การศึกษาวิหารที่สร้างในกระบวนการครูบาศรีวิชัย พ.ศ. 2447-2481

Other Title:
The study of vihara built by Krubasrivichai movement 1904-1939 A.D.
Subject:
Date:
1997
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิหารที่สร้างในกระบวนการครูบาศรีวิชัย อันประกอบไปด้วยการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ และการศึกษาในเชิงสถาปัตยกรรม
1. การศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ ได้แก่การศึกษา เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุในการสร้างวิหารของครูบาศรีวิชัย รวมถึงบทบาทและหน้าที่ของวิหารที่สร้างในกระบวนการครูบาศรีวิชัย ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างจากวิหารที่สร้างในวัฒนธรรมล้านนาอย่างไร วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1) การศึกษากระบวนการครูบาศรีวิชัย 2) การศึกษาวิหารที่สร้างในวัฒนธรรมล้านนา ผลการศึกษาทั้งสองส่วน นำไปสู่การวิเคราะห์และสรุปสาเหตุในการสร้างวิหารของครูบาศรีวิชัย รวมถึงบทบาทของวิหารที่ใช้ในกระบวนการครูบาศรีวิชัย
ผลจากการศึกษาในส่วนนี้พบว่า วิหารที่สร้างในกระบวนการครูบาศรีวิชัย เกิดจากแนวคิดพื้นฐานของการบำเพ็ญเพียรบารมี เพื่อปรารถนาพุทธภูมิ หรือสำเร็จสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต ของครูบาศรีวิชัย จากแนวคิดดังกล่าว ทำให้ครูบาศรีวิชัยอยู่ในฐานะของพระโพธิสัตว์ ซึ่งกำลังบำเพ็ญเพียรบารมี ดังนั้นสร้างวิหารจึงถือเป็นทานบารมีประเภทหนึ่ง ที่ครูบาศรีวิชัยได้เลือกกระทำ ซึ่งอานิสงส์ของการทำทานดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การได้รับลัทธยานิเทศพยากรณ์จากองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในธรรมสโมธาน 8 ประการ ของผู้ที่ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าพึงกระทำ ตามความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
2. การศึกษาในเชิงสถาปัตยกรรม เป็นการศึกษาถึงรูปแบบวิหารที่สร้างในกระบวนการครูบาศรีวิชัย ตามแนวทางของการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม เนื้อหาประกอบไปด้วยการศึกษารูปแบบวิหารที่สร้างในกระบวนการ, พัฒนาการของวิหาร และมูลเหตุหรือปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรม วิธีการศึกษาเริ่มต้นด้วยการเลือกวิหารจำนวน 17 หลัง ที่สร้างในเขตภาคเหนือ เป็นกรณีศึกษาโดยนำไปวิเคราะห์ร่วมกับการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์
ผลการศึกษา เราพบว่า มีวิหาร 4 ประเภทที่สร้างขึ้นในกระบวนการครูบาศรีวิชัยคือ 1) วิหารหลวง (วิหารแบบทั่วไป) 2) วิหารพระนอน 3) วิหารพระพุทธบาท 4)วิหารแบบพิเศษ (วิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ) วิหารทั้งหมดยังคงมีหน้าที่ใช้สอยตามแบบอย่างของวิหารในวัฒนธรรมล้านนาเช่นเดิม ยกเว้นวิหารบางประเภท เช่นวิหาร พระนอน ซึ่งเราพบว่าในกระบวนการครูบาศรีวิชัยจะนิยมสร้างให้มีขนาดใหญ่ และมีหน้าที่ใช้สอยเพื่อทำกิจกรรมทางศาสนาแบบเดียวกันกับวิหารหลวง ในส่วนของแผนผังอาคาร พบว่าอาคารในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่มีการยกเก็จ เป็นลักษณะเด่นของวิหารหลวงที่สร้างในกระบวนการ และแผนผังที่ให้ความสำคัญต่อทางเข้าด้านข้างเป็นลักษณะเด่นของกลุ่มวิหารพระนอน วิหารพระพุทธบาทและวิหารแบบพิเศษ
ในส่วนของรูปทรงและโครงสร้างอาคาร พบว่าวิหารที่สร้างในกระบวนการครูบาศรีวิชัยยังคงรักษาไว้ซึ่งระเบียบแบบแผน ตามแบบอย่างของวิหารล้านนาโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียบโครงสร้างแบบม้าต่างไหมและสัดส่วนของรูปทรงหลังคา แต่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องวัสดุและเทคนิคก่อสร้างสมัยใหม่ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลทำให้สามารถสร้างอาคารขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของวิหารในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามอาคารขนาดใหญ่และวัสดุโครงสร้างสมัยใหม่ ก็ได้ทำให้สุนทรียภาพของอาคารเปลี่ยนไป เป็นรูปทรงอาคารที่แข็งกระด้างมากกว่าวิหารที่สร้างในวัฒนธรรมล้านนาแต่เดิม ส่วนทางด้านองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็น หน้าบัน ค้ำยัน หรือซุ้มประตูหน้าต่าง พบว่ามีการผสมผสานระหว่างรูปแบบงานสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองกับแบบภาคกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของลวดลายต่างๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนที่แสดงถึงอิทธิพลของงานศิลปกรรมแบบรัตนโกสินทร์มากที่สุดส่วนหนึ่ง
