พระอุโบสถและพระวิหารที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกสมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. 2199-2310)

ชื่อเรื่องอื่น:
The Western influence Ubosathes and Viharas in Late Ayutthaya period [1656-1767 A.C.]
หัวเรื่อง:
วันที่:
2002
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถและพระวิหารที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกในสมัยอยุธยาตอนปลาย (พ. ศ. 2199-2310) ตลอดจนที่มาและความสำคัญของปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อการเกิดรูปแบบของอาคาร ทำให้เกิดพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงปลายอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. แบบทางสถาปัตยกรรม ได้แก่ แผนผัง รูปด้านและโครงสร้างของอาคารที่ได้จากการศึกษาและการสำรวจทำรังวัดในเขตพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 13 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 81 อาคาร 2. ประวัติศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถและพระวิหารการ
วิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการกำหนดช่วงอายุเวลาของพระอุโบสถและพระวิหารออกเป็น 3 ช่วง คือ 1. ช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพ. ศ. 2199-2231, 2, ช่วงสมัยสมเด็จพระเพทราชา-สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พ. ศ. 2231-2251. 3. ช่วงสมัยพระเจ้าท้ายสระ-พระเจ้าเอกทัศน์พ. ศ. 2251-2310. จากนั้นจึงทำการจัดกลุ่มรูปแบบของอาคาร และแบ่งสายพัฒนาการของอาคารในแต่ละแบบ แล้วนำมาวิเคราะห์ในเชิงสถาปัตยกรรม
ผลจากการวิจัยพบว่า รูปแบบของพระอุโบสถและพระวิหารที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายนั้นมี 3 แบบคือ
1. อาคารที่พัฒนามาจากอาคารแบบไทยประเพณี (แบบทรงคฤห์)
2. อาคารทรงตึกแบบลพบุรี
3. อาคารทรงตึก
รูปแบบของอาคารไทยประเพณีและอาคารทรงตึกนั้นได้มีการพัฒนามาจนถึงปลายอยุธยา และสืบเนื่องไปจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนอาคารทรงตึกแบบลพบุรีนั้น พบเฉพาะในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและในจังหวัดลพบุรีเท่านั้น ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของช่างท้องถิ่น The purposes of this research were to study the characteristic and architectural forms of the Ubosathes and Viharas with the Westem influence in Late Ayudhya Period (1656-1767 A. D.). Including the origin and the importance of factors that has effected building forms, and has developed continuously through the Late Ayudhya Period and Early Rattanakosin Period.
The data used for this research were: 1. The survey of architecture building in the central region (13 Provinces, 81 Buildings) including plans, sections and structure systems. 2. The history of economy, society and culture in Late Ayudhya Period that had influenced the architecture form of Ubosothes and Vihaas.
The data analyzed was done by the dision of the age of Ubosathes and Viharas into 3 periods. 1. King Narai The Great Period (1656-1688 A. D.) 2. King Phedraja-King Sanphed 8 (1688-1708 A. D.) 3. King Taisra-King Akathat (1708-1767 A. D.). Then organized the buildings forms and devided the development of each buildings pattern and analyzed them architecturally.
The results of the research were the forms of Ubosathes Vihaas that have the Westem influence in Late Ayudhya Period which can be devided 3 types, they are:
1. The building that developed from traditional building form
2. The building form of Lopbun influence
3. The solid-looking building form (Song Tuk)
The forms of traditional buildings and Solid form buildings has been developed until the Late Ayudhya Period and continued through Eary Rattanakosin Period. The Lopburi influence building form could be found locally only in King Narai The Great Period.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
756
Metadata
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็มRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การวิเคราะห์อิทธิพลศิลปะและวัฒนธรรมตะวันตกที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : กรณีศึกษาเฉพาะจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดโพธินิมิตรสถิตมหาสิมาราม กรุงเทพมหานคร
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Art History / วิทยานิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะประเภทผลงาน: Thesisกฤษฎา พิณศรี; Krisada Pinsri (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1997) -
ศึกษารูปแบบงานศิลปกรรมวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม ที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Oriental Epigraphy / วิทยานิพนธ์ - จารึกภาษาตะวันออกประเภทผลงาน: Thesisพรชนก ตันรัตนพงศ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2013) -
การรับอิทธิพลงานสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในช่วงการปกครองระบบเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต ช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 : กรณีศึกษา กลุ่มอาคารในนิคมข้าราชการเมืองภูเก็ต
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Oriental Epigraphy / วิทยานิพนธ์ - จารึกภาษาตะวันออกประเภทผลงาน: Thesisจุฬาลักษณ์ เพ็ชรแสง (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2013)