การศึกษาสถาปัตยกรรมวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

ชื่อเรื่องอื่น:
A study of architectural of Wat Depsirindravas Rajvoravihara
หัวเรื่อง:
วันที่:
2003
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การศึกษาวิจัยสถาปัตยกรรมวัดเทพศิรินทราวาส มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงคุณค่า ความหมาย ความสำคัญ และความสัมฤทธิ์ผลในการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดเทพศิรินทราวาส ตามกระบวนการศึกษาทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม คือการศึกษาสถาปัตยกรรมวัดเทพศิรินทราวาสและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทอื่นๆ ได้แก่ ประวัติและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม ปัจจัยทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และกายภาพ ตลอดจนพัฒนาการทางด้านรูปแบบสถาปัตยกรรม และคติความเชื่อในพุทธศาสนา แล้วนำมาเชื่อมโยง ประกอบการวิเคราะห์ และศึกษาเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมวัดเทพศิรินทราวาส เพื่อให้เข้าใจถึงที่มาของรูปแบบสถาปัตยกรรม และปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมวัดเทพศิรินทราวาส
ผลการวิจัยพบว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาสเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนี ตามโบราณราชประเพณี ทรงมีพระประสงค์ให้เป็นวัดประจำวงศ์ตระกูลของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี โดยมีแนวความคิดในการออกแบบที่สืบเนื่องมาจากสมัยรัชกาลที่ 4 ได้แก่ การตีความพุทธบัญญัติและคติความเชื่อในพุทธศาสนาเพื่อนำมาสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมจนเกิดเป็นรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะขึ้นมา คือการนำคำว่า “เจดีย์” และพุทธบัญญัติเกี่ยวกับนิมิตสีมามาตีความแล้วเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน โดยนำต้นไม้ต่างๆ ในพุทธประวัติมาเป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายถึงเหตุการณ์ในพุทธประวัติแต่ละตอน มาเป็นแนวความคิดในการออกแบบผังบริเวณเขตพุทธาวาสและผังเสมา แนวความคิดที่สืบเนื่องมาจากสมัยรัชกาลที่ 4 รวมไปถึงการใช้องค์ประกอบสถาปัตยกรรม ตรา และสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายสัมพันธ์กับผู้สร้างและผู้ที่ได้รับการสร้างอุทิศถวายให้ และการนำศิลปะสถาปัตยกรรมตะวันตกมาประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมพระอุโบสถและพระวิหาร
สถาปัตยกรรมวัดเทพศิรินทราวาสเป็นการนำเอาสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมแบต่างๆมาประยุกต์และผสมผสานเข้าด้วยกัน ได้แก่ พระปรางค์ที่จะตั้งใจสร้างแบบพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม แล้วเปลี่ยนมาสร้างพระวิหารจัตุรมุขยอดปรางค์แบบปราสาทพระเทพบิดร เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีและเก็บอัฐของวงศ์สกุล แต่มาล้มเลิกไปเสียก่อนเมื่อสร้างมาถึงส่วนฐานเนื่องจากเกรงว่าหากสร้างต่อจะทำให้เกิดความเสียหายต่อพระอุโบสถ ส่วนลักษณะของพระอุโบสถนั้นเป็นแบบที่รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 4 ที่เรียกว่าแบบล้ออย่างพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 เป็นการนำเอาองค์ประกอบสถาปัตยกรรมแบบต่างๆเข้ามาผสมผสานประยุกต์เข้าด้วยกัน ได้แก่ ซุ้มทรงมงกุฎ บัวหัวเสาประดับกระเบื้องเคลือบแบบลายไทยประเพณี รวมทั้งการทำเพดานโค้งแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก และการนำศิลปสถาปัตยกรรมตะวันตกมาประยุกต์โดยมีกรอบโครงและระเบียบลายแบบศิลปสถาปัตยกรรมไทย อาทิเช่น ลายประดับฝ้าเพดานภายในอาคาร ซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างภายในอาคาร และลายรดน้ำประดับบานประตูและบานหน้าต่าง รูปแบบสถาปัตยกรรมวัดเทพศิรินทราวาสจึงแสดงให้เห็นถึงแนวความคิดในการรับเอาศิลปวิทยาการต่างๆ จากตะวันตกเข้ามาผสมผสานและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสังคมไทยเพื่อเร่งพัฒนาประเทศให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤตทางการเมืองในขณะนั้นอย่างเป็นรูปธรรม The objective of my study on Wat Depsirindravas Rajvoravihara is to comprehend about the values, meaning, significances and effectiveness of its architectural design which hold on to the architectural study procedure – that is study on design of monastery and relating historical evidence for analyzing and comparing the gained information in order to understand the origin of the design of the case study and the factors that effect the design.
The result of the study has been show that the King Rama V built Wat Depsirindravas Rajvoravihara for his mother (Somdej Depsirintrabromrachinee ) as his 0wn donation, according to the old Thai tradition. Moreover, he, also, desired to present this monastery to the his mother’s family, therefore, the architectural design was definitely similar to the way of construction that had been used during Rama IV period; foe example, using the architectural details, a coat of arms and the symbols which represent the relationship of, both, the giver and receiver. Additional, the mix of western conception, also, had been elaborated on the architecture of praying Ubosatha and Vihara.
However, the architecture of Wat Depsirindravas Rajvoravihara is one of a few temples that composed of a combination between various types of architectural designs which mixed and applied finely and harmoniousiy. Obvious, the way of building this monastery have brought the country out of the political crisis that had happened in that era.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 Thesis (M.A.(History of Architecture))--Silpakorn University, 2003
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
287