วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี

Other Title:
Wat Pra Sri Ratana Mahatat Lopburi
Author:
Subject:
Date:
2001
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา การเมืองการปกครอง ในเขตเมืองลพบุรี ในช่วงเวลต่าง ๆอันเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลต่อคติ และมูลเหตุของการสร้าง ตลอดจนบทบาทและหน้าที่ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีในแต่ละช่วงเวลา
2. เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี อันประกอบด้วย ทำเลที่ตั้ง การวางผัง รูปแบบสถาปัตยกรรม องค์ประกอบตกแต่ง วัสดุ ระบบโครงสร้างและเทคนิควิทยาการก่อสร้าง แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงลำดับความต่อเนื่องตามระยะเวลา และยุคสมัยของการก่อสร้าง ตลอดจนพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถาปัตยกรรมวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ แผนผังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ในแต่ละช่วงเวลา
ผลการวิจัยสามารถแบ่ง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ออกเป็น 3 ช่วงคือ
1. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 18 - ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ได้รับการสร้างขึ้นในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงที่ลพบุรีเป็นรัฐอิสระ กำลังจัดตั้งรัฐเริ่มแรก โดยคติการสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นคติการบูชาพระสรีรธาตุ หมายถึงพระอัฐของกษัตริย์ต้นราชวงศ์ซึ่งอ้างอิงถึงพระบรมธาตุ ใช้เป็นสัญลักษณ์ในกระบวนการจัดตั้งรัฐเริ่มแรก แผนผังวัดในช่วงเวลานี้ได้รับอิทธิพลจากแผนผังปราสาทในวัฒนธรรมเขมร ต่อมาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 อิทธิพลวัฒนธรรมพุทธศาสนามหายานต้นตระกูลวัชรยานจากอาณาจักรเขมร ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มปรางค์ประธานให้เป็นปรางค์ 3 องค์เรียงกัน งานสถาปัตยกรรมในช่วงเวลานี้ที่สำคัญคือ กลุ่มปรางค์สกุลช่างลพบุรี โดยมีรูปแบบพัฒนาจากกลุ่มปรางค์รุ่นปาปวน – นครวัด เช่นปราสาทหินพิมาย ปรางค์ศรีเทพ และศาลตาผาแดง องค์ประกอบตกแต่ง ระบบโครงสร้าง และเทคนิควิทยาการการก่อสร้างบางส่วนได้รับอิทธิพลจากแบบศิลปกรรมเขมร บางส่วนมีพัฒนาการขึ้นจนมีลักษณะเฉพาะตน อันแสดงถึงพัฒนาการภายในท้องถิ่น แตกต่างจากกลุ่มปรางค์แบบบายนในพื้นที่และเวลาเดียวกันเนื่องจากกระบวนการทางวัฒนธรรมที่ทับซ้อนกัน
2. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 19 – ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นช่วงเวลาที่ลพบุรีเป็นรัฐอิสระที่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น อิทธิพลในวัฒนธรรมพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ ซึ่งนอกจากจะเป็นศูนย์กลางทางสัญลักษณ์อันสัมพันธ์กับแนวความคิดเกี่ยวกับกษัตริย์และการจัดตั้งรัฐแล้ว ยังเป็นวัดหลักของเมืองอันเป็นศูนย์กลางกิจกรรมงานบุญงานกุศลของประชาชนภายในรัฐ โดยบทบาทหน้าที่เชิงสัญลักษณ์ลดบทบาทหน้าที่ลง เมื่อมีการสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา และลดบทบาทหน้าที่ลงอย่างสมบูรณ์เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ แผนผังวัดในช่วงเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มแนวแกนประธาน และแนวล้อมรอบชั้นนอก ทำให้มีการขยายแผนผังวัดกว้างที่สุดในช่วงเวลานี้ กลุ่มงานสถาปัตยกรรม แบ่งออกเป็น ปรางค์ กลุ่มปรางค์ทรงยอดกลีบมะเฟือง กลุ่มเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม และวิหารรูปแบบกลุ่มปรางค์ มีพัฒนาการโดยตรงจากปรางค์สกุลช่างลพบุรี และปรางค์ทรงยอดกลีบมะเฟือง เป็นการสังเคราะห์รูปแบบขึ้นใหม่ จากกลุ่มปรางค์สกุลช่างลพบุรี และกลุ่มปรางค์แบบบายน เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมแสดงถึงพัฒนาการจากปัจจัยภายในที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยทวารวดี และหรือรับอิทธิพลจากลำพูน วิหารแสดงถึงพัฒนาการที่สืบทอดมาจากสมัยทวารวดี องค์ประกอบตกแต่ง ระบบโครงสร้าง และเทคนิควิทยาการก่อสร้าง แสดงถึงพัฒนาการของสกุลช่างใหม่สืบต่อจากกลุ่มแรก และมีพัฒนาการร่วมกับสกุลช่างสุโขทัยและสกุลช่างท้องถิ่นต่าง ๆ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสืบต่อมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น
3. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 21 – ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ในสมัยอยุธยาตอนกลาง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นเพียงวัดสำคัญในชุมชน จึงปรากฏงานสถาปัตยกรรมในช่วงเวลานี้น้อยมาก ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีบทบาทหน้าที่ทางสัญลักษณ์อันแสดงถึงพระราชอำนาจกษัตริย์ร่วมกับพระนารายณ์ราชนิเวศน์ หลังจากนั้นลดบทบาทหน้าที่เป็นเพียงวัดสำคัญในชุมชนอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดทางพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งเน้นพุทธศาสนาแบบมนุษยนิยม และเหตุผลนิยมส่งผลต่อการวางผังวัดในช่วงเวลานี้ ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นกว่าการยึดถือระเบียบแผนผังเดิมซึ่งกำหนดด้วยรูปสัญลักษณ์อย่างเคร่งครัด โครงสร้างของแผนผังในช่วงเวลานี้ได้รับอิทธิพลและหรือมีพัฒนาการร่วมกับวัดพระศรีมหาธาตุ และพระอารามหลวงในสมัยอยุธยาตอนต้น ในเขตพระนครศรีอยุธยา โดยมากมีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มประเพณี และอาคารทรงตึก กลุ่มเจดีย์ ประกอบด้วย เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม เจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆังย่อมุม เจดีย์ทรงเครื่ององค์ระฆังย่อมุม กลุ่มปรางค์ และกลุ่มสถาปัตยกรรมประเภทอื่น ๆ รูปแบบทางสถาปัตยกรรม องค์ประกอบตกแต่ง ระบบโครงสร้างและเทคนิควิทยาการก่อสร้าง แสดงถึงพัฒนาการร่วมกับกลุ่มสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ในเขตพระนครศรีอยุธยา บางส่วนพบความแตกต่างจากระเบียบมาตรฐานโดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรมภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาจตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพัฒนาการของภายในท้องถิ่นได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากบทบาทหน้าที่วัดซึ่งลดลงเป็นเพียงวัดสำคัญในชุมชน The Objectives of the study
1. This study is to investigate the history and the development of society, culture, politics, and government of Lopburi, that had influences on both social roles and architectural aspects of Wat Prasriratana Mahatat Lopburi in different periods of time.
2. For study the physical presences of Wat - Prasriratana-Mahatat Lopburi including layout planning, architecture, ornamentation, material, structural system, and construction technique are chronologically analyzed to enhance the understanding of the development of Wat Prasriratana Mahatat Lopburi.
3. For study and synthesis the planning Wat Prasriratana Mahatat Lopburi in different periods of time.
Foe this examination, the study of Wat-Prasriratana-Mahatat Lopburi will be beoken down into three periods, in which the design, planning, and construction issues of each period will be thoroughly studied and discussed.
1. The early of 18th to 19th century of Buddhist Era. Wat Pra-Prasriratana-Mahatat Lopburi was first built during the beginning of 18th century of Buddhist Era, when Lopburi was an independent state: nonetheless it was somehow influenced by ancient Khmer’s belief. In other words although Lopburi was not politically governed by ancient Khmer at that time, the ancient Khmer’s influence since 15th century of Buddhist Era that blended and embedded in Lopburi people’s life and belief still existed. The study presents that the establishment principle of Wat-Prasriratana-Mahatat Lopburi was the idea of paying homage to the relic of the first or the earlier king of the dynasty; and the reverence of the king’s relic was believingly related or associated to one of the Buddha’s relic. This was adopted and became an important symbol used in Lopburi’s state settlement process, as well to the design concept and design process of Wat-Prasriratana-Mahatat Lopburi. Therefore it can be seen that the plan of Prasart in ancient Khmer noticeably affected its earlier layout. During the end of 18th century of Buddhist Era, another impact from ancient Khmer influence, after the one in 15th century of Buddhist Era, came into the play of Wat-Prasriratana-Mahatat Lopburi architecture. Buddha-Mahayan-Tantra-Sakul-Vatcharayan ( a denomination In Buddhism ) from ancient Khmer inspirsd the changes from original Prangs’ order to 13 Prangs in linearity order. One of the prominent architectural works during this period was Lopburi school’s Prang group, which were developed from PaPeoun-NakomWat Prasat. The ornamentation, structure, and architectonic were distinct from Bayon Prang found in the same area and period, as a results of the combination of ancient Khmer’s art and a unique local style obtained from sophisticated process of local’s cultural development.
