การรณรงค์สร้างความเข้าใจผู้ชายร้องไห้ไม่เท่ากับอ่อนแอ

Other Title:
Campaign to Change the Perception of Men Can Cry
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2020
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ในปัจจุบันวิกฤตความเป็นชายกําลังหวนกลับมาทําร้ายตัวผู้ชายเอง จากกรอบบทบาทความเป็น
ชาย ที่เราต่างถูกสอนมาตั้งแต่เด็กว่า เป็นผู้ชายต้องเข้มแข็ง ลูกผู้ชายไม่อ่อนแอ หรือจากประโยคสั้นๆ ที่เรา ต่างเคยได้ยินกันและสะท้อนคําสอนความเป็นชายได้ง่ายที่สุด นั่นคือ “เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ร้องไห้” และ ค่านิยม คําสอนที่กล่าวมานี้ คือความเป็นชายที่กลับมาทําร้ายตัวของเพศชายไม่ว่าจะทั้งด้านร่างกายและ จิตใจ จนปัจจุบันได้มีรายงานจากทั่วโลกที่เป็นเสียงเดียวกันว่า อัตราการฆ่าตัวตายของเพศชายสูงกว่าเพศ หญิงในอัตราที่น่าตกใจ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากปัญหาสุขภาพจิตที่ผู้ชายต้องเก็บความรู้สึกและถูกกดดันจาก
เพียงเพราะความเป็นชายที่ถูกตีกรอบมาแต่ช้านาน จุลนิพนธ์ฉบับนี้จึงอยากสร้างความเข้าใจให้สังคมว่าการ ร้องไห้เป็นพฤติกรรมปกติ ที่เราไม่ควรไปมีอคติกับน้ําตา เปลี่ยนความคิดที่ว่าน้ําตาเท่ากับอ่อนแอ ให้ กลายเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการปลดปล่อยอารมณ์ที่มีความหมายและถูกมองในแง่ดี
จากการศึกษาและการทําวิชัยเชิงปริมาณและคุณภาพโดยเชิงลึก กับกลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติต่อ การมองผู้ชายร้องไห้ในสังคมไทย พบว่าปัจจุบัน ค่านิยมความคิดความเป็นชายกลับไม่ได้ถูกให้ค่า ทุกคนต่าง
มีความคิดว่าไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถร้องไห้ออกมาได้ เป็นเรื่องธรรมชาติที่เราไม่ควรไปขีดกรอบตีเส้นมันจน เป็นปัญหา แต่เมื่อยิ่งทําการศึกษาลึกลงไป กลับพบว่าความเป็นจริงก็ยังมีกลุ่มคนที่มีอคติกับน้ําตาที่ผู้ชาย ปล่อยออกมา จุลนิพนธ์ฉบับนี้จึงตั้งใจจะสื่อสารออกไปภายใต้แนวคิดที่ว่า น้ําตาไม่ได้ทําให้ความเป็นชาย หายไป “The Best Man Can Cry” แต่น้ําตากลับสื่อถึงความกล้าหาญที่ผู้ชายนั้นได้ปล่อยมันออกมาผ่าน รูปแบบความรู้สึก โดยการสร้างชิ้นงานในรูปแบบที่แตกต่างกันแต่สื่อสารภายใต้หนึ่งแนวคิดที่กล่าวไป เพื่อ สร้างประสบการณ์ที่กลุ่มเป้าหมายจะได้มาสัมผัสและเกิดการเปลี่ยนทัศนคติจากการได้พบเห็นหรือมีส่วน
ร่วมกับตัวชิ้นงานทั้งหมดที่สร้างขึ้นมา
การสื่อสารจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ช่วง ที่ใช้ทั้งสื่อออฟไลน์และออนไลน์ เช่น โปสเตอร์ เฟซบุ๊ก เพจ วิดีโอแคมเปญ เป็นต้น เพื่อสร้างการรับรู้ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและจะเน้นไปที่การให้กลุ่มเป้าหมายได้มี ส่วนร่วมกับแคมเปญผ่านกิจกรรมที่สร้างขึ้น รวมถึงการตอกย้ําทัศนคติผ่านชิ้นงานที่เน้นความสร้างสรรค์ใน แบบผู้ชาย เพื่อจะได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
Type:
Degree Name:
นิเทศศาสตรบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชานิเทศศาสตร์
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
24