เรือนพื้นถิ่นไทยพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Other Title:
The domestic architecture of the Thai Buddhism in the Southern border provinces of Thailand
Author:
Subject:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเรือนพื้นถิ่นไทยพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในด้านรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและความสัมพันธ์ในเชิงวัฒนธรรม โดยใช้วิธีการศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมร่วมกับการศึกษาวิถีชีวิตและรูปแบบการขยายครอบครัว เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์และจัดกลุ่ม ผลการวิจัยสามารถแบ่งรูปแบบเรือนออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ เรือนเดี่ยวสำหรับครอบครัวเดี่ยว เรือนแฝดสำหรับครอบครัวเดี่ยวที่มีปู่-ย่าอยู่ร่วมด้วย เรือนขยายสำหรับครอบครัวขยายที่ลูกสาวแต่งงานแล้วปลูกเรือนอยู่ร่วมกับพ่อ-แม่ และเรือนประเภทอื่นๆที่รับอิทธิพลจากภายนอก เช่นเรือนที่มีรูปแบบคล้ายเรือนมุสลิม เป็นต้น
ผลการวิจัยสามารถแบ่งชาวพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มชาวพุทธในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา นิยมตั้งชุมชนอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนใหญ่ มีรูปแบบการขยายครอบครัวแบบอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวขยาย กลุ่มที่สองคือชาวพุทธในจังหวัดสตูล นิยมสร้างเรือบตามพื้นที่ทำกิน ไม่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ มีรูปแบบการขยายครอบครัวแบบแยกกันอยู่เป็นครอบครัวเดี่ยว นิยมปลูกสร้างเรือนแบบง่ายๆ มีรูปแบบที่ไม่ปราณีตซับซ้อน และไม่เคร่งครัดในประเพณีการปลูกเรือนเท่ากลุ่มแรก แต่ทั้งนี้ทั้งสองกลุ่มก็มีลักษณะร่วมทางสถาปัตยกรรม คือ เป็นเรือนเครื่องสับยกพื้น ฝาเรือนไม้กระดานตีเกล็ด หลังคาทรงจั่วและทรงปั้นหยา มีส่วนน้อยเป็นทรงมะนิลา เรือนวางอยู่บนตีนเสา โดยไม่มีการยึดระหว่างเสากับตีนเสาสามารถ ย้ายเรือนทั้งหลังไปตั้งที่ใหม่ได้ ภายในเรือนนิยมทำพื้นต่างระดับช่วยในการแบ่งพื้นที่โดยไม่ต้องกั้นห้อง เรือนเดี่ยวมี 2 ระดับ เรือนแฝดมี 2 ระดับ และเรือนขยายมี 3 ระดับความเชื่อที่เคร่งครัดที่สุดคือต้องวางสันหลังคาเรือนประธานตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก นิยมหันหน้าเรือนไปทิศตะวันออก การต่อเรือนแฝดหรือเรือนขยายนิยมต่อออกทางทิศเหนือ ยุ้งข้าววางตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตกเช่นเดียวกับเรือนประธาน
จากการศึกษาพบข้อสังเกตุว่าเรือนพื้นถิ่นไทยพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้น่าจะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมบางส่วนจากการเรือนของชาวมุสลิม แต่ไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากปัจจุบันเรือนไทยพื้นถิ่นพุทธในจังหวัดชายแดนมีเหลืออยู่น้อยมาก จึงเสนอแนะให้ศึกษาเพิ่มเติมในจังหวัดสงขลา ซึ่งมีหลายชุมชนที่มีชาวพุทธและชาวมุสลิมอยู่ร่วมกัน คาดว่าน่าจะให้คำตอบได้ชัดเจนขึ้น This thesis Is about the domestic architecture of the Thai Buddhist houses in the four southernmost bordening provinces of Thailand. These houses are studied in both their architectural and cultural aspects. The method is lo study both the forms of the buildings, and the lifestyles of the people; people who have modified or built new buildings to accommodate expanding families.
The study results have been divided into four groups: the first group includes the single house for the nuclear family; the second to for the win house for the nuclear family with grandparent (s); the third is for the expanded house where a connecting building has been build to accommodate a married daughter and her family; and the fourth group is for the other houses that show significant influence from outside the Thai Buddhist community. The results of the cultural study show a division of people into two groups. First, the people in Pattanee, Naraivat and Yala, who lived in large cluster illages, and preferred family members build their homes in close proximity. The second group is the Buddhist group in Satoon. This second group preferred to build houses on their own land rather than creating villages. Offspring set up their own houses on their own land rather than settling as an extended family unit. Architectural form can be divided into the same two groups. The houses in the second group, the Buddhists of Satoon, were of simple construction withoul elaboration or decoration. In comparison the first group is much the opposite. There is, however, still some things in common between the two groups. they use wood for construction have gable, or hip roofs, of terracotta tile with few incidences of the Muslim Manila roof; they have high posts that lift the house off the ground and which are set upon, but not attached to, the foundations, so the house can be picked up and moved, the interiors have many levels which help to separate areas without the use of walls. Auspicious building design has created a final common thread; in every house the roof of the major house is built on an eastwest bias with the front of the house usually facing east. When people want to expand they do so to the noth. The rice granary faces the same direction as the main house.
Considering their close proximity to their Muslim neighbors, one would assume a strong Muslim influence on the design of Thai Buddhist houses. However, there are not enough Thai Buddhist houses left in the area of study for obvious influences to be noted. It is recommended to people who wish to study the infulence of Muslim houses in Buddhism houses that they examine the Songklar province as well where many of those types of houses still exist.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545. Thesis (M.A.(History of Architecture))--Silpakorn University, 2002
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
396