บทบาทหน้าที่และการออกแบบปรางค์ในสมัยอยุธยา

Other Title:
Role and design of Prang in Ayutthaya period.
Subject:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การอธิบายถึง“ ความสัมพันธ์ระหว่างปรางค์กับสังคมอยุธยา” เป็นเป้าหมายหลักของวิทยานิพนธ์นี้และจากการวิจัยได้พบว่า ปรางค์เป็นสถาปัตยกรรมที่พัฒนาขึ้นในอารยธรรมเขมร โดยคลี่คลายมาจากต้นแบบในอารยธรรมอินเดียที่มีภูเขาธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบมาแต่ดั้งเดิม ปรางค์ในอารยธรรมเขมรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของภูเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาลตามคติโลกศาสตร์เนื่องในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากระเบียบทางสถาปัตยกรรมและนัยความหมายในเชิงสัญลักษณ์ โดยปรางค์จะมีบทบาทหน้าที่ทางการเมืองการปกครองเกี่ยวเนื่องกับรัฐและกษัตริย์อย่างโดดเด่น ในฐานะเป็นสัญลักษณ์ของมณฑลอำนาจ และสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระจักรพรรดิราช บทบาทหน้าที่ทั้งสองนี้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางครอบคลุมบริเวณภาคกลางของไทยตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยา แต่เนื่องจากระบบการปกครองแบบมณฑลอำนาจเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ทางการเมืองที่อำนาจของราชธานีเหนือเมืองในอาณาบริเวณที่ห่างไกลมีผลเพียงในทางทฤษฎีและมีความผันแปรสูง ดังนั้นนอกจากปรางค์จะเป็นสัญลักษณ์ประกาศหรืออ้างความสัมพันธ์กับมณฑลอำนาจในอารยธรรมเขมรแล้ว ปรางค์ยังเป็นสัญลักษณ์ประกาศสถานภาพของกรุงศรี อยุธยา ซึ่งเป็นมณฑลอำนาจใหม่ที่สถาปนาขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ตามอุดมคติแห่งอารยธรรมเขมรแบบแผนของปรางค์ในอารยธรรมเขมรทั้งทางบทบาทหน้าที่และการออกแบบ จึงเป็นที่ยอมรับสืบเนื่องมาในอารยธรรมอยุธยายาวนานจนถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22 อย่างไรก็ดีนับแต่แรกเริ่ม แนวคิดของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ลังกาวงศ์ เป็นปัจจัยสำคัญผลักดันให้ปรางค์สกุลช่างอยุธยาคลี่คลายไปจากแบบแผนดั้งเดิม จนในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 20 ปรางค์สกุลช่างอยุธยาจึงได้บรรลุถึงเอกลักษณ์แท้จริงทั้งทางนัยความหมายและระเบียบทางสถาปัตยกรรม ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการสร้างหรือเสริมสร้างปรางค์อย่างกว้างขวางในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้ปรางค์ในบริเวณภาคกลางของไทยล้วนอาจนับเป็นปรางค์สกุลช่างอยุธยาทั้งสิ้น ในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 22 แนวคิดของระบบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ และความผันผวนทางการเมืองส่งผลให้ปรางค์กลายเป็นสัญลักษณ์ของพระนครศรีอยุธยาและกษัตริย์ ตามอุดมคติแห่งอารยธรรมอยุธยาเมื่อเริ่มเรื่องอำนาจ โดยในการออกแบบ ความคิดและระเบียบที่มีมาก่อนจะเป็นแรงบันดาลใจที่ผสานอยู่กับความคิดใหม่จากสกุลช่างสุโขทัย และในพุทธศตวรรษที่ 23 เมื่อความผันผวนทางการเมืองซึ่งบั่นทอนพระราชอำนาจกษัตริย์ หนุนให้คติบุญฤทธิวิทยาคมเพื่องฟู ปรางค์จึงต้อยความสำคัญลง กลายเป็นสัญลักษณ์ของอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์แห่งกษัตริย์ ความคิดในการออกแบบจึงคลี่คลายไปอย่างฉับพลัน และปรากฏเป็นระเบียบใหม่ที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง The main purpose of this study is to explain the relationship between the prang and Ayutthaya society. This research revealed that the prang was a form of architecture developed in Khmer civilization from prototypes in indian civilization, deriving their Inspiration from mountains in nature, as in the past. The prang In Khmer civilization was the symbolic Mount Meru, the center of the universe in the world view of Brahmanism and Buddhism, reflecting architectural order and symbolic meaning. The prang distinctively represented political roles related to state and king as a symbol of the authority of Mandala (Regional polity) and of the emperors authority. These wo roles had been widely accepted throughout the central part of Thailand since the pre-Ayutthaya period. However, the Mandala ype of government system was a network of political relationships whose central authority prevailed over cities in distant areas only in theory and was highly fluid. Therefore, the prang not only symbolized a declaration or claim of the relationship with Mandale authority in Khmer civilization, It was also a symbol proclaiming the status of Ayutthaya as a new Mandala authority established late in the 19th Buddhist Century according to the ideals of Khmer civilization. The pattem of the prang in Khmer civilization both in terms of role and design had, thus, been continuously observed throughout Ayutthaya civilization until the early 22 nd Buddhist Century. Nevertheless, from the beginning. Lankan Theravada Buddhism had been recognized as an essential factor gradually diverting the prang of the Ayutthaya masonic school from its original pattern. In the second half of the 20 th BuddhistCentury, the prang of the Ayutthaya masonic school had finally restored the authentic characteristes both of meaning and architectural order. This widely influenced building or renovating prangs during the 21st Buddhist Century. Thus, presumably prangs in the central part of Thailand all belonged to the same category of prang of the Ayutthaya masonic school. in the second half of the 22 th Buddhist Century. the concept of centralized government and political fluctuations turned the prang into a symbol of the City of Ayutthaya and king in accordance with the ideals of Ayutthaya civilization when Ayutthaya came to power. in designing prangs, earlier ideas and concepts of architectural order were the inspiration, integrated with innovations from the Sukhothai masonic school. In the 23rd Buddhist Century. when political turmoil had undemined monarchial authority increasing the popularity of superstitionism, the importance of the prang was reduced. The prang had become a symbol of the king’s holy authority. The concepts determining the design of prangs had radically changed in service to an architectural order that was totally different from the old one
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 Thesis (M.A. (History o architecture))--Silpakorn University, 2002
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
227