2. The early of 19th to 21st century of Buddhist Era. Thea-ra-wad Buddhism ( Lang Gha Wong ) played significant role during this period. Wat-Prasriratana-Mahatat Lopburi pretty much served religious purposes, and became a center and anchor for Lopburi people’s morale. Its presence as a symbol of the association of the king and Buddha was gradually subdued by this new Buddhist denomination and the emergence of Pra-Sri-Rattana-Mahatat, Ayuthaya. It can be said that governance and religion had clearer roles of their owns unlike that was before. Until the political revolution in the reglime of Pra-Barom—Tri-Lokanart, the symbolic function was completely disappeared. The changes in the main Prangs’ axis and the peripheral of Wat Prasriratana Mahatat Lopburi layout lead to the largest expansion of its boundary in this period. There are basically 4 types of construction, described as Prangs, Starfruit-top figure Prangs, Octagon base Stupa, and Vihara temples, composed in its architecture. The presence of belief and cultural mixtures in this architectures are the consequences of collectively developed concepts from time to time. The arrangement of Prangs was directly evolved from Lopburi school’s Prang group. Starfruit-top figure Prangs were newly the synthesis from both Lopburi school’s Prangs group and Bayon Prangs. The Octagon Stupa were the development of the inner factors succeeding since Tava-Ravadee Era, and/or from Lumpoon’s influences. The development of style since Tava-Ra-Vadee Era appeared in Vihara temples. The ornamentation, the structure, and the architectonic of Wat-Prasriratana-Mahatat Lopburi in this period cleary pronounced the transferring of knowledge from the old school to the successors. Moreover there was continuous joint development with Sukothai school, and other school around Chao-Praya basin till the early stage of Ayudaya Era.
3. The early of 21st to 24th century of Buddhist Era. In the middle period of Ayudhaya Age Wat-Prasriratana-Mahatat Lopburi was only an important local sacred place. It served mainly religious purpose to local people, and rarely involed with any authority in political and governmental business. Hence there were very few of architectural works occurring during this period. Until the regime of Pra-Narai-Maha-Raj, the king. Wat-Prasriratana-Mahatat Lopburi with a close relationship with Pra-Narai-Maha-Rajaniveg Palace performed again the symbolic function of the association of king and religion. Later due to the shift of people’s belief in Buddhism in late Ayudhaya, Wat-Prasriratana-Mahatat Lopburi’s social role, therefore, was diminished to be only an important local sacred Wat. The new belief percelved Buddhism in more humanized and rationalized way; Buddhism was meant for human not only a symbol of gods or kings; subsequently this concept had impact on the architecture of Wat –Prasriratana-Mahatat Lopburi. The Previous formal design concept was gradually replaced by the concern of effectiveness of its functions and usages in planning. The lay out of Wat-Prasriratana-Mahatat Lopburi in this period received and evolved with the influences from Wat Pra-Sri-Rattana-Mahatat Ayudhaya and Ayudhaya royal monastery in early Ayudhaya age. Mostly there were changes of architecture in the area between the inner and the outer veranda/portico. The architectures in this period can be classified into 4 groups. The first group is building group which are Thai traditional building, and western-style-influence building. The second group is stupa group, which includes the reduce-corner rectangular shape Stupa, the Prasart figure with reduce-corner-bell-top Stupa, and fully decorated Stupa with reduce-corner-bell-top. The third group is Prang group, and the last group is miscellaneous architecture. The ornamention, the structure, and the architectonic of Wat –Prasriratana-Mahatat Lopburi in this period demonstrated the fusion and corporative development with late Ayudhaya architecture. However, for the architectural work in Ayudhaya area, some discrepancy of design and order could be found especially in post Pra-Narai-Maharaj regime. Theoreticlly, this discrepancy can be partially explained because of the subdue of the importance of Wat-Prasriratana-Mahatat Lopburi’s symbolic function.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 2001
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
388