คติการสร้างเมืองเชียงใหม่ในวัฒนธรรมล้านนา

ชื่อเรื่องอื่น:
The design of Chiang Mai city in Lanna culture
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2003
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงคติสัญลักษณ์ กระบวนการออกแบบ และความสัมฤทธิ์ผลของการออกแบบเมืองเชียงใหม่ตามขอบเขตพื้นที่เวียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ล้อมด้วยคูน้ำและพื้นที่ล้อมรอบรูปวงโค้งภายใต้วัฒนธรรมล้านนา ด้วยกระบวนการศึกษาทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
ผลการศึกษาพบว่า เมื่อพญามังรายสถาปนาเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 สันนิษฐานว่าได้ใช้องค์ความรู้ทางดาราศาสตร์ผสานร่วมกับโหราศาสตร์ตามระบบทักษา อันประกอบด้วยดาวเคราะห์สำคัญ 9 ดวง ได้แก่ พระอาทิตย์พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัส พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และพระเกตุในกระบวนการออกแบบ โดยได้ให้ความหมายเชิงสัญลักษณ์พื้นที่เวียงรูปจัตุรัสล้อมด้วยคูน้ำสื่อถึงภาพจำลองอาณาเขตจักรวาลอันศักดิ์สิทธิ์ ส่วนพื้นที่เวียงรูปวงโค้งเป็นส่วนหนึ่งของรูปหอยสังข์สัญลักษณ์ความเป็นสิริมงคลและความอุดมสมบูรณ์ตามกระบวนการออกแบบที่แสดงการเคลื่อนตัวลักษณะทักษิณาวัตรของนพเคราะห์ตามระบบโหราศาสตร์ทักษา เขตการใช้สอยภายในเมืองกำหนดให้ประกอบด้วย 3 เขต (ตรีบูร) สอดคล้องตามแผนภาพวัสดุปุรุษมณฑล อันมีพื้นที่ว่างศูนย์กลางเมืองเป็นที่สถิตของพรหม ปริมณฑลถัดมาเป็นเขตของเทวดาและเขตของมนุษย์ตามลำดับ
ในต้นพุทธศตวรรษที่ 20 คติทางพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามามีอิทธิพลต่อเมืองเชียงใหม่เหนือคติการนับถือผีแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคติการบูชาพระธาตุอันก่อให้เกิดการสร้างพุทธเจดีย์และวัดในเขตเมืองเชียงใหม่ คติการบูชาพระธาตุนี้ได้แพร่ขยายจากศูนย์กลางที่เชียงใหม่สู่เมืองสำคัญต่างๆ ในเขตวัฒนธรรมล้านนาและได้ดำรงความสำคัญสืบเนื่องตลอดมาจวบจนปัจจุบัน This study concentrated on the design of Chiang Mai City In Lanna culture in term of symbolical ideology, designing process and creative achievements which limited to the square shape city wall surrounded by the moat as well as the ring circle quarter part of the city wall. Concerning the History of Architecture methodology, this study shown the result as follow.
The principles of design based on the knowledge of Astronomy and Taksa Astrology since King Mangrai established the city of Chiang Mai in A.D. 1296. The design of Chiang Mai City mentioned on Taksa Astrology which refered to the major 9 planets ( Nagraha ) which are the sun (Ravi) , the moon (Soma) , Mars (Mangala) , Mercury ( Budha ), Jupiter (Brhaspati) , Venus (Sukra) , Satun (Sani), Rahu and Nepture (Ketu) . As result, the symbolical ideology of the ring circle quarter part of the Chiang Mai city wall represented the shape of a conch shell; a symbol of richness and prosperity. Besides, the design process also presentsd Taksinawatra movement of the nine planets (Nagraha) as mentioned in Taksa Astrology concept. Moreover, the city zoning also consisted of 3 parts ( Tribul) which related to Vastu-purusha Mandala. The centre zone of the Mandala square represented the position of Bhrama, the next outer part represented the position of gods ( Deva ) and the rim external area represented the position of human.
In mid 14th century, Theravada Buddhism influenced in Chiang Mai City and turned to be acceptable than the traditional superstitious belief. The ideology of Phra That (Buddha Relics) in Theravada Buddhism made abundance creation of Phra That Chedi and lots of temples in Chiang Mai City during that time. Later, the concept of Phra That spreaded from Chiang Mai to many cities in Lanna Culture and continue on to this present time.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 Thesis (M.A.(Thai Architecture))--Silpakorn University, 2003
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
293
ดู/เปิด
Metadata
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็มRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
วิถีชีวิตลูกหาบ : ดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
คอลเลคชัน: วิทยานิพนธ์ประเภทผลงาน: Thesisวนิดา พิพัฒน์ภาพร; Wanida Pipatnapaporn (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2010) -
พัฒนาการเวียงกุมกามจากหลักฐานทางโบราณคดี
คอลเลคชัน: Theses (Ph.D) - Historical Archaeology / ดุษฎีนิพนธ์ – โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ประเภทผลงาน: Thesisเมธี เมธาสิทธิ สุขสำเร็จ; Meetee Medhasith Suksumret (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของเวียงกุมกามใน 3 ประเด็นคือ คติความเชื่อทางศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนโบราณ และบทบาทหน้าที่ของเวียงกุมกาม โดยทำการศึกษา เปรียบเทียบวิเคราะห์ ตีความ หลักฐานทางโบรา ... -
กลุ่มวัดป่าเชิงดอยสุเทพ : งานศิลปกรรมและบทบาททางสังคมของเมืองเชียงใหม่ในสมัยราชวงศ์มังราย
คอลเลคชัน: Theses (Bachelor's degree) - Art History / สารนิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะประเภทผลงาน: Thesisชิษณุพงศ์ รุจิโรจน์วรางกูร (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2015)การศึกษารูปแบบงานศิลปกรรมของกลุ่มวัดป่าเชิงดอยสุเทพ เมืองเชียงใหม่ เพื่อตรวจสอบอายุสมัยและลักษณะการใช้งานพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ อีกทั้งสะท้อนบทบาททางด้านศาสนา ต่อการเมืองในสมัยราชวงศ์มังราย โดยศึกษาผ่านการสารวจหลักฐาน ...