การศึกษาสถาปัตกรรมวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร (วัดสมอราย)

ชื่อเรื่องอื่น:
A study of architecture of Wat Rachathiwasrachaworawiharn (Wat Samorai)
หัวเรื่อง:
วันที่:
2002
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การศึกษาสถาปัตยกรรมวัดราชาธิวาสฯนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมวัดราชาธิวาสฯปัจจัยที่มีส่วนกำหนดแนวความคิด จนถึงรูปแบบทางสถาปัตยกรรม โดยทำการศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของวัดราชาธิวาสฯ, ศึกษาสภาพทางกายภาพของวัดราชาธิวาสฯในปัจจุบัน, ศึกษาถึงสภาพสังคม วัฒนธรรม การเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์ อันจะแสดงให้ทราบถึงผลของการศึกษาตามวัตถุประสงค์
จากการศึกษาทำให้ทราบว่าวัดราชาธิวาสฯ มีความสำคัญอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ งานสถาปัตยกรรมล้วนมีพัฒนาการของรูปแบบที่ต่อเนื่องจนถึงในปัจจุบัน ที่สำคัญได้แก่งานสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 พระอุโบสถซึ่งถือว่าเป็นอาคารที่มีความสำคัญมากที่สุดได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นพบว่า มีลักษณะที่แสดงถึงบทบาทหน้าที่และคติที่เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการกำหนดรูปแบบนอกจากนี้ยังมีรูปแบบที่เด่นชัดในลักษณะอย่างงานศิลปสถาปัตยกรรมเขมร ลักษณะของพระอุโบสดดังกล่าวมีแนวความคิดในการกำหนดขึ้นเพื่อสนองต่อนโยบายทางด้านการเมือง คือการสร้างพระอุโบสถให้มีรูปแบบเพื่อเป็น “เอกสารที่แสดงเรื่องราวในประวัติศาสตร์” ซึ่งแสดงถึงที่มาและเรื่องราวของชาติในสมัยหนึ่ง การใช้ลักษณะรูปแบบงานสถาปัตยกรรมในการแสดงให้เห็นถึงที่มาและเรื่องราวของชาตินี้ เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ “เรื่องราวในประวัติศาสตร์” สำหรับการสร้างอุดมการณ์ "สำนึกแห่งความเป็นชาติ" ให้แก่ประชาชนซึ่งเป็นการดำเนินการตามนโยบายของการสร้างประเทศให้มีเอกภาพเพื่อความมั่นคงของประเทศในช่วงเวลานั้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า วัดราชาธิวาสฯหรือสมอรายเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยของอาณาจักรละโว้ซึ่งสืบต่อมาเป็นประเทศไทย จึงทรงกำหนดให้รูปแบบของพระอุโบสถมีลักษณะของสถาปัตยกรรมแห่งอาณาจักรละโว้ ในแบบอย่างร่วมวัฒนธรรมเดียวกันกับอาณาจักรเขมรพระนครหลวงในช่วงสมัยเดียวกันนั้น แสดงให้เห็นว่าทรงมีแนวพระราชดำริเพื่อทำให้ทราบว่าชาติไทยนั้นมีเรื่องราวความเป็นมาด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน และมีวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับอาณาจักรเขมรในอดีต และนอกจากนี้ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้รูปแบบงานสถาปัตยกรรมในแบบอย่างวัฒนธรรมเขมร สร้างสำนึกในอดีตร่วมกันขอ”ชาวไทย”ซึ่งขณะนั้นประกอบด้วยกลุ่มชนชาติต่างๆอยู่ร่วมกัน โดยการสร้างสำนึกของชาวไทยในส่วนของการมีวัฒนธรรมเขมรร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนภายในขอบเขตพระราชอาณาจักรที่ได้มีการกำหนดขึ้นทางภูมิศาสตร์มีความเป็นเอกภาพมากขึ้น The purpose of this thesis is to study the architectural characteristic of Wat Rachathiwas and influences impacting the buildings of the temple. The study process involes the history and the development of society, culture, politics on the riegn of King Chulalongkorn, as well as physical form of Wat Rachathiwas.
The result of the study reveals that Praubosot, the most important building built in the riegn of King Chulalongkorn by Prince Narisranuwattiwong, is an ingenious creation which has influence of ancient Khmer’s art and Thai architecture. The building also shows the political concept of King Chulalongkorn.
King Chulalongkorn has the opinion that Wat Rachathiwas or Wat Samorai was built in period of La-vo, an ancestor of the Thai race, and La-vo civilization also included culture of the Khmer. Consequently ancient Khmer architectural style was the preference of the king and it was picked up to be the design of this newly restored temple.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 Thesis (M.A.(Architecture and Related Arts))--Silpakorn University, 2002
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
271