การศึกษาคติการออกแบบปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

Other Title:
The design concept of Prasat Hin Phimai district, Nakhon Ratchasima province
Author:
Subject:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษานี้เป็นการศึกษาที่เน้นถึงกระบวนการวิจัยที่ถูกต้องตามวิธีการวิจัย สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมมี วัตถุประสงค์เพื่อหาค่าความหมายของงานสถาปัตยกรรม โดยใช้ความรู้ด้านประติมานิรมาณวิทยา (lconography and Iconology) ซึ่งผู้ศึกษาได้เลือกศึกษาคติการออกแบบปราสาทหินพิมาย โดยผลของการศึกษาสามารถสรุปเกณฑ์ของการออกแบบที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดในการออกแบบปราสาทหินพิมายให้เป็นสัญลักษณ์ของจักรวาลและมณฑลได้ดังนี้
1. การเลือกทำเลที่ตั้งของเมืองและปราสาทที่อาศัยภูมิประเทศตามธรรมชาติ เป็นส่วนของการสร้างเมืองตามระบบจักรวาลในพุทธศาสนา
2. ระบบแผนผังของปราสาทที่เป็นโครงสร้างของปราสาทที่มีระเบียงคดล้อมรอบปราสาทประธาน โดยมีศูนย์กลางผังอยู่ที่ปราสาทประธาน และมีการออกแบบที่ยึดแผนภาพของมณฑลในศาสนาพราหมณ์เป็นแผนผังของปราสาท อีกทั้งยังมีการออกแบบและการวางตำแหน่งอาคารต่างๆภายในแผนผังที่สะท้อนให้เห็นถึงแบบจำลองของจักรวาล
3. ระบบการใช้แกนโลกเป็นแกนประธานของแผนผังซึ่งมีความสัมพันธ์กับวิถีการโคจรของดวงอาทิตย์
4. การออกแบบแผนผังของภาพสลักบนหน้าบัน ทับหลังประดับประตู และกลีบขนุนที่ปราสาทประธาน ให้มีความสอดคล้องกับแผนผังของปราสาทและตัวอาคาร โดยมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นห้วง และให้มีความสัมพันธ์กับระบบแนวแกนประธานและตำแหน่งของเทพเจ้าประจำทิศต่างๆ This thesis study, the architecture design of Prasat Hin Phimai, is mentioned on the History of Architecture research methodology. The purpose of study is looking for the meaning of the architecture itself through iconography and iconology theory. In Summary, the study is able to conclude the conceptual design of Prasat Hin Phimai as the symbol of cosmology and mandala as follow:
1. The selection of Maung Phimai and Prasat Hin Phimai site area was a part of buddhist cosmology city planning
2. The plan of Prasat Hin Phimai presented the design principles which located the main prasat in the center Surrounded by the gallery based on the concept of mandala and located any other building as the symbol of cosmology.
3. The plan use the earth 's axis as the main axis which related to the sun path.
4. the design of architectural elements including pediments, linles and stucco antefixes decoration are related to the building plan and site plan, The depictions are separated into parts which related to the main axis and position of gods of direction
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 Thesis (M.A.(History of Architecture))--Silpakorn University, 2002
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
2526