การศึกษาการออกแบบพระอุโบสถในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Other Title:
A study on the architectural design of the Pra Ubosots in the reign of King Rama V of Bangkok
Subject:
Date:
2001
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาการออกแบบพระอุโบสถในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษารูปแบบของศิลปะสถาปัตยกรรมที่มีผลต่อการออกแบบ, ปัจจัยที่มีส่วนกำหนดแนวความคิด จนถึงรูปแบบ ลักษณะ และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และพัฒนาการทางความคิด โดยมีวิธีการศึกษาจากข้อมูลทางเอกสาร และข้อมูลการศึกษาทางกายภาพของสถานที่จริง จำนวน 12 แห่ง นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบอันทำให้ทราบข้อสรุปสุดท้าย
จากการศึกษาวิจัยพบว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษางานสถาปัตยกรรมอย่างเป็นระบบ เนื่องจากได้รับการปลูกฝังจากพระราชบิดา จากครูชาวตะวันตก รวมทั้งได้ทรงมีโอกาสเดินทางไปยุโรปถึง 2 ครั้ง ได้พบปะกับสถาปนิก ศิลปินต่าง ๆ โดยพระองค์เองซึ่งเป็นประสบการณ์ตรง และได้นำมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งต่างจากรัชกาลก่อนหรือจากที่ผ่านมาที่ได้มีการส่งราชทูตไปแทน จึงเป็นผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านความเชื่อ แนวความคิด อุดมคติที่มีต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมอย่างรุนแรง และสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ก็มาจากปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการมีเศรษฐกิจเพื่อเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงสภาพคล่องภายในประเทศ รวมทั้งทรงมีพระราชนิยมส่วนพระองค์อันเกิดจากการรับรู้ที่ได้ศึกษามาจากสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศของพระองค์ จนส่งผลถึงพระอารามที่พระองค์ทรงสร้าง ซึ่งล้วนมีเหตุผลมาจากการสร้างวัดคู่วัง โดยมีการให้ความสนับสนุนพุทธศาสนา ทางฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และพัฒนาประเทศอันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการก่อรูปทางสถาปัตยกรรมทั้งในส่วนพระนคร และขยายออกสู่ภูมิภาค
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบสถาปัตยกรรม ยังคงเป็นการสืบต่อมาจากรัชกาลที่ 4 ในช่วงต้นรัชกาล แต่สิ่งที่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางสถาปัตยกรรมนั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อมีการสร้างวัดนิเวศธรรมประวัติซึ่งอยู่ในช่วงต้นรัชกาล โดยที่เป็นการออกแบบโดยสถาปนิกชาวตะวันตก ซึ่งได้ส่งผลกระทบในเรื่องของแนวความคิดในการออกแบบของสถาปนิกไทย ที่จากเดิมมีพื้นฐานในด้านรูปแบบประเพณี ตลอดจนความเชื่อ ที่ปรากฏในองค์ประกอบสถาปัตยกรรมส่วนต่าง ๆ ของพระอุโบสถในช่วงต้นรัชกาล ถึงปลายรัชกาลซึ่งมีรูปแบบที่ยังคงเป็นการเลียนแบบศิลปะสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ครั้นถึงช่วงปลายรัชกาลรูปแบบได้คลี่คลาย ผสมผสานแนวความคิดระหว่างตะวันตก กับของไทยเช่นที่พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร The study on the architecture designs of the pra ubosots in the reign Rama V of Bangkok aims at studying contributing to the construction of the ubosots, namely: the architectural styles, factors effecting the concepts, the style, the characteristics and the architectural composition as well as the development of the ideas. The study was conducted through the documents and the comparative analysis of 12 pra ubosots at the actual sites leading to ultimate conclusions.
The study reveals that King Rama V studied architecture systematically since he had been laught by His Majesty and the western instructors. In earlier reigns, the ambassadors were sent to foregn countries as the Kings’ representative. Travelling to Europe twice, King Rama V met several architects and artists rendering him direct experiences as the models to develop the architecture in his own country. Such experiences caused extreme changes of beliefs, concepts and attitudes towards architecture. The aforementioned changes stemmed from the basic needs of men who required good economic state to make their countries survive.
In addition, King Rama V had his personal taste deriving from his study vises both domestic and aborad influencing the temples he constructed. The reasons for such construction were to provide the places for performing religious rites as well as support Buddhism, in particular the Dhammayut Denominatin in order to develop the humen resource and the country. Thus various temples were constructed in the metropolitan and the architectural styles were later extended to the province.
In the beginning of King Rama V’s reign, the architectural aspects and composition were passed down from King Rama IV’s period. Nevertheless, a turning point started in the early reign of King Rama V as well than there was a construction of the Niwetdhammaprawat Temple. The design of such temple by a western architect had and an influence on the Thai architect’ designs in the commencement through the end of the reign reflected the reproductions of the western architure. By the end of the reign, the architectural styles became a blend between the and the Thai concept, such as the pra ubosots of the Marble temples.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 2001
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
170