การศึกษาพัฒนาการทางรูปแบบสถาปัตยกรรมวัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Other Title:
The architectural study of Wat Cheung Tha : Phra Nakhon Si Ayutthaya province
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมวัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วยการศึกษาประวัติวัดเชิงท่า การศึกษาสถาปัตยกรรม การกำหนดอายุสถาปัตยกรรม และการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรม
การศึกษาประวัติวัดเชิงท่าจากหลักฐานภาคเอกสารได้พบว่า วัดเชิงท่าได้มีการสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาโดยไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าสร้างเมื่อใด ทั้งนี้ได้มีการเรียกชื่อวัดต่างๆกันไปตามลักษณะของที่ตั้งหรือชื่อผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในด้านประวัติวัดยังได้ศึกษาจากหลักฐานทางด้านโบราณคดี ซึ่งพบชั้นดินที่แสดงถึงกิจกรรมในแต่ละยุคถึง 4 ยุคด้วยกันนับตั้งแต่การวัดและการสร้างปรางค์จนถึงปัจจุบัน
การศึกษาสถาปัตยกรรมวัดเชิงท่าและการกำหนดอายุสมัยจะเน้นศึกษาเฉพาะปรางค์ประธาน วิหาร และมุขปรางค์ อุโบสถ กลุ่มเจดีย์รายและหอระฆังพบว่า สถาปัตยกรรมวัดเชิงท่าจัดแบ่งได้ 5 ระยะการสร้างซึ่งเกี่ยวเนื่องกับหลักฐานทางโบราณคดีคือ
ระยะที่ 1 ตรงกับสมัยพระบรมไตรโลกนาถ มีการสร้างปรางค์ประธานและวิหารขนาดเล็กด้านทิศใต้โดยท้ายวิหารมิได้ชนส่วนฐานปรางค์
ระยะที่ 2 ตรงกับสมัยพระนารายณ์ มีการขยายวิหารและสร้างมุขชนฐานปรางค์ทั้ง 4 ด้าน ทำให้กลายเป็นอาคารแบบจตุรมุขที่มีปรางค์อยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบน้อยมากในสมัยอยุธยา รูปแบบนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพระที่นั่งวิหารสมเด็จ ภายในพระราชวังซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก อย่างไรก็ตามระยะนี้ยังมีการสร้างอุโบสถ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองและปรางค์รายซึ่งเป็นแบบพระนารายณ์ขึ้นด้วย
ระยะที่ 3 ตรงกับสมัยพระเจ้าบรมโกศ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดโดยการต่อเติมส่วนระเบียงหน้าของวิหาร และสร้างเจดีย์ทรงเครื่องและเจดีย์ทรงกลมแบบฐานผสมขึ้น
ระยะที่ 4 เป็นยุคหลังสมัยพระเจ้าบรมโกศ มีการสร้างเจดีย์รายขึ้นหลายองค์ โดยมากเป็นการเลียนแบบเจดีย์ที่มีมาแต่เดิม แต่มีรูปแบบผิดเพี้ยนไปบ้าง
ระยะที่ 5 ตรงกับสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสร้างเจดีย์ทรงเครื่องแบบรัตนโกสินทร์ขึ้นพร้อมกับการสร้างหอระฆัง
ในการสันนิษฐานรูปแบบปรางค์ประธาน วิหารและมุขปรางค์ ได้พบว่าส่วนวิหารด้านหน้าในยุคพระนารายณ์ มีรูปแบบเป็นมุขยื่นออกมาตรงกลาง ต่อมาในยุคพระเจ้าบรมโกศมีการต่อเติมระเบียงหน้า ซึ่งได้ต่อเติมส่วนหลังคามุขเป็นชายคารอบมุขและมีเสาคู่รองรับชายคาด้านหน้ามุขดังปรากฏตามผังวิหารในปัจจุบัน
การศึกษาพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมวัดเชิงท่านี้ไม่เพียงแต่จะเห็นพัฒนาการของรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นภายในวัด แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในด้านอิทธิพลและการสืบต่อทางสถาปัตยกรรม ที่ยังประโยชน์ในการศึกษาเพิ่มเติมในภายภาคหน้าอีกด้วย The main purpose of this study aimed to research on the architectural development of Wat Cheung Tha. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province in difference period of time. The study concentrated on the history background, History of Architecture methodology, architectural dating and architectural reconstruction.
From historical document mentioned that Wat Cheung Tha was built during Ayutthaya Period but not specified in definite time. The difference names of this temple refer to the location and involved person’s names. Besides, from archaeological evidences mentioned the four-layer of human behavior since first establishment that the main prang was built for this present time.
Refer to the research of History of Architecture and architectural dating, this study concentrated on the main prang, vihara (assembly hall), Muk prang (The front porch) , ubsot (ordination hall) , the groups of chedi (stupa) and the Hor Rakang (The bell tower) . Concerning this methodology, this study shown the result of architecture at Wat Cheung Tha ; Phra Nakhon Si Ayutthaya Province as follow.
Period 1 During the reign of King Baromatriloknat. The main prang and the southern small viharn were built. The vihara did not connect to the main prang.
Period 2 During the reign of King Narai. The architecture shown the style of Chaturamuk (Four-Muk Prang) which located the prang as the main building in the center. Surrounded by the additional Muk prang connected the four sides of the main prang. This architecture style rarely found during Ayutthaya period. Suggested idea for this style might influenced from the Viharn Somdet Throne Hall at the Grand Palace that located close by. Moreover, the southern viharn was enlarged, ubosot were built and the style of twelve rabbetted-angeld Chedies as well as the minor King Narai style prang also built.
Period 3 During the reign of King Boromakot . The temple complex was renovated and the additional veranda to the front of viharn was built. Besides, the crown chedis and the mixture basement round shape chedi also built in this period.
Period 4 After the reign of King Boromakot Many style of chedis were built and most of them copied the original styles though some of them shown the wrongfulness in form.
Period 5 During the reign of King Rama V, Bangkok Period. The Rattanakosin style Crown Chedis and the bell tower were built.
Concerning architectural reconstruction part, this study shown the reconstruction of the main prang, the viharn and the Muk Prang. This refer to the reign of King Narai that presented the viharn with the front porch. In addition to the reign of King Boromakot, the veranda in front of the viharn was built including the roof covered the front porch and located one pair of pillars supporting the roof.
In conclusion, the study on the architectural development of Wat Cheung Tha, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province was not shown the architectural development but also included the study of architecture influence and continuation that advantaged further study in the future.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 Thesis (M.A.(History of Architecture))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
140