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารในผังบริเวณเขตพุทธาวาสเป็นแบบผสม คือ พระวิหารหลวงซึ่งตั้งในแนวแกนประธานสร้างในรูปแบบไทยประเพณี ส่วนพระอุโบสถและศาลาการเปรียญเป็นสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยม นอกจากนี้ สถาปัตยกรรมในเขตพุทธาวาสของ วัดกัลยาณมิตร เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่แสดงถึงพัฒนาการของสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมที่ได้รับอิทธิพลจากวัดที่สร้างและปฏิสังขรณ์ขึ้นก่อนหน้าและยังส่งอิทธิพลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมให้วัดที่สร้างและปฏิสังขรณ์ขึ้นในภายหลัง ทั้งทางด้านการจัดวางรูปแบบแผนผังอาคารและรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของงานสถาปัตยกรรมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว Wat Kallayanamitra was built in the reign of King Rama III, in the ground of Lord Nikornbodindra’s old house. By the order of the King, this temple was built to establish a new grand temple in Bangkok. Therefore the architecture in this Buddhist Temple is on a very large scale. Furthermore the contemporary monuments in this period were different from other Thai architecture especially regarding the combination of Chinese and Thai Art. Moreover, this new style was trying to remove the easily damaged accessories such as the gable, gable apex etc. from its overall design and may be called “ Royal patronage architecture”, “Chinese style architecture” or “Unorthodox temple style”.
In addition to royal patronage style planning, the variations of an integrated planning are the main Vihara is in the center of the plan, which is Traditional Thai style, but the chapel and Sermon hall in a monastery are in royal patronage style. Other than that, these monuments show an evolution of the royal patronage style and about the receiving and delivery of influences in pre and post architecture during the reign of King Rama III.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
290