สำหรับการศึกษาในส่วนพัฒนาการของวิหารนั้น ผลการศึกษาทำให้เราทราบว่า รูปแบบวิหารที่สร้างในกระบวนการครูบาศรีวิชัย มีปัจจัย 3 ประการที่ส่งผลต่อการพัฒนาการของรูปแบบ ได้แก่ ทุนทรัพย์ กำลังคนที่ร่วมในกระบวนการ และความก้าวหน้าทางด้านเทคนิคและวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ โดยพัฒนาการของวิหารนั้น เริ่มการจากอาคารขนาดเล็ก ในพื้นที่รอบนอกซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องทุนทรัพย์ ไปสู่อาคารขนาดใหญ่ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากทุนทรัพย์และเทคโนโลยีสมัย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการกำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรม This thesis proposes to study Vihara which built by Krubasrivichai Movement. The study comprises the historical and architectural.
The historical approach to study role and function of Vihara which built by Krubasrivichai Movement that cause to build Vihara of Krubasrivichai. The result of this study discover that Vihara has the element in three works of religion which Krubasrivichai built for the result of good deeds. These three works of religion limit from standard ideal of Rattanatrai : the three gems, namely, the Buddha, His teachings and the Buddhist clergy, in stead the Buddha of building an architectural, instead his teachings of writing with a stylus on plam leaves in scripture bible and in stead the Buddhist clergy of ordaining. All of these ideals in place of the result of good deeds by the movement of practical in meditation in the Buddhist manner, leading to enlightenment and tranquility of mind to go to Nirvana which the highest teachings in Buddha in the future.
The architectural study to know form of Vihara built by Krubasrivichai Movement, the development, cause and an element which influlence for form of the architectural. The result of this study finds four type built by Krubasrivichai Movement are normal Vihara, Vihara of the Reclining Buddha, Buddha's footprint Vihara and special Vihara that can division on two groups are Primary Vihara and Secondary Vihara. Both of Vihara have continued the function using in Lanna Culture, except some of Primary Vihara, Phra-non Vihara found that in Krubasrivichai Movement always build in big size and use for religion's work in the same of normal Vihara. It's perform that Secondary Vihara is essential compare with Primary Vihara in Krubasrivichai Movement. The architectural characteristics of Vihara find the building in rectangle plan, no increase area. That is dominant of Primary Vihara in Krubasrivichai Movement and a plan which the beside entrance is essential.
The figure and the structure of the building find Vihara built by Krubasrivichai Movement still preserve the procedure figure of Lanna Vihara. Especially the structure and the proportion of roof but the element of inventory and technique construction in the new type and demonstrative in rectangle plan, no increase area which made the aesthetic of building changing. For the factor of the architectural, especially the cunning were received influence from Rattanakosin Style.
The development of Vihara study find figure of Vihara in Krubasrivichai Movement have three elements that influence to the development of figure are asset, man power and the progress of technique and inventory construction. The development of Vihara begin from small building in the outskirts and restrict in asset. When Krubasrivichai Movement increase to be related with social and people. It's made more asset to let the figure of architectural change to big size building, many various workers and more complete.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1997)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
231